xs
xsm
sm
md
lg

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนมื้ออาหารอาจทำให้อ้วนได้ง่าย / ผศ.ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

เข้าช่วงเทศกาลปลายปีเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและปาร์ตี้ต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมมากก็หนีไม่พ้นกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนมื้ออาหารจะเสี่ยงต่อการทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้มากกว่า

The Aperitif Effect หรือผลของการได้รับแอลกอฮอล์ต่อการตอบสนองต่อกลิ่นของอาหาร การศึกษาวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของหลายชาติในกลุ่มทางตะวันตกพบว่ามีความนิยมในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ก่อนมื้ออาหาร โดยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีส่วนช่วยเพื่อเพิ่มความอยากอาหารและทำให้ได้กลิ่นของอาหารรวมถึงรสชาติอาหารที่อร่อยมากยิ่งขี้น ส่งผลให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ได้รับพลังงานมากขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก จากการศึกษากลุ่มผู้หญิงวัยทำงานจำนวน 35 คนที่มีน้ำหนักปกติ โดยให้กลุ่มหนึ่งได้รับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนมื้ออาหารกับอีกกลุ่มหนึ่งได้รับน้ำเปล่า และทดสอบดูการตอบสนองต่อกลิ่น รสชาติ และปริมาณการรับประทานอาหารในมื้อนั้น พบว่ากลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะได้กลิ่นของอาหารมากกว่า เกิดความอยากอาหารมากกว่า และรับประทานอาหารจำนวนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำเปล่าและมากกว่าปริมาณปกติที่รับประทาน

นอกจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนมื้ออาหารจะส่งผลให้ได้รับพลังงานจากอาหารเพิ่มมากขึ้น ตัวเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เองก็ยังให้ปริมาณของน้ำตาลที่เพิ่มเติมทำให้ได้รับพลังงานมากขึ้นนอกจากมื้ออาหารเองด้วย

ตัวอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาณและพลังงาน

ข้อแนะนำในการดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้หญิงดื่มได้วันละไม่เกิน 1 ดริงก์ ผู้ชายดื่มได้วันละไม่เกิน 2 ดริงก์ คำว่า 1 ดริงก์ เช่น ไวน์ดื่มได้ครึ่งแก้ว หรือถ้าเบียร์ดื่มได้ 1 กระป๋อง หรือเหล้าแดง/เหล้าขาว 1 เป๊ก (45 ซีซี) หรือสุราพื้นเมือง ประมาณ 300 ซีซี และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่างเนื่องจากจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงและต่ำลงเร็ว โดยเร็วซึ่งอาจอันตรายโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้สูงอายุ

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่



กำลังโหลดความคิดเห็น