รักษาการเลขาธิการ สปสช. ชี้เมินตัวตั้งตัวตี “สภาประกันสุขภาพฯ” มีเบื้องหลัง บอกไม่สำคัญ ขอเพียงกระบวนการเปิดกว้าง ย้ำทุกวันนี้สิทธิรักษา 3 กองทุนเหลื่อมล้ำ แต่ยังไม่ควรรวมกองทุน ให้รอดูสถานการณ์ในอนาคต แนะเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารแทน ประเมินความคุ้มค่ายา-เทคโนโลยีราคาแพงก่อนให้สิทธิ เติมเงินเข้าบัตรทอง
วันนี้ (21 ก.ค.) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีข้อเสนอการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ เพื่อตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า ทุกวันนี้กองทุนรักษาพยาบาลภาครัฐมีความแตกต่างกัน ให้สิทธิไม่เท่ากัน และใช้งบประมาณแตกต่างกัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ถ้าแยกการคิด การทำ การบริหารจัดการอย่างไรปัญหาก็ไม่จบ ดังนั้น ถ้ามีกลไกหรือมีเครื่องมือให้ทั้ว 3 กองทุนมีการออกแบบสิทธิประโยชน์และบริหารจัดการไปในทางเดียวกัน ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ก็เป็นเรื่องที่ดี สำหรับประเด็นว่าคนยกร่างมีเบื้องลึกเบื้องหลัง มีความเชื่อมโยง มองว่าไม่สำคัญ ขอเพียงกระบวนการมีการเปิดกว้าง ส่วนตัวมองว่าคนที่ทำเรื่องนี้ ทั้ง ศ.อัมมาร สยามวา ในฐานะประธานก็ไม่มีผลประโยชน์อะไร นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลกมาตลอด
นพ.ประทีป กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวหากจะดำเนินการคงต้องดูสถานการณ์ด้วย ถ้าใช้การบังคับโดยไม่ทำให้สังคมเข้าใจก็คงยากที่จะสำเร็จ อย่างกฎหมายที่ยกร่างก็ถือว่าโอเค แต่กรณีที่ระบุว่าเพื่อบูรณาการให้ทั้ง 3 กองทุนเกิดประสิทธิภาพเพื่อความเป็นธรรม โดยได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยไปกว่าเดิม ถ้าตั้งต้นอย่างนี้ก็ยาก เพราะวันนี้ข้าราชการได้รับงบประมาณรายหัวอยู่ 1.2 หมื่นบาท บัตรทองได้รับประมาณ 3 พันบาท หากจะให้ลดสิทธิข้าราชการมาเท่าบัตรทองก็คงไม่มีใครยอม และถ้าให้สิทธิบัตรทองไปเท่ากับข้าราชการก็ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ดังนั้น คงจะยากที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพเสมอภาคอย่างไร ดังนั้น ส่วนตัวยังไม่เห็นด้วยที่จะรวมกองทุนกันในช่วงนี้ เพราะขณะนี้รัฐบาลต้องแบกรับเรื่องการปฏิรูปอีกมาก แต่ถ้าให้มีการประสานข้อมูลกัน ช่วยกัน น่าจะเหมาะกว่า ส่วนอนาคตจะรวมกองทุนได้หรือไม่ก็ต้องดูที่สถานการณ์
“สำหรับแนวทางที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมนั้น คิดว่าสิ่งที่ต้องทำให้สถานการณ์ตอนนี้ คือ 1. ทำให้ทั้ง 3 ระบบมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กระจายการใช้บริการให้ออกไปตามความจำเป็น คือไม่กระจุกตัวที่ รพ.ใหญ่ จะทำให้การลงทุนภาครัฐไม่มีประสิทธิภาพ 2. ต้องมีการควบคุมดูแลเรื่องของสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะค่ายา เทคโนโลยีการแพทย์ราคาแพง ต้องมีการประเมินความคุ้มค่าให้ชัดเจน 3. ในส่วนที่เคยได้รับงบประมาณน้อยอย่างบัตรทอง รัฐต้องค่อย ๆ เพิ่มการสนับสนุนตามฐานะของประเทศ ส่วนระบบที่เคยได้รับมากก็ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น” รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (21 ก.ค.) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีข้อเสนอการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ เพื่อตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่า ทุกวันนี้กองทุนรักษาพยาบาลภาครัฐมีความแตกต่างกัน ให้สิทธิไม่เท่ากัน และใช้งบประมาณแตกต่างกัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ถ้าแยกการคิด การทำ การบริหารจัดการอย่างไรปัญหาก็ไม่จบ ดังนั้น ถ้ามีกลไกหรือมีเครื่องมือให้ทั้ว 3 กองทุนมีการออกแบบสิทธิประโยชน์และบริหารจัดการไปในทางเดียวกัน ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์ก็เป็นเรื่องที่ดี สำหรับประเด็นว่าคนยกร่างมีเบื้องลึกเบื้องหลัง มีความเชื่อมโยง มองว่าไม่สำคัญ ขอเพียงกระบวนการมีการเปิดกว้าง ส่วนตัวมองว่าคนที่ทำเรื่องนี้ ทั้ง ศ.อัมมาร สยามวา ในฐานะประธานก็ไม่มีผลประโยชน์อะไร นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลกมาตลอด
นพ.ประทีป กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวหากจะดำเนินการคงต้องดูสถานการณ์ด้วย ถ้าใช้การบังคับโดยไม่ทำให้สังคมเข้าใจก็คงยากที่จะสำเร็จ อย่างกฎหมายที่ยกร่างก็ถือว่าโอเค แต่กรณีที่ระบุว่าเพื่อบูรณาการให้ทั้ง 3 กองทุนเกิดประสิทธิภาพเพื่อความเป็นธรรม โดยได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยไปกว่าเดิม ถ้าตั้งต้นอย่างนี้ก็ยาก เพราะวันนี้ข้าราชการได้รับงบประมาณรายหัวอยู่ 1.2 หมื่นบาท บัตรทองได้รับประมาณ 3 พันบาท หากจะให้ลดสิทธิข้าราชการมาเท่าบัตรทองก็คงไม่มีใครยอม และถ้าให้สิทธิบัตรทองไปเท่ากับข้าราชการก็ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ดังนั้น คงจะยากที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพเสมอภาคอย่างไร ดังนั้น ส่วนตัวยังไม่เห็นด้วยที่จะรวมกองทุนกันในช่วงนี้ เพราะขณะนี้รัฐบาลต้องแบกรับเรื่องการปฏิรูปอีกมาก แต่ถ้าให้มีการประสานข้อมูลกัน ช่วยกัน น่าจะเหมาะกว่า ส่วนอนาคตจะรวมกองทุนได้หรือไม่ก็ต้องดูที่สถานการณ์
“สำหรับแนวทางที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมนั้น คิดว่าสิ่งที่ต้องทำให้สถานการณ์ตอนนี้ คือ 1. ทำให้ทั้ง 3 ระบบมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กระจายการใช้บริการให้ออกไปตามความจำเป็น คือไม่กระจุกตัวที่ รพ.ใหญ่ จะทำให้การลงทุนภาครัฐไม่มีประสิทธิภาพ 2. ต้องมีการควบคุมดูแลเรื่องของสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะค่ายา เทคโนโลยีการแพทย์ราคาแพง ต้องมีการประเมินความคุ้มค่าให้ชัดเจน 3. ในส่วนที่เคยได้รับงบประมาณน้อยอย่างบัตรทอง รัฐต้องค่อย ๆ เพิ่มการสนับสนุนตามฐานะของประเทศ ส่วนระบบที่เคยได้รับมากก็ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น” รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่