อภ. จ่อออกสมุดปกขาวชี้แจงแดนสนธยา 4 เรื่อง หวังกอบกู้ภาพลักษณ์ ปัญหาการบริหารงานภายใน สร้างความมั่นใจให้ประชาชนกินยาไทย เน้นพาราเซตามอล หลังเกิดกรณีข่าวปนเปื้อน ตอบทุกข้อคถามสร้างโรงงานวัคซีนหวัดใหญ่/หวัดนก โรงงานยารังสิตล่าช้า
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึงกรณีบุคคลภายนอกมักมอง อภ. เป็นแดนสนธยา โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการภายในที่ดูเหมือนมีปัญหามาโดยตลอด ว่า พันธกิจหลักของ อภ. คือ ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาคุณภาพ และราคาไม่แพงเกินไป ซึ่งที่ผ่านมามองว่าทำได้ดีแล้ว แต่สิ่งที่จะดำเนินการเพิ่มเติมคือเรื่องการกอบกู้ภาพลักษณ์ จากนี้จะต้องเร่งสร้างความมั่นใจในการใช้ยาของ อภ. และการบริหารจัดการภายใน ทั้งนี้ ตนจะรวมรวมข้อมูลทำเป็นสมุดปกขาวชี้แจงใน 4 เรื่อง เพื่อคลี่คลายข้อข้องใจให้แก่สังคม ประกอบด้วย 1. โรคงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก จ.สระบุรี ที่ล่าช้าเป็นเวลากว่า 1 ปี เบื้องต้นทราบสาเหตุว่า เกิดจากการพัฒนาโรงงานให้ผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็นได้ด้วยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก จากเดิมที่ตั้งใจสร้างโรงงานผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตาย เพราะสามารถผลิตได้มากกว่า 10 เท่า เป็นการรองรับหากเกิดกรณีระบาด จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี รวมไปถึงการตอกเสาเข็มแล้วเจอหิน ต้องยกฐานโครงสร้างใหม่ก็ยิ่งล่าช้า ประกอบกับปัญหาน้ำท่วมก็ยิ่งยืดออกไป
“หลังน้ำท่วมมีความพยายามในการเสนอ ครม. เพื่อพิจารณา แต่ล่าสุดขณะนี้ได้ผ่าน ครม. แล้ว แต่ขั้นตอนยังไม่จบ ต้องมีการหารือกับบริษัท เบื้องต้นทางบริษัทจะขอเข้าไปตั้งแคมป์เพื่อก่อสร้างต่อ แต่ผมต้องขอดูหนังสืออย่างเป็นทางการก่อน คาดว่า จะเข้าไปทำงานต่อได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนสาเหตุของความล่าช้าจะมีอะไรนอกเหนือจากนี้ ผมกำลังรวบรวมอยู่” ผอ.อภ. กล่าว
นพ.นพพร กล่าวว่า 2. โรงงานยารังสิต ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาทั่วไปอีกแห่ง นอกเหนือจากโรงงานพระรามหก โดยพบปัญหาความล่าช้าจากการติดระบบปรับอากาศ ขณะนี้อยู่ระหว่างคุยกับบริษัทว่าจะดำเนินการอย่างไร คาดว่า 2 - 3 เดือน จะเปิดไลน์การผลิตได้ 3. น้ำเกลือ ที่ซื้อมาตั้งแต่น้ำท่วม ขณะนี้ยังเหลืออยู่บ้าง ก็จะพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ และ 4. ปัญหาวัตถุดิบยาพาราเซตามอลที่มีข่าวว่าปนเปื้อนนั้น จากการตรวจสอบไม่พบสารเจือปน และยังมีคุณภาพเช่นเดิม โดยวัตถุดิบดังกล่าวอยู่ในคลังประมาณ 70 ตัน สามารถผลิตเป็นยาที่มีคุณภาพได้ สิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนมั่นใจ ขณะนี้เตรียมจัดแคมเปญรณรงค์ใช้ยาไทย ยา อภ. โดยจะมีการปรับปรุงแพคเกจ รูปแบบของยาพาราฯใหม่ เพื่อทำการตลาดด้วย
“ผมอยากทำการตลาดยาพาราฯ โดยลดราคาให้โรงพยาบาลรัฐในการสั่งซื้อ ปัญหาคือ ทีมกฎหมายกังวลว่า หาก อภ. ลดราคายาดังกล่าว จะขัดต่อระเบียบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือไม่ ซึ่งจะมีการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะต้องการทำทุกอย่างอย่างถูกต้อง ทังนี้ 4 เรื่องดังกล่าวถือเป็นคำถามที่เกิดขึ้น เราจะต้องหาคำตอบที่ชัดเจน และให้เห็นว่า อภ. มีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส เพราะแม้แต่เงินส่วนต่างที่ให้ รพ. ของ อภ. ก็ไม่มีการให้อีก แต่หากเป็นงบประมาณด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ยังมีการดำเนินการ เช่น โรงพยาบาลที่เป็นคู่ค้าจะได้รับการพิจารณาโครงการกิจกรรมเพื่อสังคม อย่างการส่งเสริมผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว” นพ.นพพร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึงกรณีบุคคลภายนอกมักมอง อภ. เป็นแดนสนธยา โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการภายในที่ดูเหมือนมีปัญหามาโดยตลอด ว่า พันธกิจหลักของ อภ. คือ ทำให้ประชาชนเข้าถึงยาคุณภาพ และราคาไม่แพงเกินไป ซึ่งที่ผ่านมามองว่าทำได้ดีแล้ว แต่สิ่งที่จะดำเนินการเพิ่มเติมคือเรื่องการกอบกู้ภาพลักษณ์ จากนี้จะต้องเร่งสร้างความมั่นใจในการใช้ยาของ อภ. และการบริหารจัดการภายใน ทั้งนี้ ตนจะรวมรวมข้อมูลทำเป็นสมุดปกขาวชี้แจงใน 4 เรื่อง เพื่อคลี่คลายข้อข้องใจให้แก่สังคม ประกอบด้วย 1. โรคงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก จ.สระบุรี ที่ล่าช้าเป็นเวลากว่า 1 ปี เบื้องต้นทราบสาเหตุว่า เกิดจากการพัฒนาโรงงานให้ผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็นได้ด้วยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก จากเดิมที่ตั้งใจสร้างโรงงานผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตาย เพราะสามารถผลิตได้มากกว่า 10 เท่า เป็นการรองรับหากเกิดกรณีระบาด จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี รวมไปถึงการตอกเสาเข็มแล้วเจอหิน ต้องยกฐานโครงสร้างใหม่ก็ยิ่งล่าช้า ประกอบกับปัญหาน้ำท่วมก็ยิ่งยืดออกไป
“หลังน้ำท่วมมีความพยายามในการเสนอ ครม. เพื่อพิจารณา แต่ล่าสุดขณะนี้ได้ผ่าน ครม. แล้ว แต่ขั้นตอนยังไม่จบ ต้องมีการหารือกับบริษัท เบื้องต้นทางบริษัทจะขอเข้าไปตั้งแคมป์เพื่อก่อสร้างต่อ แต่ผมต้องขอดูหนังสืออย่างเป็นทางการก่อน คาดว่า จะเข้าไปทำงานต่อได้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนสาเหตุของความล่าช้าจะมีอะไรนอกเหนือจากนี้ ผมกำลังรวบรวมอยู่” ผอ.อภ. กล่าว
นพ.นพพร กล่าวว่า 2. โรงงานยารังสิต ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาทั่วไปอีกแห่ง นอกเหนือจากโรงงานพระรามหก โดยพบปัญหาความล่าช้าจากการติดระบบปรับอากาศ ขณะนี้อยู่ระหว่างคุยกับบริษัทว่าจะดำเนินการอย่างไร คาดว่า 2 - 3 เดือน จะเปิดไลน์การผลิตได้ 3. น้ำเกลือ ที่ซื้อมาตั้งแต่น้ำท่วม ขณะนี้ยังเหลืออยู่บ้าง ก็จะพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ และ 4. ปัญหาวัตถุดิบยาพาราเซตามอลที่มีข่าวว่าปนเปื้อนนั้น จากการตรวจสอบไม่พบสารเจือปน และยังมีคุณภาพเช่นเดิม โดยวัตถุดิบดังกล่าวอยู่ในคลังประมาณ 70 ตัน สามารถผลิตเป็นยาที่มีคุณภาพได้ สิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนมั่นใจ ขณะนี้เตรียมจัดแคมเปญรณรงค์ใช้ยาไทย ยา อภ. โดยจะมีการปรับปรุงแพคเกจ รูปแบบของยาพาราฯใหม่ เพื่อทำการตลาดด้วย
“ผมอยากทำการตลาดยาพาราฯ โดยลดราคาให้โรงพยาบาลรัฐในการสั่งซื้อ ปัญหาคือ ทีมกฎหมายกังวลว่า หาก อภ. ลดราคายาดังกล่าว จะขัดต่อระเบียบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือไม่ ซึ่งจะมีการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะต้องการทำทุกอย่างอย่างถูกต้อง ทังนี้ 4 เรื่องดังกล่าวถือเป็นคำถามที่เกิดขึ้น เราจะต้องหาคำตอบที่ชัดเจน และให้เห็นว่า อภ. มีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส เพราะแม้แต่เงินส่วนต่างที่ให้ รพ. ของ อภ. ก็ไม่มีการให้อีก แต่หากเป็นงบประมาณด้านกิจกรรมเพื่อสังคม ยังมีการดำเนินการ เช่น โรงพยาบาลที่เป็นคู่ค้าจะได้รับการพิจารณาโครงการกิจกรรมเพื่อสังคม อย่างการส่งเสริมผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว” นพ.นพพร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่