"ครูน้อย" เปิดใจปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก เหตุบริหารจัดการไม่ดีพอ ประกาศขายบ้าน 9 ล้าน ใช้หนี้ ยันไม่ได้ซื้อรถป้ายแดงให้ลูก ด้าน รมว.พม.ลงพื้นที่ช่วยหาครอบครัวดูแลเด็ก-มอบเงิน
วานนี้ (15พ.ค.) เมื่อเวลา10.00น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. และ นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ลงพื้นที่สถานรับเลี้ยงเด็ก “บ้านครูน้อย” ตั้งอยู่เลขที่ 319 ซอยราษฎร์บูรณะ26 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวง/เขตราษฎร์บูรณะ กทม.เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการยุติการดำเนินกิจการรับเลี้ยงเด็กของ นางนวลน้อย ทิมกุล หรือครูน้อย ซึ่งเป็นผู้ดูแลสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือและของใช้เบื้องต้นให้กับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ครูน้อยได้ขอจดทะเบียน เป็นสถานที่รับเลี้ยงเด็กกับกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปี 2542โดยใช้บ้านของตนเองเป็นสถานที่ดำเนินการ แล้วใช้ชื่อว่า "สถานที่รับเลี้ยงเด็กบ้านครูน้อย" โดยรับเลี้ยงเด็กชายและหญิงประเภทไป-กลับ แบบไม่เก็บค่าใช้จ่าย ปัจจุบัน บ้านครูน้อยไม่ได้รับการต่อใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ยังให้การช่วยเหลือเด็กและครอบครัวด้วยการบริจาคต่อเนื่อง มีเจ้าหน้าที่ 7 คน คอยให้การดูแลเด็ก จำนวน 64 คน จาก 35 ครอบครัว ในจำนวนนี้มีเด็กพิการอยู่ด้วย 8 คน วันนี้บ้านครูน้อยได้ยุติการดำเนินงาน ตนจึงมีความห่วงใยเลยลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เพื่อหาทางช่วยเหลือ
ทั้งนี้ เด็กจะได้กลับไปอยู่กับทางครอบครัวของตนเอง โดย พม.จะมีการพิจารณาเป็นครอบครัวไป หากครอบครัวใดไม่สามารถดูแลได้เราจะรับมาดูแลเอง ที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องของเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งการยุติบทบาทสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าวอาจส่งผลกระทบกับชุมชนบ้าง เบื้องต้น ตนได้มอบเงินช่วยเหลือพร้อมให้กำลังใจครูน้อยจำนวนหนึ่ง (10,000 บาท) รวมถึง ครอบครัวเด็กที่ได้รับผลกระทบ 35 ครอบครัวๆละ 2,000 บาท
ด้าน พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า ขณะนี้ เงินในบัญชีของบ้านครูน้อยมีเพียง 400 บาท แต่มีหนี้สินที่กู้ยืมมากว่า 800,000 บาท เจ้าหนี้ 8 ราย หลังจากนี้ จะต้องตรวจสอบว่าหนี้สินจำนวนดังกล่าว มาจากเจ้าหนี้รายใดบ้าง โดยจะเชิญเจ้าหนี้ทั้งหมดมาพูดคุย เจรจา เพื่อหาตัวเลขยอดหนี้ที่ชัดเจน รวมทั้ง ตรวจสอบว่ายังมีหนี้สินอื่นๆ ที่อาจมีตกหล่นอีกหรือไม่ ก่อนดำเนินการเคลียร์หนี้สินทั้งหมด โดยเงินที่จะนำมาชดใช้ให้ครูน้อยนั้น ตนเองจะเป็นเจ้าภาพรวบรวมมาจากจิตศรัทธาของผู้ประสงค์ให้การช่วยเหลือครูน้อย ส่วนจะดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบรายต่างๆ หรือไม่ ต้องรอการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ก่อน อย่างไรก็ตาม การกู้เงินนอกระบบถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพราะดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีการดำเนินการจับกุมมาโดยตลอด
ด้าน นางนวลน้อย กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก เนื่องจากตนไม่สามารถแบกรับภาระหนี้สินที่กู้ยืมมา เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าเทอมของเด็กในบ้านทั้ง 65 คน ยอมรับว่าปัญหาเกิดการบริหารจัดการของตนไม่ดีพอ นอกจากหนี้สินนอกระบบ ตนยังได้นำบ้านไปกู้ยืมเงินจากธนาคารอีกกว่าล้านบาท แต่ก็ยังมีความเป็นห่วงเด็ก อยากให้คนที่มีเมตตารับไปดูแล
โดยขอแก้ข่าวที่ว่าตนนำเงินไปซื้อรถป้ายแดงให้ลูก นำไปซื้อที่ดิน ซึ่งไม่เป็นความจริง การบริหารจัดการบ้านของครูน้อย ไม่ได้ทำเป็นระบบ ก่อนหน้านี้เคยมีผู้แนะนำเรื่องการจัดการบัญชี แต่ทำได้ไม่สะดวก เนื่องจากไม่คล่อง เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และตนไม่ได้อยู่ในเครือของ พม. หรือกรมประชาสงเคราะห์ ปัจจุบันตนอาศัยอยู่กับสามี ลูกก็มาอยู่ด้วยบ้างบางครั้ง
สำหรับเด็กในความอุปการะ มีอยู่ 65คน อายุระหว่าง 3 ขวบครึ่ง-17ปีเด็กที่อยู่ที่นี่มีทั้งเด็กที่ประสบปัญหาครอบครัว เด็กกำพร้า การทำงานของครูต่างจากระบบราชการ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอย่างต่ำ180,000บาท ขณะที่ยอดบริจาคสูงสุด 120,000บาท โดยมีรายได้บางส่วนจากการขายของที่เหลือใช้ นอกนั้น เป็นการกู้หนี้ในระบบ และนอกระบบ หลังจากที่มีการปิดบ้านแล้ว ตนก็จะขายบ้าน (จำนองบ้านไว้ 1 ล้านกว่าบาท) โดยจะประกาศขายบ้าน 9 ล้านบาท และยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดบ้านอีก.
วานนี้ (15พ.ค.) เมื่อเวลา10.00น. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. และ นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ลงพื้นที่สถานรับเลี้ยงเด็ก “บ้านครูน้อย” ตั้งอยู่เลขที่ 319 ซอยราษฎร์บูรณะ26 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวง/เขตราษฎร์บูรณะ กทม.เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการยุติการดำเนินกิจการรับเลี้ยงเด็กของ นางนวลน้อย ทิมกุล หรือครูน้อย ซึ่งเป็นผู้ดูแลสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว พร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือและของใช้เบื้องต้นให้กับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า ครูน้อยได้ขอจดทะเบียน เป็นสถานที่รับเลี้ยงเด็กกับกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปี 2542โดยใช้บ้านของตนเองเป็นสถานที่ดำเนินการ แล้วใช้ชื่อว่า "สถานที่รับเลี้ยงเด็กบ้านครูน้อย" โดยรับเลี้ยงเด็กชายและหญิงประเภทไป-กลับ แบบไม่เก็บค่าใช้จ่าย ปัจจุบัน บ้านครูน้อยไม่ได้รับการต่อใบอนุญาตจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ยังให้การช่วยเหลือเด็กและครอบครัวด้วยการบริจาคต่อเนื่อง มีเจ้าหน้าที่ 7 คน คอยให้การดูแลเด็ก จำนวน 64 คน จาก 35 ครอบครัว ในจำนวนนี้มีเด็กพิการอยู่ด้วย 8 คน วันนี้บ้านครูน้อยได้ยุติการดำเนินงาน ตนจึงมีความห่วงใยเลยลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เพื่อหาทางช่วยเหลือ
ทั้งนี้ เด็กจะได้กลับไปอยู่กับทางครอบครัวของตนเอง โดย พม.จะมีการพิจารณาเป็นครอบครัวไป หากครอบครัวใดไม่สามารถดูแลได้เราจะรับมาดูแลเอง ที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องของเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งการยุติบทบาทสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าวอาจส่งผลกระทบกับชุมชนบ้าง เบื้องต้น ตนได้มอบเงินช่วยเหลือพร้อมให้กำลังใจครูน้อยจำนวนหนึ่ง (10,000 บาท) รวมถึง ครอบครัวเด็กที่ได้รับผลกระทบ 35 ครอบครัวๆละ 2,000 บาท
ด้าน พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า ขณะนี้ เงินในบัญชีของบ้านครูน้อยมีเพียง 400 บาท แต่มีหนี้สินที่กู้ยืมมากว่า 800,000 บาท เจ้าหนี้ 8 ราย หลังจากนี้ จะต้องตรวจสอบว่าหนี้สินจำนวนดังกล่าว มาจากเจ้าหนี้รายใดบ้าง โดยจะเชิญเจ้าหนี้ทั้งหมดมาพูดคุย เจรจา เพื่อหาตัวเลขยอดหนี้ที่ชัดเจน รวมทั้ง ตรวจสอบว่ายังมีหนี้สินอื่นๆ ที่อาจมีตกหล่นอีกหรือไม่ ก่อนดำเนินการเคลียร์หนี้สินทั้งหมด โดยเงินที่จะนำมาชดใช้ให้ครูน้อยนั้น ตนเองจะเป็นเจ้าภาพรวบรวมมาจากจิตศรัทธาของผู้ประสงค์ให้การช่วยเหลือครูน้อย ส่วนจะดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบรายต่างๆ หรือไม่ ต้องรอการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ก่อน อย่างไรก็ตาม การกู้เงินนอกระบบถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพราะดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มีการดำเนินการจับกุมมาโดยตลอด
ด้าน นางนวลน้อย กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก เนื่องจากตนไม่สามารถแบกรับภาระหนี้สินที่กู้ยืมมา เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าเทอมของเด็กในบ้านทั้ง 65 คน ยอมรับว่าปัญหาเกิดการบริหารจัดการของตนไม่ดีพอ นอกจากหนี้สินนอกระบบ ตนยังได้นำบ้านไปกู้ยืมเงินจากธนาคารอีกกว่าล้านบาท แต่ก็ยังมีความเป็นห่วงเด็ก อยากให้คนที่มีเมตตารับไปดูแล
โดยขอแก้ข่าวที่ว่าตนนำเงินไปซื้อรถป้ายแดงให้ลูก นำไปซื้อที่ดิน ซึ่งไม่เป็นความจริง การบริหารจัดการบ้านของครูน้อย ไม่ได้ทำเป็นระบบ ก่อนหน้านี้เคยมีผู้แนะนำเรื่องการจัดการบัญชี แต่ทำได้ไม่สะดวก เนื่องจากไม่คล่อง เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และตนไม่ได้อยู่ในเครือของ พม. หรือกรมประชาสงเคราะห์ ปัจจุบันตนอาศัยอยู่กับสามี ลูกก็มาอยู่ด้วยบ้างบางครั้ง
สำหรับเด็กในความอุปการะ มีอยู่ 65คน อายุระหว่าง 3 ขวบครึ่ง-17ปีเด็กที่อยู่ที่นี่มีทั้งเด็กที่ประสบปัญหาครอบครัว เด็กกำพร้า การทำงานของครูต่างจากระบบราชการ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอย่างต่ำ180,000บาท ขณะที่ยอดบริจาคสูงสุด 120,000บาท โดยมีรายได้บางส่วนจากการขายของที่เหลือใช้ นอกนั้น เป็นการกู้หนี้ในระบบ และนอกระบบ หลังจากที่มีการปิดบ้านแล้ว ตนก็จะขายบ้าน (จำนองบ้านไว้ 1 ล้านกว่าบาท) โดยจะประกาศขายบ้าน 9 ล้านบาท และยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดบ้านอีก.