สมัยนี้ใคร ๆ ก็ชอบการรักษาเร็วทันใจ หายไวแบบ 4G แต่ปัญหาที่พบคือการรักษาที่ (เหมือนจะ) หายไว แต่ไม่หายขาด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ยาหม่อง (Balm) ที่เรามักซื้อติดบ้านเอาไว้ เมื่อใช้ทีแรกจะออกฤทธิ์ให้ความรู้สึกเย็นดี ร้อนดี หรือหอมดี ทำให้เข้าใจว่าสามารถแก้ไขอาการที่เป็นอยู่ได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะหกล้ม ปวดหัว แมลงสัตว์กัดต่อย หรือแม้แต่ปวดท้อง ก็คว้ายาหม่องขวดเดียวขวดเดิมมาทา ตามที่เขียนบรรยายสรรพคุณไว้มากมาย ทั้ง ๆ ที่ใช้สมุนไพรเพียงไม่กี่ตัว ผลที่ได้กลับมา คือ อาการจะกลับมาเป็นอีก เป็น ๆ หาย ๆ เนื่องจากต้นตอของปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างถูกต้อง ยิ่งถ้ามีการเจือปนของสารเคมีอย่าง สเตียรอยด์ด้วยแล้วก็ยิ่งเพิ่มปัญหามากกว่าการรักษาเป็นแน่
ตรงกันข้ามกับคนไทยสมัยก่อนมองเห็นคุณค่าของสมุนไพรที่มีมากมายตามธรรมชาติ และได้นำมารักษาโรคตามแบบไทย โดยใช้ภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนโบราณ พัฒนาจนกลายมาเป็น “ยาตำรับ” ที่เป็นการผสมผสานการใช้สมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเพื่อผลในการรักษาเฉพาะโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ยาตำรับไทย” ที่ดีจะมีโครงสร้างตัวยาไม่ต่างจากหลัก Herbal Medicine ซึ่งเป็นหลักสากลที่ใช้ในการปรุงยาสมุนไพรโดยทั่วไป โดยความดีงามของยาตำรับที่เห็นได้ชัด ได้แก่
1. ตัวยาตรง เป็นตัวยาที่ใช้รักษาอาการหลักของโรคหรืออาการนั้น ๆ
2. ตัวยารอง เป็นตัวยาที่ใช้รักษาโรคแทรกหรืออาการรองลงมา โดยจะต้องไม่มีสรรพคุณที่ขัดกันกับยาตรงเด็ดขาด
3 .ตัวยาประกอบ ใช้คุมฤทธิ์ของยาตัวอื่นให้มีสรรพคุณสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4. ตัวยาชูรส กลิ่น สี คือตัวยาที่ปรุงแต่งเพื่อให้ยาขนานนั้นง่ายต่อการใช้มากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ “ยาตำรับไทย” สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่ยาหม่องครอบจักรวาลที่ใช้กันทั่วไป โดยความดีงามของยาตำรับที่เห็นได้ชัด คือ
1. แยกสูตรการรักษาเฉพาะโรคอย่างตรงจุด
ยาตำรับจะมีสูตรรักษาเฉพาะแต่ละอาการอย่างชัดเจน ไม่รักษาเพียงหว่าน ๆ แบบฉาบฉวย เนื่องจากไม่ต้องเฉลี่ยตัวยาเพื่อไปรักษาอาการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ยาตำรับแก้ปวดเมื่อยคลายกล้ามเนื้อ ก็จะมีสมุนไพรที่ให้ผลเฉพาะกล้ามเนื้อเท่านั้น ไม่ต้องเผื่อไปรักษาอาการอื่น ๆ เช่น แก้คัน แก้ผื่น แก้แผลพุพอง จึงช่วยให้อาการปวดเมื่อยหายได้เร็วขึ้น และหายขาด
2. มีสมุนไพรหลากหลายชนิดทำงานร่วมกันเพื่อการรักษาที่ดีขึ้น
การรักษาโรคจะใช้สมุนไพรเพียงไม่กี่ตัวรักษาให้หายขาดนั้นคงยาก เพราะโรคหนึ่งโรค อาจประกอบด้วย อาการผิดปกติของหลาย ๆ ส่วน ยกตัวอย่างเช่น อาการปวดเข่า เกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งกระดูกเข่า เอ็นข้อต่อ กล้ามเนื้อ หรือน้ำในข้อต่อ หากใช้ยาทาคลายกล้ามเนื้ออย่างเดียว โดยไม่รักษาที่กระดูกหรือส่วนอื่น ๆ ก็ย่อมไม่หายขาดซักที แต่ยาตำรับไทยสูตรแก้อาการปวดเข่า จะมีการคำนวณส่วนผสมสมุนไพรหลากหลายชนิดที่แก้ไขอาการทุกส่วนอย่างพอดี และครบวงจร
น่าเสียดายที่ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่ผลิตตามแบบฉบับของสูตร “ยาตำรับไทย” ขนานแท้ หนึ่งในนั้นคือ “อินทรชิตร์” ซึ่งหลายคนมักสงสัย (และอาจสับสน) ว่าทำไมออกมาหลายสูตรเหลือเกิน วันนี้เราจึงมีนัดกับ คุณแม่น้อย ณัฐสุรีย์ จินดารัตนวรกุล และ คุณจีน ชัชศรัญ จินดารัตนวรกุล สองแม่ลูก ผู้ฟื้นฟูและต่อยอดศาสตร์แห่งยาตำรับสมุนไพรไทย เพื่อพูดคุยถึงแรงบันดาลใจในการสร้างแบรนด์ “อินทรชิตร์” ให้เป็นที่รู้จักและยืนหยัดความเป็นยาตำรับไทยแท้ ๆ ท่ามกลางกระแสยาสมัยใหม่จากตะวันตกมากมาย
คุณค่ายาตำรับ...คือจุดเริ่มต้นอินทรชิตร์
“ตอนแรกเลยแม่ทำธุรกิจอื่นอยู่ จนวันนึงมีพระอาจารย์ที่เคารพให้ตำรายาตำรับโบราณมา ก็เลยเริ่มศึกษาจนมีความเชื่อมั่นว่า “ยาตำรับ” ของไทยเรามีสรรพคุณที่ดีนะ แต่ต้องใช้ถูกกับโรค ถ้าใช้ถูกกับโรคก็หายไว ผลข้างเคียงก็แทบจะไม่มีอยู่แล้วเพราะมันเป็นของจากธรรมชาติ” คุณณัฐสุรีย์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของความศรัทธาในคุณค่า “ยาตำรับ” จนต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยาตำรับของไทยจากตำราอีกหลาย ๆ เล่ม
“ช่วงแรก ๆ แม่ก็ไม่ได้คิดจะทำเป็นธุรกิจจริงจังอย่างทุกวันนี้ ทำเพราะความสนใจส่วนตัวล้วน ๆ เริ่มต้นด้วยการลองทำใช้เองแล้วมันเวิร์ก เลยคิดทำออกมาอีกหลาย ๆ สูตร แต่เราเองไม่ได้เป็นหลายโรค เลยเอาไปให้คนรู้จักใช้ แบบอยากช่วยเขา ตอนแรกก็ลุ้นนะ (หัวเราะ) แต่ผลมันดีเกินกว่าที่เราคาด อย่างลูกน้องเคยเป็นนิ้วล็อก รักษายังไงก็ไม่หาย แม่ก็ให้ยาสูตรที่แก้เรื่องเส้น เอ็นและกล้ามเนื้อไปให้ใช้ก็ดีขึ้น เค้าก็ขอบคุณเรา ทำให้เรามีกำลังใจ และหลายคนก็เชียร์ให้ลองทำขายดู อินทรชิตร์เลยเกิดขึ้น”
มากกว่าย่อมดีกว่า...เป็นที่มาของขี้ผึ้งยาตำรับและน้ำมันนวดทั้ง 10 สูตร
“ก่อนหน้านี้แม่ปรุงสูตรยาตำรับของขี้ผึ้งยา “อินทรชิตร์” ออกมาทั้งหมด 8 สูตร แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมมากพอ ยังมีลูกค้ามาถามถึงอาการอื่นๆ ด้วย เราเลยเอาเคสที่ลูกค้าถามบ่อยๆ มาผลิตเพิ่มอีก 2 สูตร คือสูตร 9 กับสูตร 10 และก็ออกแบบน้ำมันนวดอีก 4 สูตร ซึ่งตัวยาจะมีความเข้มข้นกว่าและซึมเร็วกว่าด้วย...หลังจากลูกค้าเอาไปลองใช้ ก็มีหลายคนโทรศัพท์มาขอบคุณที่ของเราช่วยให้เค้าดีขึ้น จุดนั้นยิ่งทำให้เราแม่ลูกรู้สึกภูมิใจ ว่าสิ่งที่ทำออกมาไม่สูญเปล่า” คุณณัฐสุรีย์ เล่าความประทับใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยสีหน้าที่มีความสุข
เป็นโรคไหน ใช้สูตรนั้น...ถ้าใช้ถูกโรคก็หายไว
ยาตำรับไทยมีแบบน้ำมันนวด ตัวยาเข้มข้นและซึมเร็วกว่า เป็นที่นิยมในการทำสปา
คุณจีน ชัชศรัญ พูดเสริมต่อจากคุณแม่ทันที “จีนมั่นใจและกล้าพูดได้เต็มปากจากความรู้และประสบการณ์เลยว่าขี้ผึ้งยาตำรับที่เราทำขึ้นมาเป็นสรรพคุณแท้ๆ ของยาตำรับที่ผลิตบนพื้นฐานของศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งเราเน้นรักษาลึกลงไปถึงสาเหตุของโรค และยังช่วยฟื้นฟูอวัยวะที่เกี่ยวกันอีกด้วย บอกเลยค่ะว่าทั้ง 10 สูตร ยังถือว่าน้อยไปด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับผลที่ได้กลับมา”
ยาตำรับที่ดี...ต้องมาจากสมุนไพรที่ใช่และคู่ควรเท่านั้น
ใครที่คิดว่าจะทำยาตำรับขึ้นมาซักสูตร แค่ใส่สมุนไพรสองชนิดขึ้นไปแล้วก็จบกัน คุณณัฐสุรีย์บอกว่านั่นจะทำให้ได้ยาตำรับที่ไม่มีคุณภาพ
“จะทำยาตำรับไม่ใช่จะใส่สมุนไพรอะไรลงไปก็ได้ เพราะแต่ละตัวมันมีสรรพคุณและให้ผลการรักษาเฉพาะโรคไม่เหมือนกัน ถ้าจะแก้เฉพาะโรคก็ต้องดูให้ดีกว่าสมุนไพรตัวนี้มันมีสรรพคุณเกื้อกันหรือขัดรึเปล่า ไม่อย่างนั้นแทนที่จะช่วยรักษาให้หายจะยิ่งทำให้แย่กว่าเดิม”
“การเก็บสมุนไพรของเราแต่ละครั้งต้องดูหลายๆ อย่างอีก มีทั้งเรื่องพื้นที่ที่สมุนไพรขึ้น สภาพอากาศ ฤดูกาล และช่วงเวลาที่เก็บพวกนี้มีผลกับคุณภาพของสมุนไพรที่เราเก็บทั้งหมดเลย พอได้มาแล้วเราก็เอาไปตากแห้งและอบก่อนนำไปปรุงต่อ หลายตัวหายากมาก (เน้นเสียง) แต่ในตำรับระบุไว้ว่าต้องมี ก็ต้องหามาให้ได้ บางตัวมีเยอะแต่ในตำรับบอกใช้แค่นิดเดียว บางส่วนก็เลยต้องทิ้งเพราะเก็บไว้ไม่ได้นาน” นี่เป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่คุณจีนอธิบายให้เราฟัง ทำให้รู้สึกเซอร์ไพร์สว่าก่อนจะได้ออกมาเป็นยาตำรับดีๆ ซักตัวต้องใส่ใจในรายละเอียดกันมากแค่ไหน
เรื่องยาตำรับไทย...มั่นใจยาสมุนไพรไทย “อินทรชิตร์”
ในส่วนสุดท้ายนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณลูกหมู หรือที่บรรดาลูกค้าเรียกกันติดปากว่า คุณหมอลูกหมู ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนตะวันออกหนึ่งในบุคลากรคนสำคัญของขี้ผึ้งยา “อินทรชิตร์” ซึ่งคุณลูกหมูได้เริ่มบทสนทนาด้วยความเป็นกันเอง
“ทุกวันจะมีคนสอบถามข้อมูล หรือขอคำปรึกษาเข้ามาเยอะมากค่ะ รับสายแทบไม่ทัน (หัวเราะ) คนไข้ส่วนใหญ่ที่มารักษากับเราจะมีอยู่ 2 แบบค่ะ แบบแรกคือเค้าเชื่อในการรักษาด้วยยาตำรับแบบไทยอยู่แล้ว และแบบที่สองคือ ลองรักษาตามแผนปัจจุบันมาแล้วไม่ได้ผลเลยมาลองยาตำรับเป็นทางเลือกดูค่ะ ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ของเราก็ต้องคอยให้คำปรึกษาและความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของยาตำรับ และช่วยแนะนำคนไข้ว่าโรคนี้หรืออาการนี้ควรใช้ขี้ผึ้งยาสูตรไหนแก้ พร้อมคำอธิบายทุกครั้งเพื่อให้เค้ามั่นใจในสรรพคุณของยาตำรับของเราค่ะ” คุณลูกหมูกล่าวทิ้งท้าย
และนี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นการใช้ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพแบบไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ หากคุณมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดเข่า ปวดข้อ กล้ามเนื้อ เป็นฝี หนอง ก็มาลองเปิดใจใช้ยาตำรับที่คิดค้นโดยบรรพบุรุษของเราเองดูบ้าง อย่ารอให้ต่างชาติมาเห็นความดีงาม นำภูมิปัญญาไทยไปต่อยอดแล้วนำกลับมาขายคนไทยถึงจะเห็นคุณค่า
...เพราะถึงวันนั้นก็อาจสายไปเสียแล้ว
ขอบคุณภาพจาก : www.faceboook.com/IndrajidThai
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)