นักกฎหมายท้วง ร่าง พ.ร.บ. ตั้งสภาประกันสุขภาพฯ ลดทอนอำนาจนายกฯ เผยเล่ห์ดึงงบ 0.5% จาก 3 กองทุนมาบริหาร ไม่เขียนตรง ๆ ในกฎหมาย แต่ใช้หลักโอนอำนาจหน้าที่ก็จะได้งบประมาณด้วย “อัมมาร” ลั่นเดินหน้าออกกฎหมายให้ได้
วันนี้ (28 ก.ค.) นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กล่าวถึง กรณีการยกร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ เพื่อตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมการบริหาร 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ว่า โดยหลักการไม่ควรมีการรวม 3 กองทุน เพราะที่มาที่ไปแตกต่างกัน และเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องความเหลื่อมล้ำตามที่มีการกล่าวอ้าง เพราะการแก้ไขความเหลื่อมล้ำสามารถทำได้โดยอำนาจของแต่ละกองทุนผ่านการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้ จากการศึกษาตัวร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ พบว่า ค่อนข้างแปลกประหลาด เพราะในส่วนของคณะกรรมการที่ระบุให้มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีรมว.คลัง รมว.แรงงาน และ รมว.สาธารณสุข และ ผอ.สำนักงบประมาณแผ่นดิน เป็นกรรมการนั้น ซึ่งถือเป็นองค์กรกลุ่ม แต่ในกฎหมายกลับห้ามทั้งหมดนี้ลงมติในเรื่องต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องแปลกมาก ทั้งที่นายกฯ ถือเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน แล้วตามหลักคือ กฎหมายใหม่จะออกมาเพื่อยกเลิกกฎหมายเดิม ดังนั้น กฎหมายใหม่ที่ออกมาเป็นการยกเลิกการใช้อำนาจของนายกฯ หรือไม่ นอกจากนี้ ยังไม่มีสัดส่วนของแพทยสภา หรือราชวิทยาลัยต่าง ๆ เท่ากับว่า ไม่สามารถออกความเห็นทางด้านวิชาการได้เลย
นายสุกฤษฎิ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีการให้ข่าวว่ามีการตัดถ้อยคำเรื่องการดึง 0.5% จากงบประมาณด้านสุขภาพของทั้ง 3 กองทุน เพื่อมาบริหารงานออกไปแล้วนั้น หากดูในมาตรา 38 บทเฉพาะกาล ของ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เขียนเอาไว้ว่า ให้โอนอำนาจหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในส่วนของการรักษาพยาบาลแล้วแต่กรณีมาขึ้นกับสำนักงานนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ. บังคับใช้ ซึ่งการเอาอำนาจมางบประมาณก็ตามมาด้วยอยู่แล้ว ตามทฤษฎีนโยบายสาธารณะคน เงิน สิ่งของ และอำนาจ เป็นการเขียนข้อความเบี่ยงประเด็น
“ขอให้ย้อนกลับไปดู พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ออกก่อน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประมาณเดือนกว่า ๆ อันนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพมาก เพราะไม่ได้พูดถึงเรื่องการรักษาพยาบาลอย่างเดียว แต่พูดถึงเรื่องการป้องกันโรค การฟื้นฟู แต่ทุกวันนี้เงินส่วนใหญ่ งบสำหรับการรักษาพยาบาลแต่ไปอยู่ในกองทุนกองทุนบัตรทอง ซึ่งไม่ใช่สายบังคับบัญชาของสาธารณสุข โดย รมว.สธ. และปลัด สธ. มีคนละ 1 เสียง แต่ถ้าเป็น สธ. นั้น รมว.สธ. จะเป็นผู้บัญชาการสูงสุด กำหนดนโยบายได้ รัฐบาลสามารถแตะเบรกได้ คุยได้ แต่ถ้าสร้างสภาประกันสุขภาพขึ้นมาสายสัมพันธ์ที่แต่ละส่วนมีต่อกันหายไป การเขียนกฎหมายแบบนี้ เป็นการทอนอำนาจนายกฯ ไม่สามารถกำกับ ตรวจสอบได้เลย” นายสุกฤษฎิ์ กล่าว
ด้าน ศ.อัมมาร สยามวาลา ประธานคณะทำงานประสาน 3 กองทุนสุขภาพ กล่าวว่า ยืนยันว่า จะต้องผลักดันเรื่องนี้ให้ได้ เพราะถ้าอ่านกฎหมายดี ๆ นี่ไม่ใช่การรวมกองทุน แต่สภาประกันสุขภาพจะเป็นร่วมกันทำงาน โดยมีฐานะเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ให้กองทุนใดกองทุนหนึ่ง หรือคนนอกมาสั่งการ ส่วนกรณีที่ไม่ได้ให้อำนาจนายกฯ รมว.คลัง รมว.แรงงาน และ รมว.สาธารณสุข และ ผอ.สำนักงบประมาณแผ่นดิน ในฐานะที่เป็นกรรมการในการพิจารณาลงมติต่าง ๆ เพราะสุดท้ายนายกฯ ก็ยังเป็นผู้เคาะอันดับสุดท้ายในชั้นคณะรัฐมนตรีอยู่ดี และนโยบาย หรือเรื่องต่าง ๆ นั้น คณะกรรมการได้มีการกลั่นกรองข้อมูล ผลดี ผลเสียอย่างรอบคอบไปเสนอแล้ว
“คนที่ผลักดันเรื่องนี้มาก คือ สปสช. แต่ก็มีหลายเรื่องที่ สปสช. คัดค้าน และมีอีก 2 กองทุนเข้าร่วมเหมือนกัน ผมเข้าใจดีว่ามีเสียงคัดค้านการตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติเยอะ ผมเข้าใจ แต่ก็คงต้องผลักดันให้ออกมาผ่านทางช่องทางปกติ ไม่ใช้ช่องทางพิเศษอะไร เพราะเห็นว่านี่เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว และยินดีที่จะต่อสู่อย่างเปิดเผย คนนั้นค้าน คนนี้ค้าน แต่ผมทำดีที่สุดแล้วให้มีเสียงของทุกฝ่าย” นายอัมมาร กล่าว และว่า ส่วนตัวร่าง พ.ร.บ. ตอนนี้ยังไม่มีชื่อเรียก เพราะยังไม่คลอดออกจากคณะกรรมการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 ก.ค.) นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กล่าวถึง กรณีการยกร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่ เพื่อตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมการบริหาร 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ว่า โดยหลักการไม่ควรมีการรวม 3 กองทุน เพราะที่มาที่ไปแตกต่างกัน และเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องความเหลื่อมล้ำตามที่มีการกล่าวอ้าง เพราะการแก้ไขความเหลื่อมล้ำสามารถทำได้โดยอำนาจของแต่ละกองทุนผ่านการบริหารจัดการที่ดี ทั้งนี้ จากการศึกษาตัวร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ พบว่า ค่อนข้างแปลกประหลาด เพราะในส่วนของคณะกรรมการที่ระบุให้มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีรมว.คลัง รมว.แรงงาน และ รมว.สาธารณสุข และ ผอ.สำนักงบประมาณแผ่นดิน เป็นกรรมการนั้น ซึ่งถือเป็นองค์กรกลุ่ม แต่ในกฎหมายกลับห้ามทั้งหมดนี้ลงมติในเรื่องต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องแปลกมาก ทั้งที่นายกฯ ถือเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน แล้วตามหลักคือ กฎหมายใหม่จะออกมาเพื่อยกเลิกกฎหมายเดิม ดังนั้น กฎหมายใหม่ที่ออกมาเป็นการยกเลิกการใช้อำนาจของนายกฯ หรือไม่ นอกจากนี้ ยังไม่มีสัดส่วนของแพทยสภา หรือราชวิทยาลัยต่าง ๆ เท่ากับว่า ไม่สามารถออกความเห็นทางด้านวิชาการได้เลย
นายสุกฤษฎิ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีการให้ข่าวว่ามีการตัดถ้อยคำเรื่องการดึง 0.5% จากงบประมาณด้านสุขภาพของทั้ง 3 กองทุน เพื่อมาบริหารงานออกไปแล้วนั้น หากดูในมาตรา 38 บทเฉพาะกาล ของ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เขียนเอาไว้ว่า ให้โอนอำนาจหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในส่วนของการรักษาพยาบาลแล้วแต่กรณีมาขึ้นกับสำนักงานนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ. บังคับใช้ ซึ่งการเอาอำนาจมางบประมาณก็ตามมาด้วยอยู่แล้ว ตามทฤษฎีนโยบายสาธารณะคน เงิน สิ่งของ และอำนาจ เป็นการเขียนข้อความเบี่ยงประเด็น
“ขอให้ย้อนกลับไปดู พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ออกก่อน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ประมาณเดือนกว่า ๆ อันนั้นถือว่ามีประสิทธิภาพมาก เพราะไม่ได้พูดถึงเรื่องการรักษาพยาบาลอย่างเดียว แต่พูดถึงเรื่องการป้องกันโรค การฟื้นฟู แต่ทุกวันนี้เงินส่วนใหญ่ งบสำหรับการรักษาพยาบาลแต่ไปอยู่ในกองทุนกองทุนบัตรทอง ซึ่งไม่ใช่สายบังคับบัญชาของสาธารณสุข โดย รมว.สธ. และปลัด สธ. มีคนละ 1 เสียง แต่ถ้าเป็น สธ. นั้น รมว.สธ. จะเป็นผู้บัญชาการสูงสุด กำหนดนโยบายได้ รัฐบาลสามารถแตะเบรกได้ คุยได้ แต่ถ้าสร้างสภาประกันสุขภาพขึ้นมาสายสัมพันธ์ที่แต่ละส่วนมีต่อกันหายไป การเขียนกฎหมายแบบนี้ เป็นการทอนอำนาจนายกฯ ไม่สามารถกำกับ ตรวจสอบได้เลย” นายสุกฤษฎิ์ กล่าว
ด้าน ศ.อัมมาร สยามวาลา ประธานคณะทำงานประสาน 3 กองทุนสุขภาพ กล่าวว่า ยืนยันว่า จะต้องผลักดันเรื่องนี้ให้ได้ เพราะถ้าอ่านกฎหมายดี ๆ นี่ไม่ใช่การรวมกองทุน แต่สภาประกันสุขภาพจะเป็นร่วมกันทำงาน โดยมีฐานะเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ให้กองทุนใดกองทุนหนึ่ง หรือคนนอกมาสั่งการ ส่วนกรณีที่ไม่ได้ให้อำนาจนายกฯ รมว.คลัง รมว.แรงงาน และ รมว.สาธารณสุข และ ผอ.สำนักงบประมาณแผ่นดิน ในฐานะที่เป็นกรรมการในการพิจารณาลงมติต่าง ๆ เพราะสุดท้ายนายกฯ ก็ยังเป็นผู้เคาะอันดับสุดท้ายในชั้นคณะรัฐมนตรีอยู่ดี และนโยบาย หรือเรื่องต่าง ๆ นั้น คณะกรรมการได้มีการกลั่นกรองข้อมูล ผลดี ผลเสียอย่างรอบคอบไปเสนอแล้ว
“คนที่ผลักดันเรื่องนี้มาก คือ สปสช. แต่ก็มีหลายเรื่องที่ สปสช. คัดค้าน และมีอีก 2 กองทุนเข้าร่วมเหมือนกัน ผมเข้าใจดีว่ามีเสียงคัดค้านการตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติเยอะ ผมเข้าใจ แต่ก็คงต้องผลักดันให้ออกมาผ่านทางช่องทางปกติ ไม่ใช้ช่องทางพิเศษอะไร เพราะเห็นว่านี่เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว และยินดีที่จะต่อสู่อย่างเปิดเผย คนนั้นค้าน คนนี้ค้าน แต่ผมทำดีที่สุดแล้วให้มีเสียงของทุกฝ่าย” นายอัมมาร กล่าว และว่า ส่วนตัวร่าง พ.ร.บ. ตอนนี้ยังไม่มีชื่อเรียก เพราะยังไม่คลอดออกจากคณะกรรมการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่