ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวคราวที่สะเทือนหัวใจผู้คนมากที่สุดเห็นจะไม่พ้นกรณีของน้องเบนซ์และน้องโต้ง เหยื่อที่ถูกรถเบนซ์คู่กรณีขับรถซิ่งชนจนเสียชีวิต
เห็นข่าวชิ้นนี้ครั้งแรกคุณรู้สึกอย่างไร?
รู้สึกว่าเกิดขึ้นอีกแล้วหรือ กับความมักง่ายของคน !
หัวใจของคนเป็นแม่รู้สึกสะเทือนใจอย่างยิ่ง เนื่องเพราะเชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนใดที่จะทนได้เมื่อต้องสูญเสียลูกไปก่อนวัยอันควร หรือต้องเสียชีวิตไปก่อนตัวเอง ยิ่งเป็นการจากไปแบบกะทันหันด้วยแล้ว ยิ่งยากเหลือเกินต่อการทำใจของพ่อแม่
และเมื่อข่าวเรื่องนี้ค่อย ๆ ถูกตีแผ่และขยายประเด็นออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมผู้คนในสังคมโดยรวมรับไม่ได้กับพฤติกรรมของผู้กระทำการ
และทันทีก็พลันทำให้นึกถึงกรณีก่อนหน้านี้อีก 3 กรณีขึ้นมาทันที
กรณีแรก จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2550
ทายาทคนมีชื่อเสียงขับรถเบนซ์และถูกรถปรับอากาศร่วมบริการสาย 513 ขับปาดให้รถหยุดบริเวณหน้าป้อมตำรวจจราจรที่ปากซอยสุขุมวิท 26 ก่อนจะมีปากเสียงกัน
จากนั้น ก็ใช้ก้อนหินทุบใบหน้าคนขับรถเมล์จนแตก ก่อนกลับเข้าไปนั่งในรถแล้วขับพุ่งชนผู้โดยสารที่ยืนบนทางเท้าได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งครอบครัวพยายามต่อสู้ว่าบุตรชายมีอาการชักเกร็งตั้งแต่เด็ก เคยเข้ารับการรักษาจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ที่มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุก 2 ปี 1 เดือน ฐานฆ่าและทำร้ายร่างกายผู้อื่น โดยไม่รอลงอาญา และยกเลิกการคุมประพฤติ เนื่องจากเห็นว่าผลการตรวจของแพทย์พบจำเลยมีจิตบกพร่อง แต่สามารถรู้จักผิดชอบถึงการกระทำของตน และยังมีประวัติเสพยาเสพติดหลายชนิดตั้งแต่อายุ 17-18 ปี จนถึงก่อนเกิดเหตุ อีกทั้งแพทย์ระบุว่าจำเลยป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน แต่บิดายังให้ขับรถ พฤติการณ์ถือว่าร้ายแรง
กรณีที่สอง จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553
นักศึกษาสาวตระกูลดังซึ่งยังเป็นเยาวชนอายุ 17 ปี ได้ก่อเหตุขับรถยนต์ฮอนด้าซีวิคเฉี่ยวชนรถตู้โดยสารสายธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-หมอชิต บนทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ เป็นเหตุให้คนขับรถตู้และผู้โดยสารเสียชีวิตรวม 9 ราย โดยเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปแล้ว โดยพิพากษาจำคุก 2 ปี แต่แก้โทษให้เพิ่มเวลารอลงอาญาจาก 3 ปี เป็น 4 ปี เพิ่มเวลาบำเพ็ญประโยชน์เป็นปีละ 48 ชั่วโมง รวม 4 ปี และห้ามขับรถจนอายุ 25 ปีนั้น และล่าสุดก็มีการเปิดเผยจากอธิบดีกรมคุมประพฤติบอกว่าผู้กระทำผิดทำผิดเงื่อนไข ไม่มาบำเพ็ญประโยชน์ แม้จะมีข้อโต้แย้งจากฝ่ายผู้กระทำผิดว่าได้ไปบำเพ็ญประโยชน์แล้ว แต่ก็เป็นการทำไปโดยไม่รายงานกรมคุมประพฤติตามขั้นตอน ความเป็นจริงจะยุติลงอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป
กรณีที่สาม เรื่องของทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ขับรถสปอร์ตชนตำรวจเสียชีวิต แล้วกลับเข้าบ้านโดยไม่หยุดช่วยเหลือ สังคมเริ่มถามว่าคดีไปถึงไหน ที่สุดก็พบว่าจนถึงป่านนี้อัยการยังไม่ได้ฟ้องศาล เพราะผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรมให้สอบข้อเท็จจริงใหม่ จนขณะนี้ข้อหาขับรถเร็วเกินกำหนดหมดอายุความไปแล้ว
เรื่องราวทั้ง 3 กรณีหลัง ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เพราะดูเหมือนมีความละม้ายกัน และช่างบังเอิญที่ทุกกรณีที่กล่าวมา ผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาล้วนแล้วอยู่ในฐานะมีอันจะกิน หรือเหลือกินเหลือใช้ทั้งสิ้น และดูเหมือนครอบครัวก็ออกมาปกป้องแบบเต็มที่เช่นกัน
รวมแล้วทั้ง 4 กรณี ครอบครัวมีส่วนอย่างปฏิเสธไม่ได้
เวลาที่ลูกมีปัญหา เรื่องที่พ่อแม่หรือคนในครอบครัวออกมาปกป้องลูกเป็นเรื่องปกติ เพราะลูกใครใครก็รัก แต่ถ้าต้องถึงกับปกป้องเกินเหตุเกินการณ์ด้วยความพยายามที่จะเปลี่ยนจากผิดเป็นถูก หรืออย่างน้อยให้ผิดน้อยลง จะเรียกว่า “ปกป้อง” หรือ “ทำร้าย” ลูกกันแน่ !
กรณีที่ลูกอายุไม่ถึงตามที่กฎหมายกำหนด ทำไมถึงให้ลูกขับรถ ?
กรณีที่ลูกมีโรคประจำตัว โรคอารมณ์แปรปรวน ทำไมถึงให้ลูกขับรถ?
หรือแม้แต่การปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมชอบขับรถเร็ว โดยไม่สนใจว่าจะไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร
แล้วครอบครัวจะปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้อย่างไร
นึกถึงคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” ขึ้นมาในบัดดล
และอดทำให้ตั้งคำถามไม่ได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นเติบโตขึ้นมาด้วยการถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร ?
แบบที่พ่อแม่ทำทุกอย่างให้ลูกหมดเลย ลูกอยากได้อะไรก็จัดให้ไม่ต้องการขัดใจ คอยประคบประหงมเต็มที่หรือไม่
หรือแบบที่ลูกไม่เคยผิดเลย เป็นพ่อแม่ที่ปกป้องลูกตลอดเวลา ไม่ว่าลูกจะมีปัญหากับใคร ทะเลาะกับพ่อแม่เอง ลูกฉันก็ไม่เคยผิด แม้ลูกจะทำผิดก็โทษผู้อื่นเสมอ เวลาลูกมีปัญหากับใครก็ออกโรงปกป้องเต็มที่ เพราะฉะนั้นเวลาเขาโตขึ้น ถึงต้องไปถามคนอื่นไงว่า “ไม่รู้เหรอว่าฉันลูกใคร”
พ่อแม่ทุกคนรักลูก แต่ถ้ารักในทางที่ผิด อันนี้มันมีมาตรวัดชัดเจน ลูกที่เป็นผลผลิตจากความรักของพ่อแม่ที่เป็นแบบนี้ มักจะก่อให้เกิดความไม่ลงตัว หรือเกิดปัญหาต่าง ๆ ในสังคม ลองสังเกตคนใกล้ตัว มันสะท้อนได้ บางทีนิสัยต่าง ๆ มันเกิดมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ซึ่งพื้นฐานมันมาจากความรัก แต่เป็นความรักแบบไหน !
ฉะนั้นต้องตั้งคำถามว่า รักถูกทางไหม รักถูกวิธีไหม มันอาจจะเข้าข่าย “พ่อแม่รังแกฉัน” โดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
เห็นข่าวชิ้นนี้ครั้งแรกคุณรู้สึกอย่างไร?
รู้สึกว่าเกิดขึ้นอีกแล้วหรือ กับความมักง่ายของคน !
หัวใจของคนเป็นแม่รู้สึกสะเทือนใจอย่างยิ่ง เนื่องเพราะเชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนใดที่จะทนได้เมื่อต้องสูญเสียลูกไปก่อนวัยอันควร หรือต้องเสียชีวิตไปก่อนตัวเอง ยิ่งเป็นการจากไปแบบกะทันหันด้วยแล้ว ยิ่งยากเหลือเกินต่อการทำใจของพ่อแม่
และเมื่อข่าวเรื่องนี้ค่อย ๆ ถูกตีแผ่และขยายประเด็นออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมผู้คนในสังคมโดยรวมรับไม่ได้กับพฤติกรรมของผู้กระทำการ
และทันทีก็พลันทำให้นึกถึงกรณีก่อนหน้านี้อีก 3 กรณีขึ้นมาทันที
กรณีแรก จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2550
ทายาทคนมีชื่อเสียงขับรถเบนซ์และถูกรถปรับอากาศร่วมบริการสาย 513 ขับปาดให้รถหยุดบริเวณหน้าป้อมตำรวจจราจรที่ปากซอยสุขุมวิท 26 ก่อนจะมีปากเสียงกัน
จากนั้น ก็ใช้ก้อนหินทุบใบหน้าคนขับรถเมล์จนแตก ก่อนกลับเข้าไปนั่งในรถแล้วขับพุ่งชนผู้โดยสารที่ยืนบนทางเท้าได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งครอบครัวพยายามต่อสู้ว่าบุตรชายมีอาการชักเกร็งตั้งแต่เด็ก เคยเข้ารับการรักษาจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ที่มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุก 2 ปี 1 เดือน ฐานฆ่าและทำร้ายร่างกายผู้อื่น โดยไม่รอลงอาญา และยกเลิกการคุมประพฤติ เนื่องจากเห็นว่าผลการตรวจของแพทย์พบจำเลยมีจิตบกพร่อง แต่สามารถรู้จักผิดชอบถึงการกระทำของตน และยังมีประวัติเสพยาเสพติดหลายชนิดตั้งแต่อายุ 17-18 ปี จนถึงก่อนเกิดเหตุ อีกทั้งแพทย์ระบุว่าจำเลยป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน แต่บิดายังให้ขับรถ พฤติการณ์ถือว่าร้ายแรง
กรณีที่สอง จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553
นักศึกษาสาวตระกูลดังซึ่งยังเป็นเยาวชนอายุ 17 ปี ได้ก่อเหตุขับรถยนต์ฮอนด้าซีวิคเฉี่ยวชนรถตู้โดยสารสายธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-หมอชิต บนทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ เป็นเหตุให้คนขับรถตู้และผู้โดยสารเสียชีวิตรวม 9 ราย โดยเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2557 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไปแล้ว โดยพิพากษาจำคุก 2 ปี แต่แก้โทษให้เพิ่มเวลารอลงอาญาจาก 3 ปี เป็น 4 ปี เพิ่มเวลาบำเพ็ญประโยชน์เป็นปีละ 48 ชั่วโมง รวม 4 ปี และห้ามขับรถจนอายุ 25 ปีนั้น และล่าสุดก็มีการเปิดเผยจากอธิบดีกรมคุมประพฤติบอกว่าผู้กระทำผิดทำผิดเงื่อนไข ไม่มาบำเพ็ญประโยชน์ แม้จะมีข้อโต้แย้งจากฝ่ายผู้กระทำผิดว่าได้ไปบำเพ็ญประโยชน์แล้ว แต่ก็เป็นการทำไปโดยไม่รายงานกรมคุมประพฤติตามขั้นตอน ความเป็นจริงจะยุติลงอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป
กรณีที่สาม เรื่องของทายาทเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง ขับรถสปอร์ตชนตำรวจเสียชีวิต แล้วกลับเข้าบ้านโดยไม่หยุดช่วยเหลือ สังคมเริ่มถามว่าคดีไปถึงไหน ที่สุดก็พบว่าจนถึงป่านนี้อัยการยังไม่ได้ฟ้องศาล เพราะผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรมให้สอบข้อเท็จจริงใหม่ จนขณะนี้ข้อหาขับรถเร็วเกินกำหนดหมดอายุความไปแล้ว
เรื่องราวทั้ง 3 กรณีหลัง ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เพราะดูเหมือนมีความละม้ายกัน และช่างบังเอิญที่ทุกกรณีที่กล่าวมา ผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาล้วนแล้วอยู่ในฐานะมีอันจะกิน หรือเหลือกินเหลือใช้ทั้งสิ้น และดูเหมือนครอบครัวก็ออกมาปกป้องแบบเต็มที่เช่นกัน
รวมแล้วทั้ง 4 กรณี ครอบครัวมีส่วนอย่างปฏิเสธไม่ได้
เวลาที่ลูกมีปัญหา เรื่องที่พ่อแม่หรือคนในครอบครัวออกมาปกป้องลูกเป็นเรื่องปกติ เพราะลูกใครใครก็รัก แต่ถ้าต้องถึงกับปกป้องเกินเหตุเกินการณ์ด้วยความพยายามที่จะเปลี่ยนจากผิดเป็นถูก หรืออย่างน้อยให้ผิดน้อยลง จะเรียกว่า “ปกป้อง” หรือ “ทำร้าย” ลูกกันแน่ !
กรณีที่ลูกอายุไม่ถึงตามที่กฎหมายกำหนด ทำไมถึงให้ลูกขับรถ ?
กรณีที่ลูกมีโรคประจำตัว โรคอารมณ์แปรปรวน ทำไมถึงให้ลูกขับรถ?
หรือแม้แต่การปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมชอบขับรถเร็ว โดยไม่สนใจว่าจะไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร
แล้วครอบครัวจะปฏิเสธความรับผิดชอบไปได้อย่างไร
นึกถึงคำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” ขึ้นมาในบัดดล
และอดทำให้ตั้งคำถามไม่ได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นเติบโตขึ้นมาด้วยการถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร ?
แบบที่พ่อแม่ทำทุกอย่างให้ลูกหมดเลย ลูกอยากได้อะไรก็จัดให้ไม่ต้องการขัดใจ คอยประคบประหงมเต็มที่หรือไม่
หรือแบบที่ลูกไม่เคยผิดเลย เป็นพ่อแม่ที่ปกป้องลูกตลอดเวลา ไม่ว่าลูกจะมีปัญหากับใคร ทะเลาะกับพ่อแม่เอง ลูกฉันก็ไม่เคยผิด แม้ลูกจะทำผิดก็โทษผู้อื่นเสมอ เวลาลูกมีปัญหากับใครก็ออกโรงปกป้องเต็มที่ เพราะฉะนั้นเวลาเขาโตขึ้น ถึงต้องไปถามคนอื่นไงว่า “ไม่รู้เหรอว่าฉันลูกใคร”
พ่อแม่ทุกคนรักลูก แต่ถ้ารักในทางที่ผิด อันนี้มันมีมาตรวัดชัดเจน ลูกที่เป็นผลผลิตจากความรักของพ่อแม่ที่เป็นแบบนี้ มักจะก่อให้เกิดความไม่ลงตัว หรือเกิดปัญหาต่าง ๆ ในสังคม ลองสังเกตคนใกล้ตัว มันสะท้อนได้ บางทีนิสัยต่าง ๆ มันเกิดมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ซึ่งพื้นฐานมันมาจากความรัก แต่เป็นความรักแบบไหน !
ฉะนั้นต้องตั้งคำถามว่า รักถูกทางไหม รักถูกวิธีไหม มันอาจจะเข้าข่าย “พ่อแม่รังแกฉัน” โดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่