กรมควบคุมโรคเตือนช่วงหลังออกพรรษาเกิดอุบัติเหตุจากพลุ ประทัดมากที่สุด เฉลี่ยปีละเกือบ 700 ราย บาดเจ็บที่มือและข้อมือมากสุด ชี้กลุ่มเด็กและเยาวชนน่าห่วง แนะวิธีป้องกัน
วันนี้ (26 ต.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รักษาการอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลออกพรรษาจะมีงานบุญ หรืองานประเพณีตามหมู่บ้านต่าง ๆ โดยมักพบว่าจะมีร้านค้านำดอกไม้ไฟ ประทัด และพลุมาจำหน่าย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยาในการเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกเปลว หรือสะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุ จากโรงพยาบาลเครือข่าย 33 แห่ง ในปี 2553 - 2557 พบว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะซื้อมาเล่นโดยขาดความระมัดระวัง และเกิดอุบัติเหตุจากการระเบิดของดอกไม้ไฟ หรือประทัดมากที่สุด ทั้งบาดเจ็บและอาจสูญเสียอวัยวะสำคัญ ซึ่งบางรายรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดหรือนิ้วขาดได้ คือ มีจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมด 3,456 ราย เฉลี่ยปีละ 691 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 10 ราย ในปี 2555 บาดเจ็บ 793 ราย เสียชีวิต 4 ราย สูงที่สุดในรอบ 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มอายุที่พบบ่อย คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15 - 19 ปี และ อายุ 5 - 9 ปี อาชีพที่ได้รับบาดเจ็บสูงสุด คือ นักเรียน/นักศึกษา นอกจากนี้ ยังพบว่า ต.ค. หรือช่วงเทศกาลวันออกพรรษา เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด เวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 16.00 - 19.59 น. สถานที่เกิดเหตุเป็นบ้านและบริเวณบ้านมากที่สุด รองลงมาคือ นา ไร่ สวน ส่วนอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ มือและข้อมือ รองลงมาคือ ศีรษะ และบริเวณดวงตา สุดท้ายพบว่ามีผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วยถึง 24%
นพ.อำนวย กล่าวว่า มาตรการในการป้องกันในกลุ่มเด็กและเยาวชน คือ 1. เด็กต้องได้รับการสอนจากผู้ปกครองและจำไว้เสมอว่าดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ ไม่ใช่ของเล่นและเป็นอันตรายสำหรับเด็ก 2. สำคัญที่สุด คือ ห้ามเด็กจุดดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุเองเด็ดขาด และ 3.ไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้บริเวณที่มีการจุดดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุ สำหรับในกลุ่มผู้ใหญ่ คือ 1. จุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ อย่างถูกวิธีตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด 2. ควรเล่นในที่โล่ง ราบ ห่างไกลจากบ้านเรือน ใบไม้แห้ง และวัตถุไวไฟ 3. ตรวจสอบให้มั่นใจว่าคนอื่นอยู่ห่างจากดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุเพียงพอ 4. ห้ามพยายามจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ ที่จุดแล้วไม่ติดหรือไม่ระเบิดอย่างเด็ดขาด และเตรียมถังน้ำไว้ 1 ถัง ใกล้ตัวเสมอเวลาเล่น เพื่อใช้ดับเพลิง หรือดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุ ที่จุดแล้วไม่ระเบิด และ 5. อย่าทดลองหรือทำดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุเอง ที่สำคัญไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้วมาจุดเล่น เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บได้ง่าย หากประชาชนพบเห็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากการจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ ขอให้รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ โทร. 1669
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ต.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รักษาการอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลออกพรรษาจะมีงานบุญ หรืองานประเพณีตามหมู่บ้านต่าง ๆ โดยมักพบว่าจะมีร้านค้านำดอกไม้ไฟ ประทัด และพลุมาจำหน่าย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยาในการเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกเปลว หรือสะเก็ดดอกไม้ไฟหรือพลุ จากโรงพยาบาลเครือข่าย 33 แห่ง ในปี 2553 - 2557 พบว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะซื้อมาเล่นโดยขาดความระมัดระวัง และเกิดอุบัติเหตุจากการระเบิดของดอกไม้ไฟ หรือประทัดมากที่สุด ทั้งบาดเจ็บและอาจสูญเสียอวัยวะสำคัญ ซึ่งบางรายรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดหรือนิ้วขาดได้ คือ มีจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมด 3,456 ราย เฉลี่ยปีละ 691 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 10 ราย ในปี 2555 บาดเจ็บ 793 ราย เสียชีวิต 4 ราย สูงที่สุดในรอบ 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มอายุที่พบบ่อย คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15 - 19 ปี และ อายุ 5 - 9 ปี อาชีพที่ได้รับบาดเจ็บสูงสุด คือ นักเรียน/นักศึกษา นอกจากนี้ ยังพบว่า ต.ค. หรือช่วงเทศกาลวันออกพรรษา เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด เวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 16.00 - 19.59 น. สถานที่เกิดเหตุเป็นบ้านและบริเวณบ้านมากที่สุด รองลงมาคือ นา ไร่ สวน ส่วนอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ มือและข้อมือ รองลงมาคือ ศีรษะ และบริเวณดวงตา สุดท้ายพบว่ามีผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วยถึง 24%
นพ.อำนวย กล่าวว่า มาตรการในการป้องกันในกลุ่มเด็กและเยาวชน คือ 1. เด็กต้องได้รับการสอนจากผู้ปกครองและจำไว้เสมอว่าดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ ไม่ใช่ของเล่นและเป็นอันตรายสำหรับเด็ก 2. สำคัญที่สุด คือ ห้ามเด็กจุดดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุเองเด็ดขาด และ 3.ไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้บริเวณที่มีการจุดดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุ สำหรับในกลุ่มผู้ใหญ่ คือ 1. จุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ อย่างถูกวิธีตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด 2. ควรเล่นในที่โล่ง ราบ ห่างไกลจากบ้านเรือน ใบไม้แห้ง และวัตถุไวไฟ 3. ตรวจสอบให้มั่นใจว่าคนอื่นอยู่ห่างจากดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุเพียงพอ 4. ห้ามพยายามจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ ที่จุดแล้วไม่ติดหรือไม่ระเบิดอย่างเด็ดขาด และเตรียมถังน้ำไว้ 1 ถัง ใกล้ตัวเสมอเวลาเล่น เพื่อใช้ดับเพลิง หรือดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุ ที่จุดแล้วไม่ระเบิด และ 5. อย่าทดลองหรือทำดอกไม้ไฟ ประทัดหรือพลุเอง ที่สำคัญไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้วมาจุดเล่น เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บได้ง่าย หากประชาชนพบเห็นผู้ได้รับบาดเจ็บจากการจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ ขอให้รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ โทร. 1669
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่