xs
xsm
sm
md
lg

เริ่มต้นปีใหม่เริ่มพฤติกรรมใหม่ๆ/ผศ.ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดื่มน้ำให้เพียงพอไม่ต้องรอให้กระหาย คนส่วนใหญ่มักจะดื่มน้ำต่อเมื่อรู้สึกกระหายน้ำหรือคอแห้งหรือหลังอาหาร แต่ในความเป็นจริงแล้วการศึกษาพบว่าร่างกายเราต้องการน้ำมาหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายอยู่ตลอดการดื่มน้ำแค่ช่วงที่กระหายจะทำให้ได้รับน้ำไม่เพียงพอและร่างกายเกิดการขาดน้ำได้ อาจสังเกตได้จากปัสสาวะมีสีเข้ม มีอาการปวดหัว หากไม่ชอบดื่มน้ำเปล่าสามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำอยู่เยอะได้เช่น ผลไม้ ผัก หรือชาผลไม้ที่ไม่เติมน้ำตาล ผู้ที่ทำงานในอากาศร้อนหรือออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกเยอะยิ่งควรต้องดื่มน้ำมากขึ้นไม่จำเป็นต้องนับว่าให้ได้ 8 แก้วอาจมากกว่านั้นได้

เลือกกินโปรตีนที่ดี เช่น ไข่ เนื้อปลา ถั่ว ในยุคของการกินอาหารคลีนและยุคผู้ที่ออกกำลังกาย ที่มักจะชื่นชอบอาหารที่มีโปรตีนสูง แต่โปรตีนแต่ละชนิดก็ให้คุณค่าทางอาหารที่ไม่เหมือนกัน การที่เลือกอาหารในกลุ่มโปรตีนควรเลือกที่มีสารอาหารอย่างอื่นด้วยนอกจากโปรตีนเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ดีอื่นด้วย เช่น
-ไข่นอกจากจะมีโปรตีนสูงแล้วยังมีกรดโอเมก้า-3 ลูทีนและซีแซนทีนที่ดีต่อดวงตา มีแคลเซียม
-ปลาทะเล มีกรดไขมันโอก้า-3 ที่ดีต่อระบบประสาทและสมอง รวมถึงลดการอักเสบของร่างกาย
-ถั่ว มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหารสูง วิตามินสูง

ลดการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มอาหารจากธรรมชาติที่มีสารอาหารที่ดีสูง จากหลายการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างการกินอาหารเสริมกับการเกิดโรคมะเร็ง เช่นเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูงอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด ซีเรเนียมอจากเสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนัง ผู้ชายที่ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มวิตามินอีอาจเสียงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก กลุ่มวิตามินบีอาจเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น เปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤษเคมีที่มาจากธรรมชาติของอาหารดีกว่า


รับประทานอาหารให้หลากหลาย แม้ว่าอาหารบางชนิดจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ว่าหากเราได้รับติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเกิดโทษกับร่างกายได้เช่นกันเพราะว่าในบางครั้งเรามองแต่ตรงคุณค่าของอาหารแต่กลับไม่มองถึงสิ่งที่แฝงอยู่ด้วย เช่น ปลาทะเลแม้ว่าจะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูงแต่ก็อาจปนเปื้อนกับกลุ่มของโลหะหนักเช่นกัน เมื่อรับประทานติดต่อกันอาจทำให้เกิดโรคตามมา กลุ่มของผักพื้นบ้านหลายชนิดแม้ว่าจะมีวิตามินและแร่ธาตุบางอย่างสูงแต่อาจปนเปื้อนมากับพยาธิหรือสารเคมีตกค้างได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรกิน ผัก ผลไม้ ธัญพืชธัญชาติให้หลากหลายไม่ซ้ำกันหรือรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้ได้รับความหลากหลายและได้รับสารอาหารที่หลากหลายด้วย

ลดการกินหวาน จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2556 พบว่า คนไทยมีการบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยวันละ 25 ช้อนชาต่อคนต่อวัน ซึ่งเกินกว่าคำแนะนำที่สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ คือไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกิน วันละ 6-8 ช้อนชาต่อคน สอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดปริมาณการใช้น้ำตาลและการบริโภคไม่เกินร้อยละ 5 ต่อวัน หรือไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวันน้ำตาลแต่ละชนิดมีผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแตกต่างกันจากศึกษาใน 10 ปีที่ผ่านมาพบความเสี่ยงของพฤติกรรมการกินน้ำตาลเป็นประจำต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคอ้วน โรคอ้วนลงพุง และโรคเบาหวาน

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่



กำลังโหลดความคิดเห็น