xs
xsm
sm
md
lg

ห่วงบางกลุ่มชงนายกฯ ตัด ปชช.มีส่วนร่วมระบบบัตรทอง ร้องเพิ่มสัดส่วน กก.บอร์ด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

กลุ่มคนรักหลักประกันฯ ขอบคุณ รพ.สธ. ยันบัตรทองเป็นสิทธิประชาชน ห่วงบางกลุ่มเคลื่อนไหวกดดัน รบ. ตัด ประชาชนจากการมีส่วนร่วมระบบบัตรทอง ทั้งที่สัดส่วน กก. ภาคประชาชนน้อยอยู่แล้ว ด้านโฆษก สปสช. แจงให้เงินมูลนิธิหน่วยงานที่ไม่ใช่ รพ. แค่ 130 ล้านบาท ไม่ใช่ 2 - 3 หมื่นล้านบาท ตามข่าว

น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า เห็นด้วยที่ทางโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศยืนยันไม่มีกระบวนการล้มระบบบัตรทอง เพราะเป็นบริการพื้นฐานที่รัฐต้องจัดให้ประชาชน และจะดูแลผู้ป่วยทุกคนอย่างเต็มความสามารถ ทำให้ประชาชนสบายใจขึ้นมาก แต่ที่ยังเป็นกังวล คือ ความพยายามที่จะตัดการมีส่วนร่วมของประชาชนออกจากการบริหารระบบบัตรทอง ซึ่งภาครัฐต้องเข้าใจว่านี่ไม่ใช่ยุคที่ประชาชนไม่ใช่แค่ผู้รอรับบริการจากภาครัฐอีกต่อไป แต่เราขอกระบวนการมีส่วนร่วมการออกแบบระบบที่เป็นของประชาชนด้วย ทุกคนตระหนักดีว่า เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่แค่ สธ. และรัฐบาลที่จะมาออกแบบโดยละทิ้งประชาชนเป็นเพียงแค่ผู้รอรับบริการ จึงขอเรียกร้องให้สร้างกระบวนการเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะบอร์ด สปสช. ที่ตอนนี้มีสัดส่วนภาคประชาชนจำนวนน้อย

“ยืนยันว่า กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการตั้งคณะกรรมการ ทั้งตัวแทนรัฐที่มาจากกระทรวงต่าง ๆ (ข้าราชการ) มาจากหน่วยบริการของ สธ. (ข้าราชการ) และเอกชน ตัวแทนองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุขอีกทุกองค์กร (ที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการด้วย) ผู้ทรงคุณวุฒิ (ข้าราชการและอดีตข้าราชการ) องค์กรท้องถิ่น และประชาชน 5 คน ทั้งที่คณะกรรมการ แห่งนี้ควรต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชนเพื่อออกแบบระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชนด้วยซ้ำไป” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าว

นายธนพล ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ป่วยยังมีประเด็นที่ต้องกังวล คือ มีข่าวว่ายังมีการเคลื่อนไหวจะกดดันให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจพิเศษตัดการมีส่วนร่วมของประชาชนออกจากบอร์ดของ สปสช. และเพิ่มตัวแทน รพ. ของรัฐและเอกชนมากขึ้น ถ้าเป็นจริงก็เท่ากับรัฐบาลจะละทิ้งไม่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชน ทำให้ประชาชนเป็นเพียงแค่ผู้รอรับบริการเท่านั้น และทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพเป็นระบบอนาถาเหมือนในอดีตก่อนมี พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

ด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า การให้ข่าวของ นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ผู้อำนวยการ รพ.พระนครศรีอยุธยา ว่า สปสช. จัดสรรเงินไปให้มูลนิธิ หน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ รพ. กว่า 2 - 3 หมื่นล้านบาทต่อปี นั้น ทำให้เกิดความเสียหายและมีการวิพากษ์วิจารณ์จนเกรงว่าจะทำให้สังคมเข้าใจการบริหารงานของ สปสช. ผิด รวมทั้งอาจทำให้ท่านนายกรัฐมนตรีไม่สบายใจ จึงขอชี้แจงว่าเป็นข้อมูลเท็จ เพราะในปี 2557 สปสช. มีการจัดสรรงบกองทุนให้กับมูลนิธิ ชมรม สมาคม สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยบริการ ยกเว้นการซื้อยาและวัคซีนที่จำเป็นจากองค์การเภสัชกรรมของรัฐ เพื่อจัดส่งให้ รพ. ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการของ รพ. ต่าง ๆ ทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีประสิทธฺภาพมากขึ้น เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน โดยอยู่ที่ 130 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.1 ของงบเหมาจ่ายที่ส่งให้หน่วยบริการเท่านั้น ไม่ใช่ 2 - 3 หมื่นล้านบาท

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่


กำลังโหลดความคิดเห็น