นายกฯมอบรางวัล วันต่อต้านการค้ามนุษย์ ย้ำแก้ค้ามนุษย์ต้องใช้กลไกประชารัฐร่วมใจ วอนต่างชาติร่วมมือ ลั่นข้าราชการต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ห้ามใช้หลักทรัพย์ หรือตำแหน่ง ประกันผู้ต้องหาในขบวนการนี้
วานนี้ (6มิ.ย.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานเปิดงานวันต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2559 ภายใต้แนวคิดหลัก"ประชารัฐร่วมใจ ต้านภัยการค้ามนุษย์" และมอบรางวัลด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ความสำเร็จวันนี้ ถือเป็นเพียงขั้นที่ 1 เท่านั้น แต่ผลสำเร็จขั้นสุดท้ายต้องให้ได้ 100% จะต้องให้เกิดขึ้นทั้งในภูมิภาค และจังหวัด ถ้าจะให้ได้ผลสำเร็จทุกอย่างจะต้องได้ 100% หรือ 90% นั่นหมายถึง จะต้องไม่มีกระบวนการค้ามนุษย์เกิดขึ้นในไทย ทั้งนี้ รัฐบาลประกาศเจตนารมย์ไว้ โดยกำหนดให้ วันที่ 5 มิ.ย. เป็นวันต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งแนวทางกาารแก้ปัญหา ทุกประเทศในย่านนี้ ต้องร่วมมือกัน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน
"ทุกประเทศในอาเซียนได้สัญญาว่าจะร่วมมือกันในการแก้ปัญหา โดยการพัฒนา ทั้งในและนอกประเทศในลักษณะของไตรภาคี โดยประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องช่วยเหลือประเทศที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งรัฐบาลไทยก็กำลังดำเนินการอยู่ ขอร้องว่าอย่ามามัวแต่จับผิดกัน อย่าลืมว่าไม่เคยมีการทำเช่นนี้มาก่อนในลักษณะนี้ แม้วันนี้จะดีขึ้นมามากก็ตาม แต่ผมก็ยังไม่สบายใจ เพราะไม่มั่นใจว่าวันข้างหน้าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ นี่คือการใช้อำนาจพิเศษ ที่เกิดประโยชน์กับประเทศ ประชาชน และภูมิภาค ในทุกประเทศถ้าไม่ทำให้ทุกอย่างสงบเงียบ สิ่งดีๆ ก็ไม่เกิดขึ้น หลายๆ ประเทศพยายามเข้าใจหน่อยแล้วกัน เราพยายามทำทุกอย่างให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม มุ่งมั่นปราบปรามลงโทษผู้กระทำความผิดให้ถึงที่สุด โดยเน้นที่ผลลัพธ์ ซึ่งในส่วนของผม จับกุมมาได้ 150 คดี และต้องชี้แจงให้ได้ว่า 150 คดีนั้น มีการจับกุม ส่งฟ้องศาลได้ทั้งหมดหรือยัง และมีการตัดสินคดีไหนแล้วบ้าง เนื่องจากส่วนเหล่านี้มีทั้งผู้ประกอบการ เหยื่อ เจ้าหน้าที่ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เจ้าหน้าที่ไม่ร่วมมือ ซึ่งมีทั้งไม่ตั้งใจ ไม่เอาใจใส่ หรือตั้งใจ เมื่อรัฐบาลไม่เอาใจใส่ ไม่กวดขัน ไม่เอาจริงเอาจัง ข้าราชการก็ไม่รู้จะทำอย่างไร มีหน้าที่แต่ไม่มีใครใส่ใจก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งหลายเปอร์เซ็นต์เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ประมาณรัอยละ 69.3 ใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย 580 ล้านบาท หรือร้อยละ 19 ของงบประมาณที่จัดสรร การแก้ปัญหาอยู่ที่การใช้กฎหมาย และคนจะเชื่อมั่น และปฏิบัติตามหรือไม่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ ยังกล่าวย้ำถึงการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ว่า เจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องไม่ลงไปเกี่ยวข้องกับการเอื้อประโยชน์ให้กับขบวนการเหล่านี้ ผู้บังคับบัญชาต้องสอดส่องดูแล และห้ามใช้หลักทรัพย์ หรือสถานะการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการไปประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย
ปัจจุบันคดีอาญาทั้งหมด มีเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ ทหาร พลเรือน นักการเมืองท้องถิ่น ถูกดำเนินคดีทางวินัย และอาญา 34 ราย ถูกพักราชการไปแล้ว แต่ก็ต้องเร่งดำเนินการสอบสวน พร้อมลงโทษทางวินัยทันที และขอฝากปลัดกระทรวงยุติธรรมว่า ให้ไปคิดแก้ปัญหากรณีที่ผู้ต้องหารับสารภาพทุกอย่างแล้ว แต่ถึงเวลาในชั้นศาล กลับปฏิเสธ ต้องไปดูว่าประเทศอื่นเขาทำอย่างไร การให้สิทธิคนต่อสู้สามารถทำได้ แต่เรื่องแบบนี้บางทีมันวุ่นวาย ขอให้ไปสอบถามประเทศเพื่อนบ้าน ว่ากรณีแบบนี้ทำอย่างไร แต่ถ้าศาลโลก หรือต่างประเทศเขาทำแบบนี้ ก็ต้องทำตามหลักสากล ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานในพิธีดังกล่าวว่า การขับเคลื่อนการต่อต้านการค้ามนุษย์ ต้องทำอย่างเป็นระบบโดยอาศัยกลไกประชารัฐ ซึ่งเราได้เอาประชารัฐ ไปใส่ในทุกกิจกรรม เพราะไม่มีอะไรที่รัฐบาล หรือข้าราชการ จะทำได้โดยลำพัง ต้องอาศัยภาคีเครือข่ายทั้งหมด ดังนั้นต้องใช้ประชารัฐ และสื่อต้องอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ด้วย เพราะต้องสร้างความเข้าใจกับคนทั่วไป ไม่ให้เกิดความขัดแย้งในการทำงาน
วานนี้ (6มิ.ย.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานเปิดงานวันต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2559 ภายใต้แนวคิดหลัก"ประชารัฐร่วมใจ ต้านภัยการค้ามนุษย์" และมอบรางวัลด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ความสำเร็จวันนี้ ถือเป็นเพียงขั้นที่ 1 เท่านั้น แต่ผลสำเร็จขั้นสุดท้ายต้องให้ได้ 100% จะต้องให้เกิดขึ้นทั้งในภูมิภาค และจังหวัด ถ้าจะให้ได้ผลสำเร็จทุกอย่างจะต้องได้ 100% หรือ 90% นั่นหมายถึง จะต้องไม่มีกระบวนการค้ามนุษย์เกิดขึ้นในไทย ทั้งนี้ รัฐบาลประกาศเจตนารมย์ไว้ โดยกำหนดให้ วันที่ 5 มิ.ย. เป็นวันต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งแนวทางกาารแก้ปัญหา ทุกประเทศในย่านนี้ ต้องร่วมมือกัน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน
"ทุกประเทศในอาเซียนได้สัญญาว่าจะร่วมมือกันในการแก้ปัญหา โดยการพัฒนา ทั้งในและนอกประเทศในลักษณะของไตรภาคี โดยประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องช่วยเหลือประเทศที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งรัฐบาลไทยก็กำลังดำเนินการอยู่ ขอร้องว่าอย่ามามัวแต่จับผิดกัน อย่าลืมว่าไม่เคยมีการทำเช่นนี้มาก่อนในลักษณะนี้ แม้วันนี้จะดีขึ้นมามากก็ตาม แต่ผมก็ยังไม่สบายใจ เพราะไม่มั่นใจว่าวันข้างหน้าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ นี่คือการใช้อำนาจพิเศษ ที่เกิดประโยชน์กับประเทศ ประชาชน และภูมิภาค ในทุกประเทศถ้าไม่ทำให้ทุกอย่างสงบเงียบ สิ่งดีๆ ก็ไม่เกิดขึ้น หลายๆ ประเทศพยายามเข้าใจหน่อยแล้วกัน เราพยายามทำทุกอย่างให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม มุ่งมั่นปราบปรามลงโทษผู้กระทำความผิดให้ถึงที่สุด โดยเน้นที่ผลลัพธ์ ซึ่งในส่วนของผม จับกุมมาได้ 150 คดี และต้องชี้แจงให้ได้ว่า 150 คดีนั้น มีการจับกุม ส่งฟ้องศาลได้ทั้งหมดหรือยัง และมีการตัดสินคดีไหนแล้วบ้าง เนื่องจากส่วนเหล่านี้มีทั้งผู้ประกอบการ เหยื่อ เจ้าหน้าที่ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เจ้าหน้าที่ไม่ร่วมมือ ซึ่งมีทั้งไม่ตั้งใจ ไม่เอาใจใส่ หรือตั้งใจ เมื่อรัฐบาลไม่เอาใจใส่ ไม่กวดขัน ไม่เอาจริงเอาจัง ข้าราชการก็ไม่รู้จะทำอย่างไร มีหน้าที่แต่ไม่มีใครใส่ใจก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งหลายเปอร์เซ็นต์เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ประมาณรัอยละ 69.3 ใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย 580 ล้านบาท หรือร้อยละ 19 ของงบประมาณที่จัดสรร การแก้ปัญหาอยู่ที่การใช้กฎหมาย และคนจะเชื่อมั่น และปฏิบัติตามหรือไม่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ ยังกล่าวย้ำถึงการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ว่า เจ้าหน้าที่รัฐ จะต้องไม่ลงไปเกี่ยวข้องกับการเอื้อประโยชน์ให้กับขบวนการเหล่านี้ ผู้บังคับบัญชาต้องสอดส่องดูแล และห้ามใช้หลักทรัพย์ หรือสถานะการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการไปประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลย
ปัจจุบันคดีอาญาทั้งหมด มีเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจ ทหาร พลเรือน นักการเมืองท้องถิ่น ถูกดำเนินคดีทางวินัย และอาญา 34 ราย ถูกพักราชการไปแล้ว แต่ก็ต้องเร่งดำเนินการสอบสวน พร้อมลงโทษทางวินัยทันที และขอฝากปลัดกระทรวงยุติธรรมว่า ให้ไปคิดแก้ปัญหากรณีที่ผู้ต้องหารับสารภาพทุกอย่างแล้ว แต่ถึงเวลาในชั้นศาล กลับปฏิเสธ ต้องไปดูว่าประเทศอื่นเขาทำอย่างไร การให้สิทธิคนต่อสู้สามารถทำได้ แต่เรื่องแบบนี้บางทีมันวุ่นวาย ขอให้ไปสอบถามประเทศเพื่อนบ้าน ว่ากรณีแบบนี้ทำอย่างไร แต่ถ้าศาลโลก หรือต่างประเทศเขาทำแบบนี้ ก็ต้องทำตามหลักสากล ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานในพิธีดังกล่าวว่า การขับเคลื่อนการต่อต้านการค้ามนุษย์ ต้องทำอย่างเป็นระบบโดยอาศัยกลไกประชารัฐ ซึ่งเราได้เอาประชารัฐ ไปใส่ในทุกกิจกรรม เพราะไม่มีอะไรที่รัฐบาล หรือข้าราชการ จะทำได้โดยลำพัง ต้องอาศัยภาคีเครือข่ายทั้งหมด ดังนั้นต้องใช้ประชารัฐ และสื่อต้องอยู่ในกระบวนการเหล่านี้ด้วย เพราะต้องสร้างความเข้าใจกับคนทั่วไป ไม่ให้เกิดความขัดแย้งในการทำงาน