ช่วงนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลายคนที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันอย่างขมักเขม้น หลายคำถามที่พูดคุยกันก็ยังสะท้อนปัญหาเดิม ๆ ของระบบการศึกษาบ้านเรา และวิธีคิดของเด็กรุ่นนี้ที่ไม่แตกต่างจากรุ่นก่อน ๆ เท่าใดนัก คือยังไม่รู้ว่าจะสอบเข้าคณะไหนดี ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนอะไร ที่หนักไปกว่านั้นก็คือเด็กตอบว่าคณะอะไรก็ได้ขอให้สอบติดละกัน
นี่คือ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กไทยจำนวนมากที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบไม่รู้จักตัวเอง หรือเลือกคณะที่ไม่เหมาะกับตัวเอง บางคนเรียนจนจบปริญญาตรี พอจบออกมาก็หงุดหงิดตัวเองอีกต่างหากว่าทำไมถึงเลือกเรียนคณะนี้ สุดท้ายเมื่อทำงานก็ไม่ได้ทำในสิ่งที่เรียนมา
คำถามคือ ทำไมปัญหานี้ยังคงอยู่ ?
และนับวันปัญหานี้ก็จะมีแต่มากขึ้น ?
ทั้งที่ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาในบ้านเรามีมาเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว
แต่ดูเหมือนนอกจากปัญหาเรื่องการเลือกแผนการเรียนที่ไม่ได้เหมาะกับตัวเองแล้ว ปัญหาที่หนักหน่วงยิ่งกว่าก็คือ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในบ้านเรายิ่งถ่างและห่างมากขึ้นทุกขณะ
เนื่องจากได้มีโอกาสไปที่มหานครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน แม้จะเป็นการไปเยือนช่วงสั้น ๆ และไปเพียง 2 สถาบันระดับอุดมศึกษาเท่านั้น คือ ECNU : East China Normal University กับ Fudan แต่ก็ทำให้มีโอกาสได้เสาะแสวงหาข้อมูลเรื่องปฏิรูปการศึกษาในจีนมาพอสมควร โดยเฉพาะในด้านการสร้างบุคคลากรด้านครู เพราะที่ ECNU เน้นทางด้านสร้างครูบาอาจารย์ไปสอนนักเรียนนักศึกษาต่อ คล้าย ๆ กับสถาบันราชภัฎของเราในอดีต
พบว่าเซี่ยงไฮ้มีความพยายามปฏิรูปการศึกษามาโดยตลอด แม้จะล้มลุกคลุกคลาน มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว แต่ด้วยความเอาจริงเอาจังและทิศทางแน่วแน่ของภาครัฐ ส่งผลให้ภายใน 3 ปี เซี่ยงไฮ้สามารถ “ลดช่องว่าง” และ “เพิ่มคุณภาพ” ได้ผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพอใจ
เซี่ยงไฮ้มีการจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นการศึกษาที่รัฐบาลจัดให้ฟรี โดยระบุให้นักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนในเขตพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ ครูในเซี่ยงไฮ้มีวุฒิปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ และต้องผ่านการฝึกอบรมในโรงเรียนเฉพาะทางเป็นเวลา 1 ปี เมื่อเป็นครูแล้ว ต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาการเรียนการสอนเป็นเวลา 360 ชั่วโมงต่อปี
จำได้ว่าตัวเองเคยได้ไปร่วมเป็นพิธีกรเมื่อปีที่แล้วในงาน “อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” จัดโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งได้มีการนำผลสำรวจของ OECD (ผู้จัดการทดสอบ PISA) ในการจัดอันดับระบบการศึกษาที่มีความเท่าเทียมกันทางคุณภาพของโรงเรียน มีทั้งหมด 65 ประเทศ
การศึกษาครั้งนั้น พบว่า เซี่ยงไฮ้มีระบบการศึกษาอันดับ 1 ของโลก ทั้งผลการสอบและในแง่ความเท่าเทียมทางคุณภาพของโรงเรียนมากที่สุด จึงถูกจัดอันดับว่าเป็นระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดช่องว่างคุณภาพระหว่างสถานศึกษาภายใน 3 ปี ทำให้เด็กส่วนใหญ่มีสัมฤทธิผลทางการศึกษาใกล้เคียงกันได้
ที่หยิบยกการศึกษาขั้นพื้นฐานของเซี่ยงไฮ้มาเปรียบก็เพราะเมื่อก่อนเขาก็มีสภาพปัญหาคล้ายคลึงบ้านเราในขณะนี้ เช่น
หนึ่ง - ความไม่เท่าเทียมกัน โรงเรียนในชนบทและโรงเรียนในเมืองเซี่ยงไฮ้มีความแตกต่างกันมากในด้านคุณภาพ
สอง - ค่านิยมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ต้องการให้ลูกเข้าเรียนในโรงเรียนดี ๆ มีชื่อเสียง
สาม - นักเรียนเรียนหนักและมีการบ้านมาก แม้ว่าผลคะแนน PISA ของเซี่ยงไฮ้จะสูง ซึ่งถือว่าคุณภาพการศึกษาของเซี่ยงไฮ้อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม แต่นักเรียนก็ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และทำการบ้านมาก ทำให้บางครั้งไม่มีเวลาในการพักผ่อนเพียงพอ และเกิดความตึงเครียด
สี่ - นักเรียนขาดทักษะในการปฏิบัติจริง เนื่องมาจากการต้องใช้เวลาเรียนและทำการบ้านมากเกินไป ทำให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยเกิดความท้อแท้ ไม่สนใจการเรียน จึงขาดโอกาสในการฝึกทักษะการคิดและลงมือทำด้วยตนเอง
ทั้ง 4 ข้อเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของปัญหาที่คล้ายคลึงกับบ้านเราในขณะนี้ และเขาก็เห็นปัญหาจึงได้เกิดการปฏิรูปการศึกษา
โดยในช่วง 10 ปีแรก เซี่ยงไฮ้มุ่งปฏิรูปโรงเรียนที่ไม่ได้มาตรฐาน เน้นการจัดสรรทรัพยากร ครุภัณฑ์อย่างเพียงพอ รวมถึงเน้นให้นักเรียนเข้าเรียนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม พร้อมทั้งส่งเสริมการปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปการเรียนการสอนโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น
ต่อมาระยะที่ 2 (10 ปีต่อมา) มีการพัฒนาทักษะวิชาชีพของคณะครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพครูมืออาชีพ รวมถึงส่งเสริมความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และเร่งแก้ปัญหา 3 แนวทาง ได้แก่
แนวทางแรก - สร้างโครงการโรงเรียนคุณภาพดี
ทุกโรงเรียนในเซี่ยงไฮ้ต้องมีคุณภาพ เด็กทุกคนต้องเก่ง และครูทุกคนต้องเป็นครูที่ดี โดยในระยะแรก ส่วนกลางจะระบุโรงเรียนที่มีปัญหา จากนั้นจัดสรรงบประมาณ บุคลากรครู และจัดทำโครงการเพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียนเหล่านั้น แต่โครงการนี้ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาในองค์รวมเท่าใดนัก ระยะหลังจึงดำเนินโครงการโดยให้ทุกโรงเรียนเสนอปัญหาที่ตนพบด้วยตนเอง และรัฐบาลจะจัดส่งทีมงานเข้าไปช่วยเหลืออย่างตรงจุด
แนวทางที่สอง - โครงการจับคู่โรงเรียนที่เข้มแข็งกับโรงเรียนที่อ่อนแอ
โรงเรียนที่อยู่ใจกลางเมืองในเซี่ยงไฮ้จะมีคุณภาพสูง ส่วนโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล เช่น บริเวณชนบทจะมีคุณภาพต่ำ แนวทางก็คือจับคู่ระหว่างโรงเรียนที่มีคุณภาพสูงและโรงเรียนคุณภาพต่ำ เพื่อให้โรงเรียนที่เข้มแข็งช่วยเหลือโรงเรียนที่อ่อนแอทั้งด้านการบริหาร ทรัพยากร บุคลากร ฯลฯ รัฐบาลจะให้งบประมาณสำหรับดำเนินโครงการ และส่งคณะทำงานเข้าไปประเมินผลการพัฒนา ถ้าไม่ได้ผล ก็จะเปลี่ยนให้โรงเรียนที่เข้มแข็งแห่งอื่นเข้าช่วยเหลือต่อไป
แนวทางที่สาม - โครงการประเมินดัชนีสีเขียว
ในอดีตการศึกษาของจีนเน้นไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยและการประกอบอาชีพที่ดี แต่ปัจจุบัน การศึกษาของจีนหันมาเน้นที่ “ความสุข” ในปัจจุบันของนักเรียนเป็นหลัก โดยได้กำหนดดัชนีชี้วัด 10 ประการที่ครอบคลุมปัจจัยแห่งความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งหมด หากนักเรียนมีผลการเรียนดีแต่ไม่มีความสุขในการเรียน ก็ถือว่าไม่ผ่านการประเมิน
ในขณะที่มองย้อนกลับมาบ้านเรา ก็จะพบว่าแนวทางการแก้ปัญหาในบ้านเรายังคงแก้ปัญหาเป็นท่อน ๆ เมื่อเด็กเรียนหนักก็ลดจำนวนชั่วโมงลง เมื่อการบ้านเด็กเยอะก็ให้ครูลดการบ้านลง เมื่อข้อสอบโอเน็ตยากก็สั่งแก้ข้อสอบกันไป ฯลฯ
ที่ผ่านมา ผู้นำและผู้บริหารในบ้านเราไม่เคยสามารถแก้ปัญหาที่ระบบได้ แต่ยังคงเลือกแก้ปัญหาเป็นส่วน ๆ และขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารที่เปลี่ยนแปลงบ่อยมาก
การเริ่มต้นของปัญหาอาจพอ ๆ กัน แต่สิ่งที่เขาวัดฝีมือกันคือการแก้ปัญหาต่างหาก !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นี่คือ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กไทยจำนวนมากที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบไม่รู้จักตัวเอง หรือเลือกคณะที่ไม่เหมาะกับตัวเอง บางคนเรียนจนจบปริญญาตรี พอจบออกมาก็หงุดหงิดตัวเองอีกต่างหากว่าทำไมถึงเลือกเรียนคณะนี้ สุดท้ายเมื่อทำงานก็ไม่ได้ทำในสิ่งที่เรียนมา
คำถามคือ ทำไมปัญหานี้ยังคงอยู่ ?
และนับวันปัญหานี้ก็จะมีแต่มากขึ้น ?
ทั้งที่ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาในบ้านเรามีมาเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว
แต่ดูเหมือนนอกจากปัญหาเรื่องการเลือกแผนการเรียนที่ไม่ได้เหมาะกับตัวเองแล้ว ปัญหาที่หนักหน่วงยิ่งกว่าก็คือ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในบ้านเรายิ่งถ่างและห่างมากขึ้นทุกขณะ
เนื่องจากได้มีโอกาสไปที่มหานครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน แม้จะเป็นการไปเยือนช่วงสั้น ๆ และไปเพียง 2 สถาบันระดับอุดมศึกษาเท่านั้น คือ ECNU : East China Normal University กับ Fudan แต่ก็ทำให้มีโอกาสได้เสาะแสวงหาข้อมูลเรื่องปฏิรูปการศึกษาในจีนมาพอสมควร โดยเฉพาะในด้านการสร้างบุคคลากรด้านครู เพราะที่ ECNU เน้นทางด้านสร้างครูบาอาจารย์ไปสอนนักเรียนนักศึกษาต่อ คล้าย ๆ กับสถาบันราชภัฎของเราในอดีต
พบว่าเซี่ยงไฮ้มีความพยายามปฏิรูปการศึกษามาโดยตลอด แม้จะล้มลุกคลุกคลาน มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว แต่ด้วยความเอาจริงเอาจังและทิศทางแน่วแน่ของภาครัฐ ส่งผลให้ภายใน 3 ปี เซี่ยงไฮ้สามารถ “ลดช่องว่าง” และ “เพิ่มคุณภาพ” ได้ผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพอใจ
เซี่ยงไฮ้มีการจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นการศึกษาที่รัฐบาลจัดให้ฟรี โดยระบุให้นักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนในเขตพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ ครูในเซี่ยงไฮ้มีวุฒิปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ และต้องผ่านการฝึกอบรมในโรงเรียนเฉพาะทางเป็นเวลา 1 ปี เมื่อเป็นครูแล้ว ต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาการเรียนการสอนเป็นเวลา 360 ชั่วโมงต่อปี
จำได้ว่าตัวเองเคยได้ไปร่วมเป็นพิธีกรเมื่อปีที่แล้วในงาน “อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” จัดโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งได้มีการนำผลสำรวจของ OECD (ผู้จัดการทดสอบ PISA) ในการจัดอันดับระบบการศึกษาที่มีความเท่าเทียมกันทางคุณภาพของโรงเรียน มีทั้งหมด 65 ประเทศ
การศึกษาครั้งนั้น พบว่า เซี่ยงไฮ้มีระบบการศึกษาอันดับ 1 ของโลก ทั้งผลการสอบและในแง่ความเท่าเทียมทางคุณภาพของโรงเรียนมากที่สุด จึงถูกจัดอันดับว่าเป็นระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดช่องว่างคุณภาพระหว่างสถานศึกษาภายใน 3 ปี ทำให้เด็กส่วนใหญ่มีสัมฤทธิผลทางการศึกษาใกล้เคียงกันได้
ที่หยิบยกการศึกษาขั้นพื้นฐานของเซี่ยงไฮ้มาเปรียบก็เพราะเมื่อก่อนเขาก็มีสภาพปัญหาคล้ายคลึงบ้านเราในขณะนี้ เช่น
หนึ่ง - ความไม่เท่าเทียมกัน โรงเรียนในชนบทและโรงเรียนในเมืองเซี่ยงไฮ้มีความแตกต่างกันมากในด้านคุณภาพ
สอง - ค่านิยมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ต้องการให้ลูกเข้าเรียนในโรงเรียนดี ๆ มีชื่อเสียง
สาม - นักเรียนเรียนหนักและมีการบ้านมาก แม้ว่าผลคะแนน PISA ของเซี่ยงไฮ้จะสูง ซึ่งถือว่าคุณภาพการศึกษาของเซี่ยงไฮ้อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม แต่นักเรียนก็ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และทำการบ้านมาก ทำให้บางครั้งไม่มีเวลาในการพักผ่อนเพียงพอ และเกิดความตึงเครียด
สี่ - นักเรียนขาดทักษะในการปฏิบัติจริง เนื่องมาจากการต้องใช้เวลาเรียนและทำการบ้านมากเกินไป ทำให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยเกิดความท้อแท้ ไม่สนใจการเรียน จึงขาดโอกาสในการฝึกทักษะการคิดและลงมือทำด้วยตนเอง
ทั้ง 4 ข้อเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของปัญหาที่คล้ายคลึงกับบ้านเราในขณะนี้ และเขาก็เห็นปัญหาจึงได้เกิดการปฏิรูปการศึกษา
โดยในช่วง 10 ปีแรก เซี่ยงไฮ้มุ่งปฏิรูปโรงเรียนที่ไม่ได้มาตรฐาน เน้นการจัดสรรทรัพยากร ครุภัณฑ์อย่างเพียงพอ รวมถึงเน้นให้นักเรียนเข้าเรียนในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม พร้อมทั้งส่งเสริมการปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปการเรียนการสอนโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น
ต่อมาระยะที่ 2 (10 ปีต่อมา) มีการพัฒนาทักษะวิชาชีพของคณะครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพครูมืออาชีพ รวมถึงส่งเสริมความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และเร่งแก้ปัญหา 3 แนวทาง ได้แก่
แนวทางแรก - สร้างโครงการโรงเรียนคุณภาพดี
ทุกโรงเรียนในเซี่ยงไฮ้ต้องมีคุณภาพ เด็กทุกคนต้องเก่ง และครูทุกคนต้องเป็นครูที่ดี โดยในระยะแรก ส่วนกลางจะระบุโรงเรียนที่มีปัญหา จากนั้นจัดสรรงบประมาณ บุคลากรครู และจัดทำโครงการเพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียนเหล่านั้น แต่โครงการนี้ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาในองค์รวมเท่าใดนัก ระยะหลังจึงดำเนินโครงการโดยให้ทุกโรงเรียนเสนอปัญหาที่ตนพบด้วยตนเอง และรัฐบาลจะจัดส่งทีมงานเข้าไปช่วยเหลืออย่างตรงจุด
แนวทางที่สอง - โครงการจับคู่โรงเรียนที่เข้มแข็งกับโรงเรียนที่อ่อนแอ
โรงเรียนที่อยู่ใจกลางเมืองในเซี่ยงไฮ้จะมีคุณภาพสูง ส่วนโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล เช่น บริเวณชนบทจะมีคุณภาพต่ำ แนวทางก็คือจับคู่ระหว่างโรงเรียนที่มีคุณภาพสูงและโรงเรียนคุณภาพต่ำ เพื่อให้โรงเรียนที่เข้มแข็งช่วยเหลือโรงเรียนที่อ่อนแอทั้งด้านการบริหาร ทรัพยากร บุคลากร ฯลฯ รัฐบาลจะให้งบประมาณสำหรับดำเนินโครงการ และส่งคณะทำงานเข้าไปประเมินผลการพัฒนา ถ้าไม่ได้ผล ก็จะเปลี่ยนให้โรงเรียนที่เข้มแข็งแห่งอื่นเข้าช่วยเหลือต่อไป
แนวทางที่สาม - โครงการประเมินดัชนีสีเขียว
ในอดีตการศึกษาของจีนเน้นไปที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยและการประกอบอาชีพที่ดี แต่ปัจจุบัน การศึกษาของจีนหันมาเน้นที่ “ความสุข” ในปัจจุบันของนักเรียนเป็นหลัก โดยได้กำหนดดัชนีชี้วัด 10 ประการที่ครอบคลุมปัจจัยแห่งความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งหมด หากนักเรียนมีผลการเรียนดีแต่ไม่มีความสุขในการเรียน ก็ถือว่าไม่ผ่านการประเมิน
ในขณะที่มองย้อนกลับมาบ้านเรา ก็จะพบว่าแนวทางการแก้ปัญหาในบ้านเรายังคงแก้ปัญหาเป็นท่อน ๆ เมื่อเด็กเรียนหนักก็ลดจำนวนชั่วโมงลง เมื่อการบ้านเด็กเยอะก็ให้ครูลดการบ้านลง เมื่อข้อสอบโอเน็ตยากก็สั่งแก้ข้อสอบกันไป ฯลฯ
ที่ผ่านมา ผู้นำและผู้บริหารในบ้านเราไม่เคยสามารถแก้ปัญหาที่ระบบได้ แต่ยังคงเลือกแก้ปัญหาเป็นส่วน ๆ และขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารที่เปลี่ยนแปลงบ่อยมาก
การเริ่มต้นของปัญหาอาจพอ ๆ กัน แต่สิ่งที่เขาวัดฝีมือกันคือการแก้ปัญหาต่างหาก !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่