ครูน้อยลั่นขอดูแลเด็กทั้งหมดต่อ เมิน พม. ขอให้โอนเด็กเข้าสู่ระบบเพื่อส่งต่อสถานสงเคราะห์ อธิบดีกรมกิจการเด็กฯ ชี้ บ้านครูน้อยไม่เข้าเกณฑ์เป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก ชี้ไม่ต่อใบอนุญาตจึงไม่ผิดกฎหมาย
วันนี้ (22 ก.ค.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ให้กำลังใจนางนวลน้อย ทิมกุล หรือ ครูน้อย และรับฟังปัญหาการดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านครูน้อย ว่า ครูน้อยได้ขอจดทะเบียน “บ้านครูน้อย” เป็นสถานรับเลี้ยงเด็กกับกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปี 2542 โดยใช้บ้านที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ดำเนินกิจการ รับเลี้ยงเด็กชายและหญิง ประเภทไป - กลับ อายุ 2 - 6 ปี จำนวนไม่เกิน 15 คน ไม่เก็บค่าบริการ ปัจจุบันบ้านครูน้อยไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ครูน้อยยังให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวยากจนด้วยเงินบริจาคอย่างต่อเนื่อง เพราะสงสารเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ช่วยเหลือ ได้แก่ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน ครอบครัวแตกแยก และเด็กพิการ ซึ่งขณะนี้มีเด็กและเยาวชนที่ครูน้อยช่วยเหลือ จำนวนทั้งสิ้น 65 คน อายุตั้งแต่ 4 - 30 ปี จำนวนนี้เป็นคนพิการ จำนวน 3 คน
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ส่วนสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานมีหนี้สินมากขึ้น เนื่องจากรายจ่ายมากขึ้น เฉลี่ยวันละ 6,000 บาท เฉลี่ย 200,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งผู้บริจาคเงินลดน้อยลง ทำให้ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบมาใช้จ่าย แนวทางการช่วยเหลือเด็กในระยะยาว พม. ได้แนะนำให้ครูน้อยดำเนินการตามระบบ ด้วยการให้เจ้าหน้าที่พิจารณาจำนวนเด็กที่ขาดโอกาส เพื่อส่งต่อสถานสงเคราะห์ให้ได้รับความช่วยเหลือต่อไป โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
ด้าน นางนวลน้อย กล่าวว่า ได้ปฏิเสธการเข้าสู่ระบบของ พม. ในขณะนี้ เพราะต้องการช่วยเหลือเด็กในรูปแบบของตนเองมากกว่า แต่หากในอนาคตไม่สามารถดำเนินการเองได้จะพิจารณาอีกครั้ง พร้อมยืนยันว่า เด็กที่ตนเองให้ความช่วยเหลือไม่ต้องการย้ายไปอยู่สถานสงเคราะห์
นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน พม. กล่าวว่า แม้บ้านครูน้อยไม่ได้ยื่นต่อใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่สามารถดำเนินการต่อได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด เพราะลักษณะการดำเนินงานของบ้านครูน้อยไม่เข้าเกณฑ์กับสถานรับเลี้ยงเด็กที่ต้องจดทะเบียน ซึ่งจะต้องมีหลักสูตร มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเด็ก มีมาตรฐานต่าง ๆ แต่บ้านครูน้อยเหมือนเป้นการช่วยดูแลชั่วคราวในช่วงตอนกลางวัน เด็กบางคนก็ไปโรงเรียนแต่อาจมาทานข้าวกลางวันที่บ้านครูน้อย ส่วนการจะย้ายเด็กบ้านครูน้อยไปสถานสงเคราะห์นั้นต้องดูเด็กเป็นหลัก เพราะเด็กบางคนก็ยังอยู่กับครอบครัว เพียงแต่ครูน้อยช่วยดูแลเพราะมีจิตเมตตา ส่วน พม. อาจจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือในการจัดทำบัญชีต่าง ๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ก.ค.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ให้กำลังใจนางนวลน้อย ทิมกุล หรือ ครูน้อย และรับฟังปัญหาการดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านครูน้อย ว่า ครูน้อยได้ขอจดทะเบียน “บ้านครูน้อย” เป็นสถานรับเลี้ยงเด็กกับกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปี 2542 โดยใช้บ้านที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ดำเนินกิจการ รับเลี้ยงเด็กชายและหญิง ประเภทไป - กลับ อายุ 2 - 6 ปี จำนวนไม่เกิน 15 คน ไม่เก็บค่าบริการ ปัจจุบันบ้านครูน้อยไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ครูน้อยยังให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวยากจนด้วยเงินบริจาคอย่างต่อเนื่อง เพราะสงสารเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ช่วยเหลือ ได้แก่ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน ครอบครัวแตกแยก และเด็กพิการ ซึ่งขณะนี้มีเด็กและเยาวชนที่ครูน้อยช่วยเหลือ จำนวนทั้งสิ้น 65 คน อายุตั้งแต่ 4 - 30 ปี จำนวนนี้เป็นคนพิการ จำนวน 3 คน
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ส่วนสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานมีหนี้สินมากขึ้น เนื่องจากรายจ่ายมากขึ้น เฉลี่ยวันละ 6,000 บาท เฉลี่ย 200,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งผู้บริจาคเงินลดน้อยลง ทำให้ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบมาใช้จ่าย แนวทางการช่วยเหลือเด็กในระยะยาว พม. ได้แนะนำให้ครูน้อยดำเนินการตามระบบ ด้วยการให้เจ้าหน้าที่พิจารณาจำนวนเด็กที่ขาดโอกาส เพื่อส่งต่อสถานสงเคราะห์ให้ได้รับความช่วยเหลือต่อไป โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
ด้าน นางนวลน้อย กล่าวว่า ได้ปฏิเสธการเข้าสู่ระบบของ พม. ในขณะนี้ เพราะต้องการช่วยเหลือเด็กในรูปแบบของตนเองมากกว่า แต่หากในอนาคตไม่สามารถดำเนินการเองได้จะพิจารณาอีกครั้ง พร้อมยืนยันว่า เด็กที่ตนเองให้ความช่วยเหลือไม่ต้องการย้ายไปอยู่สถานสงเคราะห์
นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน พม. กล่าวว่า แม้บ้านครูน้อยไม่ได้ยื่นต่อใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่สามารถดำเนินการต่อได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด เพราะลักษณะการดำเนินงานของบ้านครูน้อยไม่เข้าเกณฑ์กับสถานรับเลี้ยงเด็กที่ต้องจดทะเบียน ซึ่งจะต้องมีหลักสูตร มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเด็ก มีมาตรฐานต่าง ๆ แต่บ้านครูน้อยเหมือนเป้นการช่วยดูแลชั่วคราวในช่วงตอนกลางวัน เด็กบางคนก็ไปโรงเรียนแต่อาจมาทานข้าวกลางวันที่บ้านครูน้อย ส่วนการจะย้ายเด็กบ้านครูน้อยไปสถานสงเคราะห์นั้นต้องดูเด็กเป็นหลัก เพราะเด็กบางคนก็ยังอยู่กับครอบครัว เพียงแต่ครูน้อยช่วยดูแลเพราะมีจิตเมตตา ส่วน พม. อาจจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือในการจัดทำบัญชีต่าง ๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่