สธ. ชงออกระเบียบเยียวยา “บุคลากรทางการแพทย์” ป่วยเจ็บตายจากการทำหน้าที่ หลังพบมีระเบียบเยียวยาแค่โรคเอดส์ ขณะที่มาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันฯ กฤษฎีกาตีความชัด ใช้ช่วยเหลือบุคลากรแพทย์ไม่ได้
จากกรณีเผยแพร่เรียงความของ น.ส.อารดา วงศ์ดีเลิศ หรือ น้องไอซ์ ที่ระบุว่า นพ.กฤษดา วงศ์ดีเลิศ ผู้เป็นบิดา เสียชีวิตด้วยการติดเชื้อจากการปั๊มหัวใจคนไข้ที่มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากไม่ได้ใส่ผ้าปิดปากและเป็นจังหวะเดียวกับที่คนไข้อาเจียนใส่ ซึ่งหลังจากนั้นไม่ได้มีการกินยาป้องกัน ส่งผลให้ต้องเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 30 ปี
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือเยียวยาบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการทางการแพทย์นั้น จะมีระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ เนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ. 2540 โดยผู้ติดเชื้อโรคเอดส์มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ กรณีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อได้รับเงินไม่เกิน 1.5 ล้านบาท คู่สมรสติดเชื้อจากบุคคลดังกล่าวได้รับไม่เกิน 5 แสนบาท บุตรติดเชื้อต่อได้รับไม่เกินคนละ 3 แสนบาท กรณีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ทายาทได้รับไม่เกิน 1 ล้านบาท
นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนกรณีการติดโรคอื่นจากการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่มีระเบียบรองรับ แต่ที่ผ่านมามีการให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ตามมาตรา 41 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความว่าไม่สามารถนำงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) มาจ่ายชดเชยให้กับบุคลากรทางการแพทย์กรณีได้รับผลกระทบจากการให้บริการได้ ต้องจ่ายเยียวยาให้เฉพาะผู้รับบริการที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น
“ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาออกระเบียบใหม่เพื่อให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบ โดยจะปรับเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือของ สปสช. ซึ่งอาจออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หรือระเบียบกระทรวงการคลัง เพื่อใช้บังคับกับทุกกระทรวงที่มีบุคลากรทางการแพทย์ หากมีระเบียบนี้ออกมาแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็จะตั้งงบประมาณสำหรับช่วยเหลือเป็นรายปี อย่าง สธ. จะตั้งงบดังกล่าวปีละ 5 - 6 ล้านบาท ซี่งปีงบประมาณ 2560 ตั้งไว้แล้ว 6 ล้านบาท ส่วนระหว่างที่ระเบียบใหม่ยังไม่มีผลบังคับใช้ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สธ. และประธานบอร์ด สปสช. ขอให้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องของ สปสช. ทำหน้าที่ต่อไปก่อน หากพบว่ามีกรณีที่ต้องให้การช่วยเหลือจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเป็นกรณีไป” ปลัด สธ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งรับผิดชอบในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้รับผลกระทบจากการให้บริการ พบว่า ในรอบ 12 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 - 2558 (ถึงเดือนพฤศภาคม) มีผู้ให้บริการทางการแพทย์ ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการให้บริการและคำร้องเข้าเกณฑ์ทั้งสิ้น 4,329 ราย แยกเป็นกรณีเสียชีวิต 23 ราย พิการ 16 ราย บาดเจ็บ 4,290 ราย รวมเป็นเงินช่วยเหลือกว่า 47 ล้านบาท โดยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไม่เกิน 400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ไม่เกิน 240,000 บาท และกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท
เมื่อพิจารณาเฉพาะปีงบประมาณ 2557 มีผู้เข้าเกณฑ์ได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน 420 ราย ประเภทความเสียหายที่มีการยื่นสูงสุด 5 อันดับ ประกอบด้วย ติดเชื้อวัณโรค 171 ราย ผู้ป่วยกระทำ 114 ราย เข็มตำโดยที่ผู้ป่วยติดเชื้อ 26 ราย และผู้ป่วยไม่ติดเชื้อ 30 ราย อุบัติเหตุรถส่งต่อ 42 ราย และสัมผัสสารคัดหลั่ง 23 ราย ประเภทผู้ให้บริการที่ยื่นสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 206 ราย ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 102 ราย นายแพทย์ 28 ราย และอื่น ๆ เช่น เภสัชกร ลูกจ้าง เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน เป็นต้น 84 ราย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากกรณีเผยแพร่เรียงความของ น.ส.อารดา วงศ์ดีเลิศ หรือ น้องไอซ์ ที่ระบุว่า นพ.กฤษดา วงศ์ดีเลิศ ผู้เป็นบิดา เสียชีวิตด้วยการติดเชื้อจากการปั๊มหัวใจคนไข้ที่มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากไม่ได้ใส่ผ้าปิดปากและเป็นจังหวะเดียวกับที่คนไข้อาเจียนใส่ ซึ่งหลังจากนั้นไม่ได้มีการกินยาป้องกัน ส่งผลให้ต้องเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 30 ปี
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือเยียวยาบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการทางการแพทย์นั้น จะมีระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ เนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ พ.ศ. 2540 โดยผู้ติดเชื้อโรคเอดส์มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ กรณีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อได้รับเงินไม่เกิน 1.5 ล้านบาท คู่สมรสติดเชื้อจากบุคคลดังกล่าวได้รับไม่เกิน 5 แสนบาท บุตรติดเชื้อต่อได้รับไม่เกินคนละ 3 แสนบาท กรณีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ทายาทได้รับไม่เกิน 1 ล้านบาท
นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนกรณีการติดโรคอื่นจากการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่มีระเบียบรองรับ แต่ที่ผ่านมามีการให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ตามมาตรา 41 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความว่าไม่สามารถนำงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) มาจ่ายชดเชยให้กับบุคลากรทางการแพทย์กรณีได้รับผลกระทบจากการให้บริการได้ ต้องจ่ายเยียวยาให้เฉพาะผู้รับบริการที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น
“ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาออกระเบียบใหม่เพื่อให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบ โดยจะปรับเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือของ สปสช. ซึ่งอาจออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หรือระเบียบกระทรวงการคลัง เพื่อใช้บังคับกับทุกกระทรวงที่มีบุคลากรทางการแพทย์ หากมีระเบียบนี้ออกมาแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็จะตั้งงบประมาณสำหรับช่วยเหลือเป็นรายปี อย่าง สธ. จะตั้งงบดังกล่าวปีละ 5 - 6 ล้านบาท ซี่งปีงบประมาณ 2560 ตั้งไว้แล้ว 6 ล้านบาท ส่วนระหว่างที่ระเบียบใหม่ยังไม่มีผลบังคับใช้ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สธ. และประธานบอร์ด สปสช. ขอให้คณะกรรมการพิจารณาคำร้องของ สปสช. ทำหน้าที่ต่อไปก่อน หากพบว่ามีกรณีที่ต้องให้การช่วยเหลือจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเป็นกรณีไป” ปลัด สธ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งรับผิดชอบในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้รับผลกระทบจากการให้บริการ พบว่า ในรอบ 12 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 - 2558 (ถึงเดือนพฤศภาคม) มีผู้ให้บริการทางการแพทย์ ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการให้บริการและคำร้องเข้าเกณฑ์ทั้งสิ้น 4,329 ราย แยกเป็นกรณีเสียชีวิต 23 ราย พิการ 16 ราย บาดเจ็บ 4,290 ราย รวมเป็นเงินช่วยเหลือกว่า 47 ล้านบาท โดยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไม่เกิน 400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ไม่เกิน 240,000 บาท และกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท
เมื่อพิจารณาเฉพาะปีงบประมาณ 2557 มีผู้เข้าเกณฑ์ได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน 420 ราย ประเภทความเสียหายที่มีการยื่นสูงสุด 5 อันดับ ประกอบด้วย ติดเชื้อวัณโรค 171 ราย ผู้ป่วยกระทำ 114 ราย เข็มตำโดยที่ผู้ป่วยติดเชื้อ 26 ราย และผู้ป่วยไม่ติดเชื้อ 30 ราย อุบัติเหตุรถส่งต่อ 42 ราย และสัมผัสสารคัดหลั่ง 23 ราย ประเภทผู้ให้บริการที่ยื่นสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 206 ราย ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 102 ราย นายแพทย์ 28 ราย และอื่น ๆ เช่น เภสัชกร ลูกจ้าง เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน เป็นต้น 84 ราย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่