หมอเตือนผู้ปกครองเลี่ยงใช้ยา “ไอบูโพรเฟน” ลดไข้ลูก ช่วงไข้เลือดออกระบาด เหตุทำให้เกล็ดเลือดไม่แข็งตัว เป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย ทำให้อาการแย่ลง แนะใช้ยาพาราฯ ช่วงไข้สูง พ่วงเช็ดตัวป้องกันผลข้างเคียง พร้อมเฝ้าระวังอาการขาดน้ำ
นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2558 ถือว่ามีการระบาดอย่างหนัก โดยเฉพาะช่วงเดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าสถานการณ์จะเริ่มทุเลาลง แต่จากสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกช้ากว่าปกติทำให้สถานการณ์ระบาดยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วประเทศพบผู้ป่วยใหม่ 5-6 พันรายในแต่ละสัปดาห์ ทั้งนี้ มีข้อควรระวังสำหรับผู้ปกครอง เมื่อพบเด็กป่วยในช่วงนี้ โดยเฉพาะมีไข้ นอกจากยาแอสไพรินที่ควรหลีกเลี่ยงแล้ว กลุ่มยาไอบูโพรเฟนซึ่งเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มลดการอักเสบ (NSAIDs) ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วย เพราะแม้ยากลุ่มไอบูโพรเฟนจะช่วยลดไข้สูงได้ดี แต่ทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เป็นแผลในกระเพาะได้ง่าย อาจทำให้เกิดเลือดออกได้ และยังทำให้เกล็ดเลือดไม่แข็งตัวซึ่งหากเป็นไข้เลือดออกจะทำให้อาการแย่ลงได้
“ยากลุ่มไอบูโพรเฟนจะลดไข้ได้ดี หากเกิดจากไวรัสชนิดอื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ แต่จะมีผลกระทบหากเป็นไวรัสเด็งกี หรือไข้เลือดออก เนื่องจากผลข้างเคียงของยา ดังนั้น ในช่วงที่มีการระบาดสูงหากเด็กมีไข้สูงสามารถใช้ยากลุ่มพาราเซตามอลในการลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัวช่วยลดไข้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยาไว้ก่อน ซึ่งการให้ยาพาราฯ ก็ควรให้เฉพาะช่วงไข้สูง เพื่อไม่ให้กระทบต่อตับ ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการขาดน้ำ หากเด็กอาเจียน ไม่สามารถกินได้ หรือดื่มน้ำไม่ได้ กระหายน้ำตลอดเวลา ถือเป็นอาการที่ต้องระวังเพราะอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ ทำให้เด็กที่มีอาการขาดน้ำมักจะมีอาการของโรคที่รุนแรงมากกว่าด้วย โดยไข้เลือดออกถือเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาและต้องรักษาตามอาการ” นพ.นิพนธ์กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2558 ถือว่ามีการระบาดอย่างหนัก โดยเฉพาะช่วงเดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าสถานการณ์จะเริ่มทุเลาลง แต่จากสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกช้ากว่าปกติทำให้สถานการณ์ระบาดยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วประเทศพบผู้ป่วยใหม่ 5-6 พันรายในแต่ละสัปดาห์ ทั้งนี้ มีข้อควรระวังสำหรับผู้ปกครอง เมื่อพบเด็กป่วยในช่วงนี้ โดยเฉพาะมีไข้ นอกจากยาแอสไพรินที่ควรหลีกเลี่ยงแล้ว กลุ่มยาไอบูโพรเฟนซึ่งเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มลดการอักเสบ (NSAIDs) ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วย เพราะแม้ยากลุ่มไอบูโพรเฟนจะช่วยลดไข้สูงได้ดี แต่ทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เป็นแผลในกระเพาะได้ง่าย อาจทำให้เกิดเลือดออกได้ และยังทำให้เกล็ดเลือดไม่แข็งตัวซึ่งหากเป็นไข้เลือดออกจะทำให้อาการแย่ลงได้
“ยากลุ่มไอบูโพรเฟนจะลดไข้ได้ดี หากเกิดจากไวรัสชนิดอื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ แต่จะมีผลกระทบหากเป็นไวรัสเด็งกี หรือไข้เลือดออก เนื่องจากผลข้างเคียงของยา ดังนั้น ในช่วงที่มีการระบาดสูงหากเด็กมีไข้สูงสามารถใช้ยากลุ่มพาราเซตามอลในการลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัวช่วยลดไข้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยาไว้ก่อน ซึ่งการให้ยาพาราฯ ก็ควรให้เฉพาะช่วงไข้สูง เพื่อไม่ให้กระทบต่อตับ ทั้งนี้ ควรเฝ้าระวังอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการขาดน้ำ หากเด็กอาเจียน ไม่สามารถกินได้ หรือดื่มน้ำไม่ได้ กระหายน้ำตลอดเวลา ถือเป็นอาการที่ต้องระวังเพราะอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ ทำให้เด็กที่มีอาการขาดน้ำมักจะมีอาการของโรคที่รุนแรงมากกว่าด้วย โดยไข้เลือดออกถือเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาและต้องรักษาตามอาการ” นพ.นิพนธ์กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่