xs
xsm
sm
md
lg

สธ.ตั้ง คกก.ศึกษาผลกระทบ “ทีพีพี” เอ็นจีโอจี้อย่าทำแบบรวบรัด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


สธ. ตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบทีพีพี ย้ำ ศึกษาด้วยวิธี HIA รอบคอบ รอบด้าน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม คาดได้ผลเบื้องต้นเสนอ ก.พาณิชย์ ประกอบการพิจารณาไทยเข้าร่วมทีพีพีหรือไม่ใน ก.พ. นี้ ด้านเอฟทีเอ ว็อทช์ เตรียมให้ข้อมูลร่วมวันที่ 18 ม.ค. วอนอย่ารีบเร่งศึกษา หวั่นเกิดผลกระทบระยะยาว

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านสาธารณสุขในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี (Trans-Pacific Partnership : TPP) มีปลัด สธ. เป็นประธาน และ รมว.สาธารณสุข เป็นที่ปรึกษา ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย ภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ผลกระทบของความตกลงทีพีพีต่อระบบสาธารณสุขทั้งด้านบวกและด้านลบ วิธีการและระยะเวลาการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อกระทรวงพาณิชย์ เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของความตกลงทีพีพี ภายใน ก.พ. 2559 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี และจะสามารถนำเสนอผลการศึกษาโดยละเอียดภายใน ต.ค. 2559

รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยและตระหนักถึงผลกระทบของความตกลงทีพีพีที่อาจจะส่งผลต่อระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับยา การระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ลงทุนกับรัฐภาคี การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การนำเข้าเครื่องมือแพทย์มือสอง การให้บริการข้ามแดน มาตรการสุขอนามัย ฉลากแอลกอฮอล์ ฉลากยาสูบ และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุข ส่วนข้อกังวลและความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ สธ. จะนำมาพิจารณา ซึ่งการศึกษาผลกระทบดังกล่าวจะทำอย่างรอบคอบและรอบด้าน โดยประยุกต์วิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) มาใช้ในการศึกษา และจะหารือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาสังคม และภาคเอกชนเพื่อให้ผลการศึกษาครอบคลุม รวมทั้งเสนอมาตรการรองรับและการเยียวยาผลกระทบด้านสาธารณสุข หากไทยจะต้องเข้าร่วมในความตกลงทีพีพี” ปลัด สธ. กล่าว

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้นมาศึกษาผลกระทบของทีพีพี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งทางกลุ่มจะเข้าไปให้ข้อมูลกับคณะกรรมการในวันที่ 18 ม.ค.นี้ แต่ที่กังวลคือ มีกระแสว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ อยากให้ประเทศไทยเข้าร่วมทีพีพีอย่างมาก และให้รีบศึกษาผลกระทบและออกมาตรการเยียวยาเลย จึงอยากขอฝ่ายข้าราชการว่าอย่าทำการศึกษาแบบเร่งรีบ ให้ศึกษาโดยละเอียดรอบคอบ และประเมินอย่างรอบด้าน เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนในอนาคต เพราะผลกระทบหากเกิดขึ้นนั้นจะรุนแรงและยาวนาน

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่


“ศิรินารถ ใจมั่น” เปิดภารกิจเจรจาค้าเสรี ผนึกอาเซียนเร่ง RCEP-ทำท่าทีเข้าร่วม TPP
“ศิรินารถ ใจมั่น” เปิดภารกิจเจรจาค้าเสรี ผนึกอาเซียนเร่ง RCEP-ทำท่าทีเข้าร่วม TPP
ทันทีที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นแกนนำในการผลักดันความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ได้ประกาศความสำเร็จในการเจรจาเปิดเสรีร่วมกับสมาชิก 12 ประเทศ และมีคำถามถึงประเทศไทยว่าจะมีแผนรับมือในเรื่องนี้อย่างไร ไทยจะเดินหน้าไปทางไหน เพื่อไม่ให้ไทยเสียประโยชน์ในเวทีการค้าโลก ซึ่ง “น.ส.ศิรินารถ ใจมั่น” อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดโอกาสให้สัมภาษณ์ถึงแผนการทำงานและแนวทางการรับมือ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการเจรจาการค้าเสรีของไทย
กำลังโหลดความคิดเห็น