“หมอประกิต” เผย ผลวิจัยจากสหรัฐฯ พบลดการสูบบุหรี่ 10% ช่วยประหยัดค่ารักษากว่า 2.2 แสนล้านบาท ลดผู้ป่วยเกิดสารพัดโรค ห่วงอัตราสูบบุหรี่ไทยไม่ลด 5 ปี จี้ลดการสูบบุหรี่ ช่วยประหยัดงบบัตรทอง
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากรายงานการวิจัยจากศูนย์วิจัยควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ที่พบว่า หากสามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ร้อยละ 10 จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้ 63 พันล้านเหรียญหรือกว่าสองแสนสองหมื่นล้านบาท จากการลดจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ อาทิ โรคหัวใจและเส้นเลือดสมอง รวมถึงเด็กที่คลอดก่อนกำหนด และลดความสูญเสียจากโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง รายงานระบุว่า การลดลงของค่ารักษาพยาบาลเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น หลังจากที่อัตราการสูบบุหรี่ลดลง เนื่องจากคนที่เลิกสูบบุหรี่ได้หนึ่งปี โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจหรือเส้นเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันจะลดลงครึ่งหนึ่งทันที ผู้วิจัยสรุปว่า การลดอัตราการสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำให้สุขภาพประชากรดีขึ้น แต่ยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้มหาศาลในเวลาอันรวดเร็วด้วย
ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อไปว่า อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ไม่ได้ลดลงเลยใน 5 ปีหลัง ด้วยอัตราการสูบบุหรี่ อยู่ที่ 20.7 ระหว่าง พ.ศ. 2552 - 2557 เนื่องจากการควบคุมยาสูบที่ทำอยู่ เพียงแต่ป้องกันไม่ให้อัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจากกลยุทธ์การตลาด ทั้งการตัดราคาและการแข่งกันส่งเสริมการขายเท่านั้น ยังมีจุดอ่อนในการช่วยคนเลิกสูบ โดยยาอดบุหรี่ยังไม่อยู่ชุดประสิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพทั้งสามระบบ และยังมีผู้สูบยาเส้นอีกมาก ที่ราคาถูกมาก เนื่องจากเสียภาษีต่ำมากหรือไม่ต้องเสียภาษี ทำให้ไม่เลิกสูบ ดังนั้น ในขณะที่ฝ่ายต่าง ๆ พยายามที่จะเรียกร้องให้มีการลดงบประมาณรักษาโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพหรือ สปสช. สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือเร่งรัดสนับสนุนการควบคุมยาสูบ ทั้งมาตรการทางกฎหมายที่ให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เดินหน้าสู่การพิจารณาโดย สนช. โดยเร็ว การปรับปรุงระบบภาษีและการช่วยให้คนที่ติดบุหรี่เลิกสูบ เนื่องจากยาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง และ โรคเบาหวาน โดยประมาณการว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ หนึ่งล้านห้าแสนคนที่สร้างภาระให้แก่การบริการสาธารณสุข และงบประมาณรักษาโรคโดยรวม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากรายงานการวิจัยจากศูนย์วิจัยควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ที่พบว่า หากสามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ร้อยละ 10 จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้ 63 พันล้านเหรียญหรือกว่าสองแสนสองหมื่นล้านบาท จากการลดจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ อาทิ โรคหัวใจและเส้นเลือดสมอง รวมถึงเด็กที่คลอดก่อนกำหนด และลดความสูญเสียจากโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง รายงานระบุว่า การลดลงของค่ารักษาพยาบาลเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น หลังจากที่อัตราการสูบบุหรี่ลดลง เนื่องจากคนที่เลิกสูบบุหรี่ได้หนึ่งปี โอกาสเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจหรือเส้นเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันจะลดลงครึ่งหนึ่งทันที ผู้วิจัยสรุปว่า การลดอัตราการสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำให้สุขภาพประชากรดีขึ้น แต่ยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้มหาศาลในเวลาอันรวดเร็วด้วย
ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อไปว่า อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ไม่ได้ลดลงเลยใน 5 ปีหลัง ด้วยอัตราการสูบบุหรี่ อยู่ที่ 20.7 ระหว่าง พ.ศ. 2552 - 2557 เนื่องจากการควบคุมยาสูบที่ทำอยู่ เพียงแต่ป้องกันไม่ให้อัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจากกลยุทธ์การตลาด ทั้งการตัดราคาและการแข่งกันส่งเสริมการขายเท่านั้น ยังมีจุดอ่อนในการช่วยคนเลิกสูบ โดยยาอดบุหรี่ยังไม่อยู่ชุดประสิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพทั้งสามระบบ และยังมีผู้สูบยาเส้นอีกมาก ที่ราคาถูกมาก เนื่องจากเสียภาษีต่ำมากหรือไม่ต้องเสียภาษี ทำให้ไม่เลิกสูบ ดังนั้น ในขณะที่ฝ่ายต่าง ๆ พยายามที่จะเรียกร้องให้มีการลดงบประมาณรักษาโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพหรือ สปสช. สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือเร่งรัดสนับสนุนการควบคุมยาสูบ ทั้งมาตรการทางกฎหมายที่ให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เดินหน้าสู่การพิจารณาโดย สนช. โดยเร็ว การปรับปรุงระบบภาษีและการช่วยให้คนที่ติดบุหรี่เลิกสูบ เนื่องจากยาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง และ โรคเบาหวาน โดยประมาณการว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ หนึ่งล้านห้าแสนคนที่สร้างภาระให้แก่การบริการสาธารณสุข และงบประมาณรักษาโรคโดยรวม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่