คนไทยซัดยาพาราฯ เฉลี่ย 100 เม็ดต่อคนต่อปี เร่งปรับปริมาณยาเม็ดสูตรเดี่ยวก่อน เหลือแค่ 325 มก. และ 500 มก. เหตุในท้องตลาดมีหลายขนาดทำประชาชนงง ย้ำกินยาต้องดูตามขนาดตัว
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ข้อมูลการผลิตและนำเข้ายาพาราเซตามอลเฉพาะสูตรเดี่ยวในประเทศไทย ปี 2555 มีจำนวน 5,100 ล้านเม็ด ปี 2556 ลดลงเหลือประมาณ 4,500 ล้านเม็ด ส่วนปริมาณการใช้ยาในปีหนึ่งๆ คนไทยบริโภคยาพาราเซตามอลเฉลี่ยคนละเกือบ 100 เม็ดต่อปี ถือเป็นปริมาณที่สูงมาก อีกทั้งจำนวนนี้ยังพบว่าร้อยละ 97 เป็นยาพาราฯ ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด แม้จะยังไม่มีรายงานอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง แต่ก็มีรายงานความเป็นพิษที่สอดคล้องไปในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน ส่วนข้อมูลการใช้ยาดังกล่าวในปี 2557 ต้องรอสรุปผลภายใน มี.ค. นี้
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า การบริโภคยาพาราฯ เกินขนาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยมีการจำหน่ายยาพาราฯ หลายสูตรมาก ทั้งชนิดเม็ด ชนิดน้ำ ชนิดหยดสำหรับทารก ดังนั้น สำนักยา อย. ได้มีการหารือร่วมกันเพื่อปรับปรุงตำรับยาพาราฯ ชนิดเม็ดสูตรเดี่ยวให้เหลือเพียง 2 ขนาดคือ 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด และ 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนจากเดิมที่มียาพาราฯ ในท้องตลาดขนาด 80, 120, 160, 300, 325, 500, 600 มิลลิกรัมต่อเม็ด โดยในประเภทยาขนาด 600 มิลลิกรัมต่อเม็ดยังแบ่งย่อยออกเป็นชนิดปลดปล่อยทันที และชนิดที่ค่อยๆ ปล่อยฤทธิ์ออกมาสำหรับคนที่มีปัญหาลืมกินยาบ่อยๆ ด้วยตรงนี้ทำให้เกิดความสับสนค่อนข้างมาก
“อย. จะเคลียร์ยาพาราฯสูตรเดี่ยวก่อน แล้วตามด้วยสูตรผสม เพราะมีปัญหาเรื่องกินยาซ้ำซ้อนกัน และหลังจากนั้นก็จะเคลียร์ชนิดน้ำ ชนิดหยดสำหรับทารก รวมไปถึงอุปกรณ์ตวงวัด และคำแนะนำเรื่องการใช้ยาพาราฯ อย่างเหมาะสมตามลำดับต่อไป” รองเลขาธิการ อย.กล่าวและว่า สำหรับช่วงนี้สภาพอากาศเมืองไทยเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้คนไม่สบายเป็นหวัดมากขึ้น คนที่รับประทานยาแก้หวัดต้องอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วน ดูปริมาณยาพาราฯ ว่าเกินขนาดหรือไม่ จากนั้นลองคำนวณกับน้ำหนักตัวเอง ซึ่งปริมาณยาที่เหมาะสมคือ 10 - 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และอย่ารับประทานติดต่อกันเกิน 3 วัน ส่วนผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ข้อมูลการผลิตและนำเข้ายาพาราเซตามอลเฉพาะสูตรเดี่ยวในประเทศไทย ปี 2555 มีจำนวน 5,100 ล้านเม็ด ปี 2556 ลดลงเหลือประมาณ 4,500 ล้านเม็ด ส่วนปริมาณการใช้ยาในปีหนึ่งๆ คนไทยบริโภคยาพาราเซตามอลเฉลี่ยคนละเกือบ 100 เม็ดต่อปี ถือเป็นปริมาณที่สูงมาก อีกทั้งจำนวนนี้ยังพบว่าร้อยละ 97 เป็นยาพาราฯ ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด แม้จะยังไม่มีรายงานอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง แต่ก็มีรายงานความเป็นพิษที่สอดคล้องไปในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน ส่วนข้อมูลการใช้ยาดังกล่าวในปี 2557 ต้องรอสรุปผลภายใน มี.ค. นี้
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า การบริโภคยาพาราฯ เกินขนาด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทยมีการจำหน่ายยาพาราฯ หลายสูตรมาก ทั้งชนิดเม็ด ชนิดน้ำ ชนิดหยดสำหรับทารก ดังนั้น สำนักยา อย. ได้มีการหารือร่วมกันเพื่อปรับปรุงตำรับยาพาราฯ ชนิดเม็ดสูตรเดี่ยวให้เหลือเพียง 2 ขนาดคือ 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด และ 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนจากเดิมที่มียาพาราฯ ในท้องตลาดขนาด 80, 120, 160, 300, 325, 500, 600 มิลลิกรัมต่อเม็ด โดยในประเภทยาขนาด 600 มิลลิกรัมต่อเม็ดยังแบ่งย่อยออกเป็นชนิดปลดปล่อยทันที และชนิดที่ค่อยๆ ปล่อยฤทธิ์ออกมาสำหรับคนที่มีปัญหาลืมกินยาบ่อยๆ ด้วยตรงนี้ทำให้เกิดความสับสนค่อนข้างมาก
“อย. จะเคลียร์ยาพาราฯสูตรเดี่ยวก่อน แล้วตามด้วยสูตรผสม เพราะมีปัญหาเรื่องกินยาซ้ำซ้อนกัน และหลังจากนั้นก็จะเคลียร์ชนิดน้ำ ชนิดหยดสำหรับทารก รวมไปถึงอุปกรณ์ตวงวัด และคำแนะนำเรื่องการใช้ยาพาราฯ อย่างเหมาะสมตามลำดับต่อไป” รองเลขาธิการ อย.กล่าวและว่า สำหรับช่วงนี้สภาพอากาศเมืองไทยเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้คนไม่สบายเป็นหวัดมากขึ้น คนที่รับประทานยาแก้หวัดต้องอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วน ดูปริมาณยาพาราฯ ว่าเกินขนาดหรือไม่ จากนั้นลองคำนวณกับน้ำหนักตัวเอง ซึ่งปริมาณยาที่เหมาะสมคือ 10 - 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และอย่ารับประทานติดต่อกันเกิน 3 วัน ส่วนผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่