เอ็นจีโอรับทุน สสส.เตรียมเคลื่อนไหวใหญ่ 11 ม.ค.นี้ ค้านคำสั่ง คสช.ปลดบอร์ด สสส. ชี้มีเงื่อนงำ จับตาสรรหาบอร์ด สสส.ใหม่ หวั่นสอดไส้นอมินีธุรกิจ "เหล้า-บุหรี่"
วันนี้ (7 ม.ค.) ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน ได้ออกแถลงการณ์ "ปกป้องการปฏิรูประบบสุขภาพ ส่งเสริมการกำกับตรวจสอบสสส.โดยสังคม คัดค้านกลุ่มทุนและผู้มีอำนาจยึดครองกลไกการปฏิรูประบบสุขภาพ" โดยระบุว่า ตามที่มีคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช.ที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จำนวน 7 คน ออกจากตำแหน่ง ได้แก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ รองประธานกรรมการคนที่ 2 และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 6 คน ได้แก่ นายสงกรานต์ ภาคโชคดี นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ นายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายสมพร ใช้บางยาง รศ.ประภาภัทร นิยม และนายวิเชียร พงศธร นั้น
ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน (Thai Health Promotion Movement) ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายภาคประชาชนจากทั่วประเทศ 20 เครือข่าย ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆในพื้นที่ทั่วประเทศ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของหัวหน้าคสช.เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม เนื่องจากการตรวจสอบที่ผ่านมาโดยศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) พบว่าการดำเนินงานของสสส.และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องมิได้มีการทุจริตแต่ประการใด ส่วนกรณีที่คณะกรรมการของ สสส.บางคนดำรงตำแหน่งในองค์กรที่ได้รับทุนด้วยนั้นเกิดขึ้นเนื่องด้วย พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ถูกออกแบบให้ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร สสส. ภายใต้ระเบียบการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน(COI)ที่เข้มงวด เช่น คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องไม่สามารถอนุมัติงบประมาณในองค์กรที่ตนเองเกี่ยวข้อง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ทางสังคมปัจจุบัน สสส.และคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งมี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นประธาน ได้ทำงานร่วมกับคณะทำงานของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมโดยเน้นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยได้มีการแก้ไขระเบียบข้อบังคับสสส. หลายฉบับ เน้นแก้ไขเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการ และผ่านความเห็นชอบของบอร์ดสสส.เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ให้ดำเนินการไปตามระเบียบดังกล่าวภายใน 90 วัน และคณะกรรมการของ สสส.ได้เริ่มทยอยปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้ว แต่กลับมีประกาศ มาตรา 44 ปลดบอร์ดของ สสส. อย่างมีเงื่อนงำดังกล่าว
ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชื่อว่า คำสั่งดังกล่าวจะนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการกรรมการกองทุนและแต่งตั้งผู้จัดการสสส.คนใหม่ ที่มาจากกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดกับศูนย์กลางอำนาจรัฐ และตัวแทนจากกลุ่มทุนบางกลุ่มเข้ามาเป็นคณะกรรมการและผู้จัดการ สสส. คนใหม่ เพื่อมิให้การดำเนินการของสสส. ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ ยาและอาหาร เป็นต้น สร้างผลกระทบต่อผลประโยชน์ในกิจการของตน รวมทั้งเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากกองทุนของสสส. ได้โดยปราศจากการตรวจสอบของสังคม
เพื่อปกป้องการปฏิรูประบบสุขภาพที่ได้ดำเนินการมาต่อเนื่องมานานกว่า 15 ปีโดยภาคประชาชนหลากหลายเครือข่าย ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนขอประกาศ คัดค้านคำสั่งของ คสช.ที่ปลดคณะกรรมการทั้ง 7 คนออกโดยไม่ชอบธรรม และจะดำเนินการคัดค้านการประกาศแต่งตั้งกรรมการกองทุนคณะใหม่ หากพบว่าบุคคลที่จะถูกตั้งขึ้นมานั้นเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีอำนาจ กลุ่มทุนที่ขัดขวางการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน หรือมิได้ยึดโยงกับภาคประชาชน
ทั้งนี้ ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน จะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ของตัวแทนจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2558 เพื่อประกาศแนวทางและมาตรการในการเคลื่อนไหวในกรณีดังกล่าว โดยเครือข่ายที่ตอบรับการประชุมเพื่อร่วมเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ได้แก่ ชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเด็ก เยาวชนและครอบครัว เครือข่ายงดเหล้าและบุหรี่ เครือข่ายเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch) เครือข่ายองค์กรแรงงานไทย(อรท.) เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายชาติพันธุ์และผู้มีปํญหาสถานะ เครือข่ายสุขภาวะผู้หญิง เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายหมออนามัย เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายนักวิชาการปฏิรูประบบสุขภาพ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เครือข่ายสมาคมวิศการ เครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกัน เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน
ด้านนายคำรณ ชูเดชา เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอฮอล์ กล่าวว่า คสช.ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ในเรื่องนี้เลย เพราะปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น บอร์ด สสส.ก็มีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว โดยมีมติในการปรับปรุงระเบียบ สสส. 26 ฉบับ อย่างเรื่องตำแหน่งทับซ้อนระหว่างกรรมการ สสส.และกรรมการมูลนิธิที่มารับทุนนั้น ก็แก้ไขระเบียบชัดเจนว่าให้เลือกตำแหน่งเดียวและให้ทำให้เสร็จใน 90 วัน การใช้มาตรา 44 นี้จึงมีความไม่ชอบมาพากล อาจเกิดการแทรกแซงของกลุ่มธุรกิจเหล้า บุหรี่ ยา อาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 คนใหม่ รวมถึงผู้จัดการ สสส.ด้วย
นายคำรณ กล่าวว่า จากนี้เครือข่ายจะติดตามกระบวนการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่าจะมีกระบวนการแทรกแซง สอดไส้ หรือมีนอมินีเข้ามาจากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้หรือไม่ เพราะบอร์ด สสส.มีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากเหล้าและบุหรี่ โดยวันที่ 11 ม.ค.2559 เวลา 10.00 น. ภาคประชาชนจะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจะมีท่าทีเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร ทั้งเรื่องการสรรหาบอร์ดใหม่ การแช่แข็งงบประมาณ และมาตรการทางภาษี ซึ่งจะเป็นท่าทีการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้รับทุน สสส.ทั่วประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ม.ค.) ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน ได้ออกแถลงการณ์ "ปกป้องการปฏิรูประบบสุขภาพ ส่งเสริมการกำกับตรวจสอบสสส.โดยสังคม คัดค้านกลุ่มทุนและผู้มีอำนาจยึดครองกลไกการปฏิรูประบบสุขภาพ" โดยระบุว่า ตามที่มีคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช.ที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จำนวน 7 คน ออกจากตำแหน่ง ได้แก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ รองประธานกรรมการคนที่ 2 และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 6 คน ได้แก่ นายสงกรานต์ ภาคโชคดี นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ นายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายสมพร ใช้บางยาง รศ.ประภาภัทร นิยม และนายวิเชียร พงศธร นั้น
ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน (Thai Health Promotion Movement) ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายภาคประชาชนจากทั่วประเทศ 20 เครือข่าย ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆในพื้นที่ทั่วประเทศ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของหัวหน้าคสช.เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม เนื่องจากการตรวจสอบที่ผ่านมาโดยศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.) พบว่าการดำเนินงานของสสส.และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องมิได้มีการทุจริตแต่ประการใด ส่วนกรณีที่คณะกรรมการของ สสส.บางคนดำรงตำแหน่งในองค์กรที่ได้รับทุนด้วยนั้นเกิดขึ้นเนื่องด้วย พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ถูกออกแบบให้ตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร สสส. ภายใต้ระเบียบการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน(COI)ที่เข้มงวด เช่น คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องไม่สามารถอนุมัติงบประมาณในองค์กรที่ตนเองเกี่ยวข้อง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ทางสังคมปัจจุบัน สสส.และคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งมี พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นประธาน ได้ทำงานร่วมกับคณะทำงานของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมโดยเน้นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยได้มีการแก้ไขระเบียบข้อบังคับสสส. หลายฉบับ เน้นแก้ไขเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการ และผ่านความเห็นชอบของบอร์ดสสส.เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ให้ดำเนินการไปตามระเบียบดังกล่าวภายใน 90 วัน และคณะกรรมการของ สสส.ได้เริ่มทยอยปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้ว แต่กลับมีประกาศ มาตรา 44 ปลดบอร์ดของ สสส. อย่างมีเงื่อนงำดังกล่าว
ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนเชื่อว่า คำสั่งดังกล่าวจะนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการกรรมการกองทุนและแต่งตั้งผู้จัดการสสส.คนใหม่ ที่มาจากกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดกับศูนย์กลางอำนาจรัฐ และตัวแทนจากกลุ่มทุนบางกลุ่มเข้ามาเป็นคณะกรรมการและผู้จัดการ สสส. คนใหม่ เพื่อมิให้การดำเนินการของสสส. ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ ยาและอาหาร เป็นต้น สร้างผลกระทบต่อผลประโยชน์ในกิจการของตน รวมทั้งเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากกองทุนของสสส. ได้โดยปราศจากการตรวจสอบของสังคม
เพื่อปกป้องการปฏิรูประบบสุขภาพที่ได้ดำเนินการมาต่อเนื่องมานานกว่า 15 ปีโดยภาคประชาชนหลากหลายเครือข่าย ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนขอประกาศ คัดค้านคำสั่งของ คสช.ที่ปลดคณะกรรมการทั้ง 7 คนออกโดยไม่ชอบธรรม และจะดำเนินการคัดค้านการประกาศแต่งตั้งกรรมการกองทุนคณะใหม่ หากพบว่าบุคคลที่จะถูกตั้งขึ้นมานั้นเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีอำนาจ กลุ่มทุนที่ขัดขวางการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน หรือมิได้ยึดโยงกับภาคประชาชน
ทั้งนี้ ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน จะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ของตัวแทนจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2558 เพื่อประกาศแนวทางและมาตรการในการเคลื่อนไหวในกรณีดังกล่าว โดยเครือข่ายที่ตอบรับการประชุมเพื่อร่วมเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ได้แก่ ชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเด็ก เยาวชนและครอบครัว เครือข่ายงดเหล้าและบุหรี่ เครือข่ายเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(FTA Watch) เครือข่ายองค์กรแรงงานไทย(อรท.) เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายชาติพันธุ์และผู้มีปํญหาสถานะ เครือข่ายสุขภาวะผู้หญิง เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายหมออนามัย เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายนักวิชาการปฏิรูประบบสุขภาพ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เครือข่ายสมาคมวิศการ เครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกัน เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน
ด้านนายคำรณ ชูเดชา เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอฮอล์ กล่าวว่า คสช.ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ในเรื่องนี้เลย เพราะปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น บอร์ด สสส.ก็มีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว โดยมีมติในการปรับปรุงระเบียบ สสส. 26 ฉบับ อย่างเรื่องตำแหน่งทับซ้อนระหว่างกรรมการ สสส.และกรรมการมูลนิธิที่มารับทุนนั้น ก็แก้ไขระเบียบชัดเจนว่าให้เลือกตำแหน่งเดียวและให้ทำให้เสร็จใน 90 วัน การใช้มาตรา 44 นี้จึงมีความไม่ชอบมาพากล อาจเกิดการแทรกแซงของกลุ่มธุรกิจเหล้า บุหรี่ ยา อาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 คนใหม่ รวมถึงผู้จัดการ สสส.ด้วย
นายคำรณ กล่าวว่า จากนี้เครือข่ายจะติดตามกระบวนการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่าจะมีกระบวนการแทรกแซง สอดไส้ หรือมีนอมินีเข้ามาจากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้หรือไม่ เพราะบอร์ด สสส.มีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากเหล้าและบุหรี่ โดยวันที่ 11 ม.ค.2559 เวลา 10.00 น. ภาคประชาชนจะมีการแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าจะมีท่าทีเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร ทั้งเรื่องการสรรหาบอร์ดใหม่ การแช่แข็งงบประมาณ และมาตรการทางภาษี ซึ่งจะเป็นท่าทีการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้รับทุน สสส.ทั่วประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่