เตรียมเชิญ สสส. ให้ข้อมูลกำหนดทิศทางงานสุขภาพ 3 พ.ย. ด้าน “หมอยงยุทธ” ชี้ นิยาม “สุขภาพ” ไม่ต้องแก้ไข เป็นสากลอยู่แล้ว แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัด ห้ามแตะการเมือง ขณะที่ “อานนท์” พร้อมให้ตรวจสอบการวิพากษ์ สสส. ยันทำโดยสุจริต ไร้ธุรกิจใดว่าจ้างโจมตี
วันนี้ (30 ต.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการบริหารจัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และกำหนดแนวทางแก้ไขให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ที่มี นพ.เสรี ตู้จินดา เป็นประธานคณะกรรมการ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จ โดยวันที่ 3 พ.ย. นี้ คณะกรรมการจะเชิญทางผู้แทนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้นจะรวบรวมข้อมูล ซึ่งคาดว่าใช้เวลาไม่นานนัก
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ (บอร์ด) สสส. กล่าวว่า ประเด็นที่เกิดขึ้นกับ สสส. หากมองในแง่ดีถือเป็นโอกาสทำให้สังคมเข้าใจการทำงานของ สสส.มากขึ้น เพราะเมื่อมีการตั้งคำถามถึงการบริหาร การพิจารณาอนุมัติโครงการต่าง ๆ ทาง สสส. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องก็ออกมาชี้แจงให้เข้าใจมากขึ้น เช่น กรณีทักท้วงเรื่องกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนในการพิจารณาโครงการหรือไม่ ตนยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะระบบใน สสส.นั้น ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือกรรมการใดจะมีส่วนในการพิจารณาและอนุมัติโครงการ จะมีระบบตรวจสอบและจะให้ลงชื่อยืนยันว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเกี่ยวกับโครงการหรือผู้ขอโครงการนั้น ๆ ซึ่งระบบนี้เกิดขึ้นในยุคของ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานบอร์ด สสส. หลังจากเคยทักท้วงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมาก่อน
“ผมว่าการตรวจสอบเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่หลายคนมีคำถามเรื่องคำนิยามคำว่า “สุขภาพ” นั้น ผมว่าไม่ต้องแก้ไขคำว่าสุขภาพ เพราะนิยามเป็นหลักสากล ทั้งองค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็ใช้คำนิยามเดียวกัน คือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต และสังคม มองว่าควรกำหนดขอบเขตมากกว่า” นพ.ยงยุทธ กล่าวและว่า ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 สสส. สนับสนุนโครงการเกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น สามารถอธิบายได้ อาจมีบ้างเล็กน้อยที่ไม่เกี่ยว ซึ่งอย่างที่มีข่าวว่าเป้นเรื่องการเมือง หากเป็นเช่นนั้นก็ควรมีการกำหนดขอบเขตเลยว่าโครงการใดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือโครงการใดอาจไปเกี่ยวกับการเมืองก็ต้องมาหาข้อยุติว่า ไม่ควรสนับสนุนหรือไม่
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงกรณีเครือข่ายสุขภาพฯ ร้องให้ผู้บริหารนิด้าตรวจสอบการแสดงออกของตน กรณีคัดค้านคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของ สสส. ที่มี รศ.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ว่า ในฐานะนักวิชาการแสดงออกทางความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่มีอะไรแอบแฝง หากเรียกร้องให้มีการตรวจสอบก็พร้อมและยินดี เนื่องจากยึดหลักการ 3 ข้อ คือ 1. ทำโดยสุจริตใจ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่เคยได้รับการว่าจ้างจากบริษัทหรือธุรกิจใด ๆ 2. ทำบนพื้นฐานวิชาการ และการเปิดเผยข้อมูลก็เป็นไปตามหลักการของผลสอบที่นำเสนอโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และ 3. ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะงบประมาณเป็นของแผ่นดิน
“การที่ผมออกมาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงบประมาณ การสนับสนุนงบให้แก่โครงการต่าง ๆ ของ สสส. ก็เป็นสิทธิที่ทำได้ ส่วนเรื่องที่ผมมองว่า สสส. มีเรื่องธรรมาภิบาล ก็เพราะมองว่ากรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนมีชื่ออยู่ในมูลนิธิที่รับทุน ซึ่งตรงนี้เป็นผลสอบของ สตง. การที่ผมแสดงความคิดเห็นก็อยู่บนพื้นฐานข้อมูล จึงไม่เข้าใจว่า หากเรามีความเห็นที่แตกต่าง และต้องการให้ สสส. มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และมีทิศทางที่ควรจะเป็นนั้นไม่ได้หรืออย่างไร” ดร.อานนท์ กล่าว
ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศ.นพ.ประกิตน่าจะเข้าใจผิด เพราะที่ผ่านมาตนไม่เคยแสดงความคิดเรื่อง สสส. เลย มีแต่เมื่อครั้งงานสัมมนาวิชาการกฎหมายการแพทย์ที่ตนพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งผลประโยชน์ทับซ้อนในประเทศไทยก็เป็นไปอย่างที่ ศ.นพ.ประกิต ว่า ไว้ คือ มีผู้เชี่ยวชาญในการทำงานแต่ละด้านน้อย แต่ปัจจุบันมองว่าสังคมไทยขยายใหญ่ขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น การให้ทุนเฉพาะคนที่รู้จักกันก่อนก็ถือเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นอาจทำงานได้ดีกว่าก็เป็นได้ ถือเป็นการตัดโอกาส ทั้งนี้ มองว่า คนใน สสส. ต้องเรียนรู้เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนให้มากขึ้น เพื่อสร้างวัฒนธรรมการตื่นรู้ในองค์กร คนในต้องทราบก่อนเพื่อบริหารจัดการอย่างไรไมให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนวิธีการที่ทำให้ไม่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนก็ต้องอาศัยหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเดินสายกลาง วิธีคิดมีเหตุมีผล
“ไม่ว่า สสส. จะมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ก็ตาม สสส. ยังต้องปฏิรูปและปรับปรุงการทำงานใน 2 เรื่อง คือ 1. ต้องมีผังสุขภาพในการทำงาน โดยอิงพื้นฐานข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น 5 ปีข้างหน้าจะต้องไม่มีคนเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมีโอกาสสำเร็จสูง หาก สสส.พยายามป้องกันไม่ให้คนป่วยโรคนี้ได้ เพราะมีงานวิจัยที่ชัดเจนออกมาแล้วว่า หากสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้คนถ่ายอุจจาระในท้องนาได้ การเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ตับจะลดลงจาก 30% เหลือเพียง 2% เท่านั้น เป็นต้น 2. ต้องมีงานวิจัยว่ารูปแบบการดำเนินงานใดที่ดีที่สุดและต้องทำให้เกิดการเรียนรู้” ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการหารือกับทางเครือข่ายสุขภาพต่างๆ ทั้ง น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค น.ส.สุภัทรา นาคะผิว และ น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ร่วมกันทำจดหมายใช้สิทธิร้องเรียนตามกฎหมายโดยสุจริตต่อนายกสภานิด้า และส่งสำเนาถึงอธิการบดีสถาบันนิด้า และคณบดีสถาบันนิด้า เพื่อให้สอบสวนจริยธรรมและพิจารณาลงโทษ ดร.อานนท์ หากมีความผิดจริง ตามที่ ดร.อานนท์ ได้นำข้อมูลเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยเผยแพร่ผ่าน facebook ของตนเอง กล่าวหาบุคคลองค์กรจำนวนมาก โดยใช้ถ้อยคำดูถูก ดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติ เป็นการกระทำไม่เหมาะสมกับตำแหน่งอาจารย์ หรือนักวิชาการของสถาบันนิด้า โดยที่ไม่ได้มีการสอบถาม หาข้อเท็จจริง หรือขอข้อมูล จากบุคคลองค์กรกลุ่มที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญมีอคติโดยที่ไม่เคยรู้จักหรือโกรธเคืองกันมาก่อน และยังเขียนบทความนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ พูดกล่าวหาในเวทีสาธารณะ โดยไม่มีการตรวจสอบ ในหลายการกระทำ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 ต.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการบริหารจัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และกำหนดแนวทางแก้ไขให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ที่มี นพ.เสรี ตู้จินดา เป็นประธานคณะกรรมการ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จ โดยวันที่ 3 พ.ย. นี้ คณะกรรมการจะเชิญทางผู้แทนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม จากนั้นจะรวบรวมข้อมูล ซึ่งคาดว่าใช้เวลาไม่นานนัก
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ (บอร์ด) สสส. กล่าวว่า ประเด็นที่เกิดขึ้นกับ สสส. หากมองในแง่ดีถือเป็นโอกาสทำให้สังคมเข้าใจการทำงานของ สสส.มากขึ้น เพราะเมื่อมีการตั้งคำถามถึงการบริหาร การพิจารณาอนุมัติโครงการต่าง ๆ ทาง สสส. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องก็ออกมาชี้แจงให้เข้าใจมากขึ้น เช่น กรณีทักท้วงเรื่องกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนในการพิจารณาโครงการหรือไม่ ตนยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะระบบใน สสส.นั้น ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือกรรมการใดจะมีส่วนในการพิจารณาและอนุมัติโครงการ จะมีระบบตรวจสอบและจะให้ลงชื่อยืนยันว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเกี่ยวกับโครงการหรือผู้ขอโครงการนั้น ๆ ซึ่งระบบนี้เกิดขึ้นในยุคของ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานบอร์ด สสส. หลังจากเคยทักท้วงเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมาก่อน
“ผมว่าการตรวจสอบเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่หลายคนมีคำถามเรื่องคำนิยามคำว่า “สุขภาพ” นั้น ผมว่าไม่ต้องแก้ไขคำว่าสุขภาพ เพราะนิยามเป็นหลักสากล ทั้งองค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็ใช้คำนิยามเดียวกัน คือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต และสังคม มองว่าควรกำหนดขอบเขตมากกว่า” นพ.ยงยุทธ กล่าวและว่า ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 สสส. สนับสนุนโครงการเกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น สามารถอธิบายได้ อาจมีบ้างเล็กน้อยที่ไม่เกี่ยว ซึ่งอย่างที่มีข่าวว่าเป้นเรื่องการเมือง หากเป็นเช่นนั้นก็ควรมีการกำหนดขอบเขตเลยว่าโครงการใดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือโครงการใดอาจไปเกี่ยวกับการเมืองก็ต้องมาหาข้อยุติว่า ไม่ควรสนับสนุนหรือไม่
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงกรณีเครือข่ายสุขภาพฯ ร้องให้ผู้บริหารนิด้าตรวจสอบการแสดงออกของตน กรณีคัดค้านคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของ สสส. ที่มี รศ.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน ว่า ในฐานะนักวิชาการแสดงออกทางความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่มีอะไรแอบแฝง หากเรียกร้องให้มีการตรวจสอบก็พร้อมและยินดี เนื่องจากยึดหลักการ 3 ข้อ คือ 1. ทำโดยสุจริตใจ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่เคยได้รับการว่าจ้างจากบริษัทหรือธุรกิจใด ๆ 2. ทำบนพื้นฐานวิชาการ และการเปิดเผยข้อมูลก็เป็นไปตามหลักการของผลสอบที่นำเสนอโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และ 3. ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะงบประมาณเป็นของแผ่นดิน
“การที่ผมออกมาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงบประมาณ การสนับสนุนงบให้แก่โครงการต่าง ๆ ของ สสส. ก็เป็นสิทธิที่ทำได้ ส่วนเรื่องที่ผมมองว่า สสส. มีเรื่องธรรมาภิบาล ก็เพราะมองว่ากรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนมีชื่ออยู่ในมูลนิธิที่รับทุน ซึ่งตรงนี้เป็นผลสอบของ สตง. การที่ผมแสดงความคิดเห็นก็อยู่บนพื้นฐานข้อมูล จึงไม่เข้าใจว่า หากเรามีความเห็นที่แตกต่าง และต้องการให้ สสส. มีการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และมีทิศทางที่ควรจะเป็นนั้นไม่ได้หรืออย่างไร” ดร.อานนท์ กล่าว
ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศ.นพ.ประกิตน่าจะเข้าใจผิด เพราะที่ผ่านมาตนไม่เคยแสดงความคิดเรื่อง สสส. เลย มีแต่เมื่อครั้งงานสัมมนาวิชาการกฎหมายการแพทย์ที่ตนพูดถึงเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งผลประโยชน์ทับซ้อนในประเทศไทยก็เป็นไปอย่างที่ ศ.นพ.ประกิต ว่า ไว้ คือ มีผู้เชี่ยวชาญในการทำงานแต่ละด้านน้อย แต่ปัจจุบันมองว่าสังคมไทยขยายใหญ่ขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้น การให้ทุนเฉพาะคนที่รู้จักกันก่อนก็ถือเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่นอาจทำงานได้ดีกว่าก็เป็นได้ ถือเป็นการตัดโอกาส ทั้งนี้ มองว่า คนใน สสส. ต้องเรียนรู้เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนให้มากขึ้น เพื่อสร้างวัฒนธรรมการตื่นรู้ในองค์กร คนในต้องทราบก่อนเพื่อบริหารจัดการอย่างไรไมให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนวิธีการที่ทำให้ไม่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนก็ต้องอาศัยหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเดินสายกลาง วิธีคิดมีเหตุมีผล
“ไม่ว่า สสส. จะมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ก็ตาม สสส. ยังต้องปฏิรูปและปรับปรุงการทำงานใน 2 เรื่อง คือ 1. ต้องมีผังสุขภาพในการทำงาน โดยอิงพื้นฐานข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น 5 ปีข้างหน้าจะต้องไม่มีคนเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมีโอกาสสำเร็จสูง หาก สสส.พยายามป้องกันไม่ให้คนป่วยโรคนี้ได้ เพราะมีงานวิจัยที่ชัดเจนออกมาแล้วว่า หากสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้คนถ่ายอุจจาระในท้องนาได้ การเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ตับจะลดลงจาก 30% เหลือเพียง 2% เท่านั้น เป็นต้น 2. ต้องมีงานวิจัยว่ารูปแบบการดำเนินงานใดที่ดีที่สุดและต้องทำให้เกิดการเรียนรู้” ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการหารือกับทางเครือข่ายสุขภาพต่างๆ ทั้ง น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค น.ส.สุภัทรา นาคะผิว และ น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ร่วมกันทำจดหมายใช้สิทธิร้องเรียนตามกฎหมายโดยสุจริตต่อนายกสภานิด้า และส่งสำเนาถึงอธิการบดีสถาบันนิด้า และคณบดีสถาบันนิด้า เพื่อให้สอบสวนจริยธรรมและพิจารณาลงโทษ ดร.อานนท์ หากมีความผิดจริง ตามที่ ดร.อานนท์ ได้นำข้อมูลเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยเผยแพร่ผ่าน facebook ของตนเอง กล่าวหาบุคคลองค์กรจำนวนมาก โดยใช้ถ้อยคำดูถูก ดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติ เป็นการกระทำไม่เหมาะสมกับตำแหน่งอาจารย์ หรือนักวิชาการของสถาบันนิด้า โดยที่ไม่ได้มีการสอบถาม หาข้อเท็จจริง หรือขอข้อมูล จากบุคคลองค์กรกลุ่มที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญมีอคติโดยที่ไม่เคยรู้จักหรือโกรธเคืองกันมาก่อน และยังเขียนบทความนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ พูดกล่าวหาในเวทีสาธารณะ โดยไม่มีการตรวจสอบ ในหลายการกระทำ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่