คณะทำงานฯ ร่างสภาประกันสุขภาพฯ ยันไม่ยึดงบ 3 กองทุนบริหาร ชี้ แค่ออกสิทธิประโยชน์กลางเท่านั้น ส่วนสิทธิอื่นที่เฉพาะของแต่ละกองทุนยังคงเดิม เผยคณะกรรมการมาจากตัวแทน 3 กองทุน ผู้รับบริการและผู้ให้บริการ มีนายกฯเป็นประธาน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม หนึ่งในคณะทำงานประสาน 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ที่มี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน กล่าวถึงกรณีกระแสการจัดตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการรวม 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ โดยนำงบไปบริหาร ว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะหลักการของกฎหมายนี้ คือ การสร้างความกลมกลืนของระบบประกันสุขภาพภาครัฐ ไม่มีใครเห็นด้วยในการรวม 3 กองทุน หรือการนำงบมาให้หน่วยงานกลางเป็นผู้บริหาร โดยร่างกฎหมายที่มีการเผยแพร่นั้นไม่ใช่ร่างกฎหมายฉบับสมบูรณ์ เพราะชื่อก็ยังไม่ลงตัว ทั้งนี้ หลักการของกฎหมายที่คณะทำงานฯ หารือกัน คือ จะสร้างกลไกในกระบวนการเจรจาต่อรองเรื่องสิทธิประโยชน์กลางขึ้นมา โดยกระบวนการต่อรองจะมีสัดส่วนจากแต่ละกองทุนมาหารือ ว่า เห็นด้วยกับสิทธิประโยชน์กลางหรือไม่ ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นที่นอกเหนือและเป็นการเฉพาะของแต่ละกองทุน ยังคงเหมือนเดิม
นายนิมิตร์ กล่าวว่า กระบวนการหารือจะมาจากผู้แทนต่าง ๆ ของแต่ละกองทุน คือ ผู้แทน 3 กองทุน กองทุนละ 1 คน ผู้แทนภาคประชาชนจาก 3 กองทุน คือ ผู้แทนข้าราชการ 1 คน ผู้แทนผู้ประกันตน 1 คน และประชาชนผู้ได้รับสิทธิบัตรทอง 1 คน และผู้แทนผู้ให้บริการ 3 คน จากกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนนอกสังกัดกระทรวง และผู้แทนภาคเอกชน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งทั้งหมดจะพิจารณาหาสิทธิประโยชน์พื้นฐานให้ประชาชนแต่ละสิทธิ โดยยึดหลักต้องกลมกลืน ไม่กระทบสิทธิอื่น ที่สำคัญ การจะออกสิทธิประโยชน์ใด ๆ จะต้องเป็นมีมติเอกฉันท์ หากมีความคิดเห็นต่างเพียงกลุ่มเดียว มติก็จะออกไม่ได้เลย ดังนั้น จึงไม่อยากให้กังวลว่ากฎหมายนี้จะไปลิดรอนสิทธิใด และไม่มีการโอนงบมาให้คณะกรรมการนี้บริหารแน่นอน แต่ละกองทุนยังบริหารตามเดิม นอกจากนี้ ร่างกฎหมายใหม่ดังกล่าวยังไม่ประกาศใช้ ซึ่งจะต้องมีการระดมความคิดเห็นอีก โดยยังอยู่ในกระบวนการตามขั้นตอน
ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะนักวิจัยด้านระบบสุขภาพ กล่าวว่า หากต้องการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ การมีกลไกกลางในการทำงานย่อมช่วยได้ ส่วนกลไกกลางจะใช้ชื่ออะไร คงเป็นอีกเรื่อง แต่สิ่งสำคัญ การสร้างกลไกกลางต้องมีการถ่วงดุลอย่างเหมาะสม ทั้งในทางวิชาการ กลุ่มผลประโยชน์ที่จะเข้าไปทำงาน โดยต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า แนวโน้มความสำเร็จในรัฐบาลยุคนี้มีโอกาส ส่วนที่กังวลว่าจะนำไปสู่การรวมสามกองทุนสุขภาพในอนาคตนั้น ต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจข้อเท็จจริงด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายนิมิตร์ เทียนอุดม หนึ่งในคณะทำงานประสาน 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ที่มี ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน กล่าวถึงกรณีกระแสการจัดตั้งสภาประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการรวม 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ โดยนำงบไปบริหาร ว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะหลักการของกฎหมายนี้ คือ การสร้างความกลมกลืนของระบบประกันสุขภาพภาครัฐ ไม่มีใครเห็นด้วยในการรวม 3 กองทุน หรือการนำงบมาให้หน่วยงานกลางเป็นผู้บริหาร โดยร่างกฎหมายที่มีการเผยแพร่นั้นไม่ใช่ร่างกฎหมายฉบับสมบูรณ์ เพราะชื่อก็ยังไม่ลงตัว ทั้งนี้ หลักการของกฎหมายที่คณะทำงานฯ หารือกัน คือ จะสร้างกลไกในกระบวนการเจรจาต่อรองเรื่องสิทธิประโยชน์กลางขึ้นมา โดยกระบวนการต่อรองจะมีสัดส่วนจากแต่ละกองทุนมาหารือ ว่า เห็นด้วยกับสิทธิประโยชน์กลางหรือไม่ ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นที่นอกเหนือและเป็นการเฉพาะของแต่ละกองทุน ยังคงเหมือนเดิม
นายนิมิตร์ กล่าวว่า กระบวนการหารือจะมาจากผู้แทนต่าง ๆ ของแต่ละกองทุน คือ ผู้แทน 3 กองทุน กองทุนละ 1 คน ผู้แทนภาคประชาชนจาก 3 กองทุน คือ ผู้แทนข้าราชการ 1 คน ผู้แทนผู้ประกันตน 1 คน และประชาชนผู้ได้รับสิทธิบัตรทอง 1 คน และผู้แทนผู้ให้บริการ 3 คน จากกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนนอกสังกัดกระทรวง และผู้แทนภาคเอกชน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งทั้งหมดจะพิจารณาหาสิทธิประโยชน์พื้นฐานให้ประชาชนแต่ละสิทธิ โดยยึดหลักต้องกลมกลืน ไม่กระทบสิทธิอื่น ที่สำคัญ การจะออกสิทธิประโยชน์ใด ๆ จะต้องเป็นมีมติเอกฉันท์ หากมีความคิดเห็นต่างเพียงกลุ่มเดียว มติก็จะออกไม่ได้เลย ดังนั้น จึงไม่อยากให้กังวลว่ากฎหมายนี้จะไปลิดรอนสิทธิใด และไม่มีการโอนงบมาให้คณะกรรมการนี้บริหารแน่นอน แต่ละกองทุนยังบริหารตามเดิม นอกจากนี้ ร่างกฎหมายใหม่ดังกล่าวยังไม่ประกาศใช้ ซึ่งจะต้องมีการระดมความคิดเห็นอีก โดยยังอยู่ในกระบวนการตามขั้นตอน
ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะนักวิจัยด้านระบบสุขภาพ กล่าวว่า หากต้องการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ การมีกลไกกลางในการทำงานย่อมช่วยได้ ส่วนกลไกกลางจะใช้ชื่ออะไร คงเป็นอีกเรื่อง แต่สิ่งสำคัญ การสร้างกลไกกลางต้องมีการถ่วงดุลอย่างเหมาะสม ทั้งในทางวิชาการ กลุ่มผลประโยชน์ที่จะเข้าไปทำงาน โดยต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า แนวโน้มความสำเร็จในรัฐบาลยุคนี้มีโอกาส ส่วนที่กังวลว่าจะนำไปสู่การรวมสามกองทุนสุขภาพในอนาคตนั้น ต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจข้อเท็จจริงด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่