สธ. เผยเขตสุขภาพที่ 3 พัฒนาระบบบริการลดรอคอยการรักษา 4 โรค “ตาต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม มะเร็ง และหัวใจ” เพิ่มการเข้าถึงบริการ พัฒนาโรงพยาบาลให้มีศักยภาพรักษาโรคหัวใจ ฉายรังสี ลดการรักษาผู้ป่วยข้ามเขต
วันนี้ (23 ก.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดบริการแบบเขตสุขภาพ ที่ จ.นครสวรรค์ ว่า เขตบริการสุขภาพที่ 3 ได้ทำแผนลดระยะเวลารอคอยการรักษาผู้ป่วย 4 โรค ที่เป็นปัญหาในเขต คือ 1. ตาต้อกระจก โดย รพ.สวรรค์ประชารักษ์ รพ.อุทัยธานี และ รพ.ชัยนาท จัดทีมผ่าตัดนอกเวลาราชการ และเปิดห้องผ่าตัดตาเพิ่มจากเดิม 2.ผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อม เขต 3 มี 92,933 คน ได้รับการตรวจจอประสาทตา จำนวน 57,639 คน คิดเป็นร้อยละ 62.02 และทุกคนได้รับการรักษาภายใน 30 วัน 3. ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รอการรักษาด้วยรังสี ปัจจุบันเขตสุขภาพที่ 3 ยังไม่มีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งแบบรังสีรักษาได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มี 2,642 คน ต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา 577 คน ได้ส่งต่อรักษายังสถานบริการนอกเขต ในปี 2559 จะเปิดให้บริการรักษาด้วยรังสี ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เพื่อลดการส่งต่อนอกเขต
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า และ 4. ผู้ป่วยผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจ ปัจจุบันเขตสุขภาพที่ 3 ยังไม่มีโรงพยาบาล ที่มีศักยภาพให้การรักษาผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจได้ ข้อมูล ณ 30 พฤษภาคม 2558 มีผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบ 6,334 คน ลิ้นหัวใจ 1,072 คน ต้องส่งไปยังสถานบริการนอกเขต และส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยต้องลำบาก ในการเดินทาง และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย โดยจะพัฒนาโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ให้มีศักยภาพเทียบเท่า ศูนย์โรคหัวใจ เพื่อลดการส่งต่อและระยะเวลารอคอย
“การจัดเขตบริการสุขภาพในระยะแรก สธ.ได้กำหนดแผนการพัฒนาใน 10 สาขาหลัก ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งจากองค์การอนามัยโลก รวมทั้งหน่วยงานในประเทศ ที่ให้มีการสร้างกลไกการจัดการสุขภาพ ในเขตแทนการกระจุกตัวในส่วนกลาง โดยแผนระบบบริการสุขภาพ คำนึงถึงขนาดประชากรที่เหมาะสมเขตละ 3 - 5 ล้านคน จัดบริการแบบเบ็ดเสร็จในตัวเองบริหารจัดการร่วมเป็นเครือข่ายเดียวกันแบบมีส่วนร่วมในเครือข่าย อย่างไร้รอยต่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งเครื่องมือแพทย์ ห้องผ่าตัด แพทย์” รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ก.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดบริการแบบเขตสุขภาพ ที่ จ.นครสวรรค์ ว่า เขตบริการสุขภาพที่ 3 ได้ทำแผนลดระยะเวลารอคอยการรักษาผู้ป่วย 4 โรค ที่เป็นปัญหาในเขต คือ 1. ตาต้อกระจก โดย รพ.สวรรค์ประชารักษ์ รพ.อุทัยธานี และ รพ.ชัยนาท จัดทีมผ่าตัดนอกเวลาราชการ และเปิดห้องผ่าตัดตาเพิ่มจากเดิม 2.ผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อม เขต 3 มี 92,933 คน ได้รับการตรวจจอประสาทตา จำนวน 57,639 คน คิดเป็นร้อยละ 62.02 และทุกคนได้รับการรักษาภายใน 30 วัน 3. ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รอการรักษาด้วยรังสี ปัจจุบันเขตสุขภาพที่ 3 ยังไม่มีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งแบบรังสีรักษาได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มี 2,642 คน ต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา 577 คน ได้ส่งต่อรักษายังสถานบริการนอกเขต ในปี 2559 จะเปิดให้บริการรักษาด้วยรังสี ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เพื่อลดการส่งต่อนอกเขต
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า และ 4. ผู้ป่วยผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจ ปัจจุบันเขตสุขภาพที่ 3 ยังไม่มีโรงพยาบาล ที่มีศักยภาพให้การรักษาผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจได้ ข้อมูล ณ 30 พฤษภาคม 2558 มีผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบ 6,334 คน ลิ้นหัวใจ 1,072 คน ต้องส่งไปยังสถานบริการนอกเขต และส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยต้องลำบาก ในการเดินทาง และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย โดยจะพัฒนาโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ให้มีศักยภาพเทียบเท่า ศูนย์โรคหัวใจ เพื่อลดการส่งต่อและระยะเวลารอคอย
“การจัดเขตบริการสุขภาพในระยะแรก สธ.ได้กำหนดแผนการพัฒนาใน 10 สาขาหลัก ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งจากองค์การอนามัยโลก รวมทั้งหน่วยงานในประเทศ ที่ให้มีการสร้างกลไกการจัดการสุขภาพ ในเขตแทนการกระจุกตัวในส่วนกลาง โดยแผนระบบบริการสุขภาพ คำนึงถึงขนาดประชากรที่เหมาะสมเขตละ 3 - 5 ล้านคน จัดบริการแบบเบ็ดเสร็จในตัวเองบริหารจัดการร่วมเป็นเครือข่ายเดียวกันแบบมีส่วนร่วมในเครือข่าย อย่างไร้รอยต่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งเครื่องมือแพทย์ ห้องผ่าตัด แพทย์” รองปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่