มส. ไม่มีหารือข้อวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีมาตรา 7 สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช รองโฆษก พศ. แจงกรณีโซเชียลมีเดียแชร์ข้อมูล ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีงบปฏิบัติศาสนกิจ เหมือนสมเด็จพระสังฆราชหรือไม่ ย้ำขอตรวจสอบก่อน
วันนี้ (10 มี.ค.) ที่อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ จ.นครปฐม มีการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 6/2559 โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานการประชุม โดย นายประดับ โพธิกาญจนวัตร รองโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้แถลงผลประชุม กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุม มส. ไม่ได้มีการหารือกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินมีการวินิจฉัยว่า มติ มส. ที่เสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีความอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ผิดขั้นตอนตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่ได้มีหนังสือแจ้งมายัง พศ. และ มส. อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีหนังสือแจ้งมาอย่างเป็นทางการ พศ. ก็จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะต้องรายงานต่อที่ประชุม มส. หรือไม่
“ในฐานะผู้สนองงานคณะสงฆ์ ส่วนตัวมองว่า คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองว่ามองในแง่ของกฎหมาย หรือการปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี สำหรับ มส. ยึดตามธรรมเนียมโบราณราชประเพณี และ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ที่ผ่านมา ในการเสนอตั้งสมเด็จพระราชาคณะแทน ตำแหน่งที่ว่างลงจะเริ่มจากที่ประชุม มส. พิจารณา แล้วแจ้งเรื่องต่อ พศ. เสนอไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง” นายประดับ กล่าว
รองโฆษก พศ. กล่าวต่อว่า ที่ประชุม มส. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนา 3 ชุด ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการฝ่ายปกครองของ มส. โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นประธาน กรรมการ และพระเถรานุเถระเป็นกรรมการอีก 15 รูป เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านการปกครองสงฆ์ รวมถึงช่วยพิจารณาเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ หากเกิดปัญหาด้านการปกครองสงฆ์แล้วเจ้าคณะปกครองตามลำดับชั้นไม่สามารถหาข้อยุติได้ ก็ให้เสนอมายังคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อพิจารณาและนำเสนอข้อพิจารณามายัง มส.
2.คณะกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา โดยมีพระพรหมโมลี วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการจากพระสงฆ์และผู้บริหาร พศ. อีก 14 รูป/คน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาคณะสงฆ์ และ 3. คณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการทั้งพระเถรนุเถระ ปลัดกระทรวง และอธิบดีจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 24 รูป/คน ขับเคลื่อนงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่แชร์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณการปฏิบัติพระศาสนกิจ ตามพระอัธยาศัย ที่รัฐบาล จะต้องถวายแด่ สมเด็จพระสังฆราช เป็นประจำทุกปี กว่า 20 ล้านบาท ปัจจุบันรัฐบาลจ่ายงบจำนวนดังกล่าวต่อ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช หรือไม่ นายประดับ กล่าวว่า ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช โดยธรรมเนียมปฏิบัติ รัฐบาลจะจัดงบประมาณถวายในการปฏิบัติพระศาสนกิจ ตามพระอัธยาศัยเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ส่วนตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น ตนต้องขอไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณในการปฏิบัติศาสนกิจที่รัฐบาลต้องถวายก่อนว่า มีการถวายไปหรือยัง อย่างไรก็ตาม โดยหน้าที่ตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น ก็ควรจะต้องมี เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวก็ต้องรับการโปรดเกล้าฯ มีการปฏิบัติศาสนกิจเหมือนสมเด็จพระสังฆราชทุกประการ เช่น การลงนามในพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งพระสังฆาธิการ เป็นประธานกรรมการ มส. ฯลฯ ต่างกันเพียงแต่อิสริยยศเท่านั้น ทาง พศ. จะสอบถามเรื่องนี้อีกครั้ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 มี.ค.) ที่อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ จ.นครปฐม มีการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 6/2559 โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานการประชุม โดย นายประดับ โพธิกาญจนวัตร รองโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้แถลงผลประชุม กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุม มส. ไม่ได้มีการหารือกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินมีการวินิจฉัยว่า มติ มส. ที่เสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีความอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ผิดขั้นตอนตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 เนื่องจากผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่ได้มีหนังสือแจ้งมายัง พศ. และ มส. อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีหนังสือแจ้งมาอย่างเป็นทางการ พศ. ก็จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะต้องรายงานต่อที่ประชุม มส. หรือไม่
“ในฐานะผู้สนองงานคณะสงฆ์ ส่วนตัวมองว่า คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองว่ามองในแง่ของกฎหมาย หรือการปฏิบัติตามโบราณราชประเพณี สำหรับ มส. ยึดตามธรรมเนียมโบราณราชประเพณี และ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ที่ผ่านมา ในการเสนอตั้งสมเด็จพระราชาคณะแทน ตำแหน่งที่ว่างลงจะเริ่มจากที่ประชุม มส. พิจารณา แล้วแจ้งเรื่องต่อ พศ. เสนอไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง” นายประดับ กล่าว
รองโฆษก พศ. กล่าวต่อว่า ที่ประชุม มส. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนา 3 ชุด ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการฝ่ายปกครองของ มส. โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นประธาน กรรมการ และพระเถรานุเถระเป็นกรรมการอีก 15 รูป เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านการปกครองสงฆ์ รวมถึงช่วยพิจารณาเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ หากเกิดปัญหาด้านการปกครองสงฆ์แล้วเจ้าคณะปกครองตามลำดับชั้นไม่สามารถหาข้อยุติได้ ก็ให้เสนอมายังคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อพิจารณาและนำเสนอข้อพิจารณามายัง มส.
2.คณะกรรมการฝ่ายศาสนศึกษา โดยมีพระพรหมโมลี วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นประธานกรรมการ มีกรรมการจากพระสงฆ์และผู้บริหาร พศ. อีก 14 รูป/คน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาคณะสงฆ์ และ 3. คณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการทั้งพระเถรนุเถระ ปลัดกระทรวง และอธิบดีจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 24 รูป/คน ขับเคลื่อนงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่แชร์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณการปฏิบัติพระศาสนกิจ ตามพระอัธยาศัย ที่รัฐบาล จะต้องถวายแด่ สมเด็จพระสังฆราช เป็นประจำทุกปี กว่า 20 ล้านบาท ปัจจุบันรัฐบาลจ่ายงบจำนวนดังกล่าวต่อ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช หรือไม่ นายประดับ กล่าวว่า ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช โดยธรรมเนียมปฏิบัติ รัฐบาลจะจัดงบประมาณถวายในการปฏิบัติพระศาสนกิจ ตามพระอัธยาศัยเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว ส่วนตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น ตนต้องขอไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของงบประมาณในการปฏิบัติศาสนกิจที่รัฐบาลต้องถวายก่อนว่า มีการถวายไปหรือยัง อย่างไรก็ตาม โดยหน้าที่ตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น ก็ควรจะต้องมี เนื่องจากตำแหน่งดังกล่าวก็ต้องรับการโปรดเกล้าฯ มีการปฏิบัติศาสนกิจเหมือนสมเด็จพระสังฆราชทุกประการ เช่น การลงนามในพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งพระสังฆาธิการ เป็นประธานกรรมการ มส. ฯลฯ ต่างกันเพียงแต่อิสริยยศเท่านั้น ทาง พศ. จะสอบถามเรื่องนี้อีกครั้ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่