รมว.สธ. ชูผลงานปฏิรูป ลดขัดแย้ง “สธ.- สปสช.” แก้ปัญหา อย. ขึ้นทะเบียนยาล่าช้า เล็งปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญ และเพิ่มราคาขึ้นทะเบียน ชี้ ทำงานเชิงรุก บูรณาการร่วมหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยลดเด็กจมน้ำตาย วางแผนแก้อุบัติเหตุทางถนน
วันนี้ (24 ธ.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วง 4 เดือนที่ตนเข้ามาเป็น รมว.สาธารณสุข มีการปฏิรูปใน 4 เรื่อง คือ 1. การประสานความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่าง สธ. และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งจากการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง สธ. และ สปสช. ทั้งในส่วนกลางที่มีปลัด สธ. และเลขาธิการ สปสช. เป็นประธานร่วม และส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขตสุขภาพ ที่มีผู้ตรวจราชการ สธ. และ ผอ.สปสช. เขต เป็นประธานร่วม ทำให้การทำงานมีความเข้าใจกันมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนลง การบริหารงบประมาณบัตรทองรอบใหม่อยู่ในเกณฑ์ราบรื่น ความขัดแย้งน้อยลง และจากการตั้งคณะกรรมการติดตามการประชุมร่วมของ สธ. และ สปสช. ซึ่งจะติดตามทุก 1 เดือน พบว่า ทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า 2. การปฏิรูปภายใน สธ. เอง เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเป็นหน่วยงานที่ขัดขวางความก้าวหน้าและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องไม่เป็นคอขวดในการขึ้นทะเบียนอาหารและยา โดยเฉพาะกรณีการขึ้นทะเบียนยาที่มีความล่าช้ากว่า 5,000 รายการ สาเหตุหนึ่งมาจากการพิจารณาทะเบียนยาต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณา แต่อัตราค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญนั้นต่ำมากครั้งละ 1,000 บาท ทำให้เกิดความล่าช้า มองว่าค่าขึ้นทะเบียนยาอย่างน้อยควรประมาณ 30,000 บาท และปรับอัตราค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้สูงขึ้นก็จะสามารถช่วยกำหนดระยะเวลาที่ต้องพิจารณาให้เสร็จได้ เช่น ภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับกรมบัญชีกลางในการปรับระเบียบค่าจ้าง
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า 3. การบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นภายนอกกระทรวง รวมถึงเอกชน เพื่อให้การขับเคลื่อนงานสุขภาพในมิติต่าง ๆ มีความต่อเนื่อง อย่างการส่งเสริมสมุนไพรไทยที่ต้องส่งเสริมตั้งแต่การปลูกก็ต้องร่วมกับกรมป่าไม้ การแปรรูปสมุนไพรให้ได้มาตรฐานการผลิตที่ดี ที่ต้องร่วมกับทั้งภาคเอกชน กระทรวงอุตสาหกรรม และ 4. การทำงานเชิงรุก ที่เห็นชัดเจนคือสามารถลดอัตราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำตายลงได้ หากเป็นการทำงานแบบเดิม คือ การรักษาเด็กจมน้ำ ก็จะยังคงมีเด็กจมน้ำอยู่ต่อเนื่อง แต่จากการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดทำโครงการผู้ประกอบการที่ดี ฝึกอบรมการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ การจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงต่อการจมน้ำ การสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น ก็ช่วยให้อัตราการเสียชีวิตลดลงได้ ถือเป็นการทำงานเชิงรุก หรืออย่างการลดอุบัติเหตุจราจรก็ไม่ใช่แค่รอรับการรักษาอย่างเดียว แต่ต้องมาหาสาเหตุทางระบาดวิทยาว่าเกิดจากอะไร และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็เร่งให้ดำเนินการในเรื่องนี้
“ผลงานเด่นของ สธ. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มี 6 เรื่อง คือ 1. การดูแลผู้สูงวัยติดบ้านติดเตียงอย่างมีคุณภาพ 2. หมอครอบครัวที่มี 66,000 ทีม ครอบคลุมทุกชุมชนทั่วประเทศ 3. การดำเนินงานพัฒนาการสมวัยในเด็กปฐมวัย โดยช่วยให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าลดน้อยลงจากร้อยละ 27.3 ในปี 2557 เหลือร้อยละ 21.4 4. การจัดระบบบริการที่ช่วยลดอัตราการป่วยและตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง 5. การป้องกันและยับยั้งโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ โดยเฉพาะกรณีโรคเมอร์สและอีโบลา และ 6. ผลักดันสมุนไพรไทยเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ สำหรับการทำงานของ สธ. ในปี 2559 จะไม่ใช่แค่ทำงานรูทีนไปวัน ๆ แต่จะต้องทำงานตามเป้าประสงค์ของประเทศ และของ สธ. เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หากมีปัญหาอะไรที่ทำให้ไม่ถึงเป้าหมายก็ต้องรายงาน ซึ่งไม่ใช่การจับผิด แต่จะมาช่วยกันให้ไปถึงเป้าหมาย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 ธ.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วง 4 เดือนที่ตนเข้ามาเป็น รมว.สาธารณสุข มีการปฏิรูปใน 4 เรื่อง คือ 1. การประสานความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่าง สธ. และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งจากการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง สธ. และ สปสช. ทั้งในส่วนกลางที่มีปลัด สธ. และเลขาธิการ สปสช. เป็นประธานร่วม และส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขตสุขภาพ ที่มีผู้ตรวจราชการ สธ. และ ผอ.สปสช. เขต เป็นประธานร่วม ทำให้การทำงานมีความเข้าใจกันมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนลง การบริหารงบประมาณบัตรทองรอบใหม่อยู่ในเกณฑ์ราบรื่น ความขัดแย้งน้อยลง และจากการตั้งคณะกรรมการติดตามการประชุมร่วมของ สธ. และ สปสช. ซึ่งจะติดตามทุก 1 เดือน พบว่า ทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า 2. การปฏิรูปภายใน สธ. เอง เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเป็นหน่วยงานที่ขัดขวางความก้าวหน้าและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องไม่เป็นคอขวดในการขึ้นทะเบียนอาหารและยา โดยเฉพาะกรณีการขึ้นทะเบียนยาที่มีความล่าช้ากว่า 5,000 รายการ สาเหตุหนึ่งมาจากการพิจารณาทะเบียนยาต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณา แต่อัตราค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญนั้นต่ำมากครั้งละ 1,000 บาท ทำให้เกิดความล่าช้า มองว่าค่าขึ้นทะเบียนยาอย่างน้อยควรประมาณ 30,000 บาท และปรับอัตราค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้สูงขึ้นก็จะสามารถช่วยกำหนดระยะเวลาที่ต้องพิจารณาให้เสร็จได้ เช่น ภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับกรมบัญชีกลางในการปรับระเบียบค่าจ้าง
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า 3. การบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นภายนอกกระทรวง รวมถึงเอกชน เพื่อให้การขับเคลื่อนงานสุขภาพในมิติต่าง ๆ มีความต่อเนื่อง อย่างการส่งเสริมสมุนไพรไทยที่ต้องส่งเสริมตั้งแต่การปลูกก็ต้องร่วมกับกรมป่าไม้ การแปรรูปสมุนไพรให้ได้มาตรฐานการผลิตที่ดี ที่ต้องร่วมกับทั้งภาคเอกชน กระทรวงอุตสาหกรรม และ 4. การทำงานเชิงรุก ที่เห็นชัดเจนคือสามารถลดอัตราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำตายลงได้ หากเป็นการทำงานแบบเดิม คือ การรักษาเด็กจมน้ำ ก็จะยังคงมีเด็กจมน้ำอยู่ต่อเนื่อง แต่จากการทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดทำโครงการผู้ประกอบการที่ดี ฝึกอบรมการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ การจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงต่อการจมน้ำ การสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น ก็ช่วยให้อัตราการเสียชีวิตลดลงได้ ถือเป็นการทำงานเชิงรุก หรืออย่างการลดอุบัติเหตุจราจรก็ไม่ใช่แค่รอรับการรักษาอย่างเดียว แต่ต้องมาหาสาเหตุทางระบาดวิทยาว่าเกิดจากอะไร และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็เร่งให้ดำเนินการในเรื่องนี้
“ผลงานเด่นของ สธ. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มี 6 เรื่อง คือ 1. การดูแลผู้สูงวัยติดบ้านติดเตียงอย่างมีคุณภาพ 2. หมอครอบครัวที่มี 66,000 ทีม ครอบคลุมทุกชุมชนทั่วประเทศ 3. การดำเนินงานพัฒนาการสมวัยในเด็กปฐมวัย โดยช่วยให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าลดน้อยลงจากร้อยละ 27.3 ในปี 2557 เหลือร้อยละ 21.4 4. การจัดระบบบริการที่ช่วยลดอัตราการป่วยและตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง 5. การป้องกันและยับยั้งโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ โดยเฉพาะกรณีโรคเมอร์สและอีโบลา และ 6. ผลักดันสมุนไพรไทยเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ สำหรับการทำงานของ สธ. ในปี 2559 จะไม่ใช่แค่ทำงานรูทีนไปวัน ๆ แต่จะต้องทำงานตามเป้าประสงค์ของประเทศ และของ สธ. เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หากมีปัญหาอะไรที่ทำให้ไม่ถึงเป้าหมายก็ต้องรายงาน ซึ่งไม่ใช่การจับผิด แต่จะมาช่วยกันให้ไปถึงเป้าหมาย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่