แพทยสภายันไม่เอา ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับผลกระทบบริการสาธารณสุข ชี้ เพิ่มการฟ้องร้อง ใช้งบประมาณมาก เบียดบังงบรักษาพยาบาล หวั่นส่งผลมาตรฐานรักษา เสนอแก้ ม.44 พ.ร.บ.หลักประกันฯ ขยายความคุ้มครองครบ 3 กองทุน พร้อมค้านตั้งสภาประกันสุขภาพฯ
วันนี้ (6 ส.ค.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา แถลงข่าวเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ที่เสนอโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการเยียวยาผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่เกิดความผลกระทบจากการบริการทางสาธารณสุขอย่างเป็นธรรมได้จริง ที่สำคัญ อาจสร้างปัญหาใหม่ตามมามากมาย เช่น ชักนำก่อให้เกิดกระแสการฟ้องร้องต่อบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น ทำให้บุคลากรสาธารณสุขที่ขณะนี้แม้ว่าภาระงานจะมาก หรือล้นมือ แต่ก็มุ่งหวังให้ผู้ป่วยหายจากโรค ก็จะเปลี่ยนทัศนคติไปเป็นการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ตนเองถูกจับผิดและถูกฟ้องร้องตามที่เป็นไปในเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วยเอง
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างภาระงบประมาณของชาติอย่างใหญ่หลวง เพราะกองทุนนี้จะมีการใช้เงินจำนวนมหาศาลในเวลาไม่นาน โดยเงินในกองทุนเป็นก้อนเดียวกับที่รัฐบาลต้องนำไปใช้ดูแลรักษาผู้ป่วย หมายความว่า กองทุนจะดูดเงินที่ใช้ช่วยชีวิตและรักษาผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพออกไป ซึ่งอาจกระทบมาตรฐานการรักษาพยาบาลและส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเองเช่นกัน ทั้งนี้ แพทยสภาได้เสนอทางออกให้กับ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประธาน สปช. ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข (กมธ.สธ.) ทั้ง สนช. และ สปช. แล้วว่า ให้ใช้กลไกที่มีอยู่แล้วในมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยขยายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั้ง 3 กองทุน ซึ่งจะเยียวยาผู้ป่วยได้อย่างเป็นธรรม ไม่สร้างความขัดแย้งใด ๆ ให้เกิดขึ้นใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน บุคลากรก็สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องวิตกกับการทำงาน เพราะภายหลังได้รับการช่วยเหลือ การฟ้องร้องจะถือเป็นที่สิ้นสุดทันที และเป็นการลดภาระงบประมาณของชาติด้วย
“แพทยสภาจึงขอแสดงจุดยืนการคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยเสนอขอแก้ไขมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ แทน และขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ใหม่ว่าด้วยการตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... เพราะเป็นการตั้งสำนักงานใหม่ที่สิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น หากจะมีการสร้างความกลมกลืนในระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ควรจัดให้มีคณะกรรมการร่วมกันพิจารณาเรื่องนี้เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว” นายกแพทยสภา กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ส.ค.) ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา แถลงข่าวเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ที่เสนอโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการเยียวยาผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่เกิดความผลกระทบจากการบริการทางสาธารณสุขอย่างเป็นธรรมได้จริง ที่สำคัญ อาจสร้างปัญหาใหม่ตามมามากมาย เช่น ชักนำก่อให้เกิดกระแสการฟ้องร้องต่อบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น ทำให้บุคลากรสาธารณสุขที่ขณะนี้แม้ว่าภาระงานจะมาก หรือล้นมือ แต่ก็มุ่งหวังให้ผู้ป่วยหายจากโรค ก็จะเปลี่ยนทัศนคติไปเป็นการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ตนเองถูกจับผิดและถูกฟ้องร้องตามที่เป็นไปในเนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วยเอง
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างภาระงบประมาณของชาติอย่างใหญ่หลวง เพราะกองทุนนี้จะมีการใช้เงินจำนวนมหาศาลในเวลาไม่นาน โดยเงินในกองทุนเป็นก้อนเดียวกับที่รัฐบาลต้องนำไปใช้ดูแลรักษาผู้ป่วย หมายความว่า กองทุนจะดูดเงินที่ใช้ช่วยชีวิตและรักษาผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพออกไป ซึ่งอาจกระทบมาตรฐานการรักษาพยาบาลและส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเองเช่นกัน ทั้งนี้ แพทยสภาได้เสนอทางออกให้กับ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประธาน สปช. ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข (กมธ.สธ.) ทั้ง สนช. และ สปช. แล้วว่า ให้ใช้กลไกที่มีอยู่แล้วในมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยขยายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมทั้ง 3 กองทุน ซึ่งจะเยียวยาผู้ป่วยได้อย่างเป็นธรรม ไม่สร้างความขัดแย้งใด ๆ ให้เกิดขึ้นใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน บุคลากรก็สามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องวิตกกับการทำงาน เพราะภายหลังได้รับการช่วยเหลือ การฟ้องร้องจะถือเป็นที่สิ้นสุดทันที และเป็นการลดภาระงบประมาณของชาติด้วย
“แพทยสภาจึงขอแสดงจุดยืนการคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยเสนอขอแก้ไขมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ แทน และขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ใหม่ว่าด้วยการตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... เพราะเป็นการตั้งสำนักงานใหม่ที่สิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น หากจะมีการสร้างความกลมกลืนในระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ควรจัดให้มีคณะกรรมการร่วมกันพิจารณาเรื่องนี้เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว” นายกแพทยสภา กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่