ระบบบริการสุขภาพ กทม. ปัญหาอื้อ พบประชากรมากถึง 10 ล้านคน หน่วยบริการปฐมภูมิมีน้อย ซ้ำถูกเมินไม่อยากใช้บริการ ขณะที่โรงพยาบาลมีหลายสังกัด กระจุกในตัวเมือง ระบบส่งต่อไม่เชื่อมโยง สช. เตรียมชง ครม. ตั้งบอร์ดสุขภาพเขตพื้นที่ กทม. มีผู้ว่าฯ เป็นประธาน รื้อระบบสุขภาพพื้นที่ กทม. ใหม่
วันนี้ (21 ธ.ค.) นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ประธานคณะทำงานเฉพาะประเด็นระบบสุขภาพเขตเมือง กล่าวถึงระบบบริการสุขภาพคนเมือง ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558 “สานพลังปัญญาและภาคีสร้างวิถีสุขภาวะไทย” ว่า การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ กทม. ถือว่ายังมีปัญหาและซับซ้อน เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่ต้องดูแลมากถึง 10 ล้านคน ทั้งคน กทม. เอง แรงงานต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานแบบอยู่ประจำ อยู่ชั่วคราว หรือแบบเช้าไปเย็นกลับ รวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าว ส่วนหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิถือว่ามีน้อย โดย กทม. มีศูนย์บริการสาธารณสุขเพียง 68 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดูแลทั้งหมด แม้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะสนับสนุนให้ผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าถึงบริการสุขภาพเบื้องต้นผ่านคลินิกชุมชนอบอุ่นก็ตาม
นพ.ชวินทร์ กล่าวว่า ขณะที่โรงพยาบาลในพื้นที่ กทม. แม้จะมีโรงพยาบาลสังกัด กทม. เพียง 9 แห่ง แต่ความจริงพื้นที่ กทม. มีโรงพยาบาลจำนวนมาก แต่มีต้นสังกัดหลายหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลสังกัดกองทัพต่าง ๆ สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สังกัดโรงเรียนแพทย์ ซึ่งมักจะพบผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลหรือเตียงเต็ม ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากคน กทม. ไม่เชื่อในระบบบริการปฐมภูมิ แต่เลือกไปรับบริการในระดับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่ระบบการส่งต่อของโรงพยาบาลแต่ละสังกัดในพื้นที่ กทม. ไม่ได้เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน ที่สำคัญ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังกระจุกอยู่ภายในตัวเมือง บริเวณชานเมืองนั้น ถือว่ามีน้อยมากไม่รองรับต่อการให้บริการ นอกจากนี้ การใช้สิทธิบัตรทองยังมีปัญหา โดยเฉพาะแรงงานจากต่างพื้นที่ไม่สามารถเลือกหน่วยบริการใกล้บ้านได้ เนื่องจากเต็มจำนวนที่โรงพยาบาลจะรับได้ ขณะที่บางแห่งก็ยกเลิกการเป็นคู่สัญญากับ สปสช. ทำให้ต้องเลือกหน่วยบริการที่ไกลออกไป จึงไม่คุ้มที่จะเดินทางไปใช้บริการ
“การแก้ปัญหาระบบบริการสุขภาพเขตเมือง ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการตั้งคณะกรรมการบริหารสุขภาพเขตพื้นที่ กทม. และ 12 เขตสุขภาพ ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการบริหารสุขภาพเขตพื้นที่ กทม. จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ เช่น สธ. สปสช. กทม. โรงพยาบาลสังกัดต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะมาดูแลเรื่องระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ กทม. โดยเฉพาะ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การรักษาและการฟื้นฟู รวมไปถึงระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลสังกัดต่าง ๆ ถือเป็นการสร้างระบบใหม่ให้เหมาะสม” นพ.ชวินทร์ กล่าว
นพ.ชวินทร์ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานในส่วนของ กทม. นั้น จะมีการสร้างโรงพยาบาลสังกัด กทม. ขึ้นในพื้นที่ชานเมืองอีก 2 แห่ง คือ ดอนเมือง และบางนา และขอความร่วมมือให้หมู่บ้านจัดสรรและคอนโดต่าง ๆ จดทะเบียนเป็นชุมชนขึ้นทะเบียน ซึ่งจะได้รับงบประมาณ และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผลักดันให้เกิด อสม. ขึ้นในชุมชน ช่วยให้ง่ายต่อการสื่อสารด้านสาธารณสุข การดูแลป้องกันควบคุมโรคต่าง ๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (21 ธ.ค.) นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ประธานคณะทำงานเฉพาะประเด็นระบบสุขภาพเขตเมือง กล่าวถึงระบบบริการสุขภาพคนเมือง ในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2558 “สานพลังปัญญาและภาคีสร้างวิถีสุขภาวะไทย” ว่า การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ กทม. ถือว่ายังมีปัญหาและซับซ้อน เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่ต้องดูแลมากถึง 10 ล้านคน ทั้งคน กทม. เอง แรงงานต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานแบบอยู่ประจำ อยู่ชั่วคราว หรือแบบเช้าไปเย็นกลับ รวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าว ส่วนหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิถือว่ามีน้อย โดย กทม. มีศูนย์บริการสาธารณสุขเพียง 68 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดูแลทั้งหมด แม้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะสนับสนุนให้ผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าถึงบริการสุขภาพเบื้องต้นผ่านคลินิกชุมชนอบอุ่นก็ตาม
นพ.ชวินทร์ กล่าวว่า ขณะที่โรงพยาบาลในพื้นที่ กทม. แม้จะมีโรงพยาบาลสังกัด กทม. เพียง 9 แห่ง แต่ความจริงพื้นที่ กทม. มีโรงพยาบาลจำนวนมาก แต่มีต้นสังกัดหลายหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลสังกัดกองทัพต่าง ๆ สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สังกัดโรงเรียนแพทย์ ซึ่งมักจะพบผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลหรือเตียงเต็ม ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากคน กทม. ไม่เชื่อในระบบบริการปฐมภูมิ แต่เลือกไปรับบริการในระดับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่ระบบการส่งต่อของโรงพยาบาลแต่ละสังกัดในพื้นที่ กทม. ไม่ได้เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน ที่สำคัญ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังกระจุกอยู่ภายในตัวเมือง บริเวณชานเมืองนั้น ถือว่ามีน้อยมากไม่รองรับต่อการให้บริการ นอกจากนี้ การใช้สิทธิบัตรทองยังมีปัญหา โดยเฉพาะแรงงานจากต่างพื้นที่ไม่สามารถเลือกหน่วยบริการใกล้บ้านได้ เนื่องจากเต็มจำนวนที่โรงพยาบาลจะรับได้ ขณะที่บางแห่งก็ยกเลิกการเป็นคู่สัญญากับ สปสช. ทำให้ต้องเลือกหน่วยบริการที่ไกลออกไป จึงไม่คุ้มที่จะเดินทางไปใช้บริการ
“การแก้ปัญหาระบบบริการสุขภาพเขตเมือง ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการตั้งคณะกรรมการบริหารสุขภาพเขตพื้นที่ กทม. และ 12 เขตสุขภาพ ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการบริหารสุขภาพเขตพื้นที่ กทม. จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ เช่น สธ. สปสช. กทม. โรงพยาบาลสังกัดต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะมาดูแลเรื่องระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ กทม. โดยเฉพาะ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การรักษาและการฟื้นฟู รวมไปถึงระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลสังกัดต่าง ๆ ถือเป็นการสร้างระบบใหม่ให้เหมาะสม” นพ.ชวินทร์ กล่าว
นพ.ชวินทร์ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานในส่วนของ กทม. นั้น จะมีการสร้างโรงพยาบาลสังกัด กทม. ขึ้นในพื้นที่ชานเมืองอีก 2 แห่ง คือ ดอนเมือง และบางนา และขอความร่วมมือให้หมู่บ้านจัดสรรและคอนโดต่าง ๆ จดทะเบียนเป็นชุมชนขึ้นทะเบียน ซึ่งจะได้รับงบประมาณ และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผลักดันให้เกิด อสม. ขึ้นในชุมชน ช่วยให้ง่ายต่อการสื่อสารด้านสาธารณสุข การดูแลป้องกันควบคุมโรคต่าง ๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่