สปสช.ไฟเขียวให้ยารักษาตับอักเสบซีเรื้อรังทุกราย เริ่มตุลาคมนี้ หลังพบคนเข้าถึงยาแค่ 3,000 ราย เหตุตรวจคัดกรองมาก แถมค่าใช้จ่ายสูง นักวิชาการด้านยาชี้ไทยยังมีแค่ “ยาเพกกิเลต อินเตอร์เฟียรอน” เหตุยาใหม่กลุ่ม DAA ติดสิทธิบัตร ราคาแพงเม็ดละกว่า 3 หมื่นบาท แม้มียาสามัญในอินเดียก็นำเข้าไม่ได้
นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า แม้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) จะบรรจุให้การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ด้วยการให้ยาฉีด “เพกกิเลต อินเตอร์เฟียรอน” อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 สัปดาห์ หากเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยก็ต้องฉีดต่อเนื่อง 48 สัปดาห์ ร่วมกับยาไรบาวิริน ซึ่งช่วยลดราคายาจากเดิมหลอดละ 10,000-20,000 บาท เหลือเพียง 3,000 บาท แต่จากการติดตามพบว่าผู้ป่วยยังคงมีปัญหาการเข้าถึงยาเพราะมีการใช้ยาที่น้อยมาก ปัจจุบันน่าจะมีผู้ป่วยได้รับยาเพียงแค่ 3,000 ราย จากที่คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยที่ต้องได้รับยานี้อยู่ที่ 10,000 ราย เนื่องจากก่อนรับยาต้องมีการตรวจคัดกรองอย่างมาก ทั้งการตรวจภาวะตับอักเสบเรื้อรัง สภาพตับ และสายพันธุ์ไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งมี 7 สายพันธุ์ โดยยามีประสิทธิผลดีกับสายพันธุ์ 3 และมีค่าใช้จ่ายที่ 20,000 บาทต่อราย ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะสูงถึง 40,000 บาทต่อราย สปสช.จึงได้ออกหลักเกณฑ์ใหม่โดยให้ยานี้กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังทุกราย โดยเริ่มเดือนตุลาคมนี้ ขณะนี้เครือข่ายผู้ป่วยพยายามทำงานกับชุมชนและโรงพยาบาลเพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์การให้ยาผู้ป่วยตับอักเสบซีใหม่นี้
นายเฉลิมศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้มียาโซฟอสบูเวียร์ เป็นยาใหม่ที่ให้การรักษาดีกว่ายาเดิมมาก เพราะเป็นยาที่เข้าไปจัดการกับตัวไวรัสโดยตรง เรียกว่ายา Direct Acting Antiviral drugs (DAA) จึงช่วยลดระยะเวลาการรักษาต่อเนื่องลงเหลือเพียง 12 สัปดาห์ และไม่มีผลข้างเคียง ขณะที่ยาเพกกิเลต อินเตอร์เฟียรอนเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ใช้เวลาการรักษา 24-48 เดือน มีผลข้างเคียงมากคล้ายกับผู้ป่วยได้รับยาคีโมบำบัด เช่น ผมร่วง เบื่ออาหาร ตัวซีด เป็นต้น แต่เนื่องจากยังติดสิทธิบัตร ทำให้ยาโซฟอสบูเวียร์มีราคาสูงเม็ดละ 33,000 บาท และต้องกินต่อเนื่อง 3 เดือน คิดเป็นเงินกว่า 2.5 ล้านบาท จึงเป็นปัญหาการเข้าถึงยา เครือข่ายประชาสังคมและผู้ป่วยทั่วโลกกำลังต่อสู้ในเรื่องนี้ โดยพบความไม่สมบูรณ์ของสิทธิบัตร เนื่องจากยานี้มีโครงสร้างยาคล้ายกับยาต้านไวรัสเอชไอวีบางรายการที่มีใช้มานานแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทยาในอินเดียจะผลิตยาดังกล่าวเป็นยาสามัญได้ ราคาเม็ดละ 240-300 บาท ก็ไม่สามารถนำเข้าได้ เพราะติดสิทธิบัตรยา จึงมีการยื่นคัดค้านการจดสิทธิบัตรนี้รวมถึงไทย นอกจากนี้ ยังทราบว่ามีบริษัทยาอื่นๆ ที่ผลิตยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มยา DAA เช่นกัน นับเป็นความหวังของผู้ป่วย ซึ่งหากยา DAA มียาสามัญทั้งจากนำเข้าหรือผลิต ราคาถูกลง เชื่อว่าจะถูกบรรจุเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเช่นกัน เพราะเป็นโรคที่ขาดได้ด้วยยา คุ้มค่าการรักษา
ด้าน นพ.ชูชัย ศรชำนิ ประธานกลุ่มภารกิจ สนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษานับเป็นภารกิจหลักของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ผ่านมา สปสช.จึงได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ระบบสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม แม้แต่โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการเข้าถึงยาเพกกิเลต อินเตอร์เฟียรอนในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ สปสช.ได้ต่อรองราคายาจากเข็มละกว่าหมื่นบาท จนนำยาเข้าสู่ระบบให้กับผู้ป่วยได้ รวมถึงการปรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษาจนผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้ เป็นการดำเนินการในระดับนโยบาย ส่วนในระดับปฏิบัติที่ยังเป็นปัญหาจะมีการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลต่างๆ และเครือข่ายผู้ป่วย เพื่อแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเข้าถึงการรักษาต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า แม้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) จะบรรจุให้การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ด้วยการให้ยาฉีด “เพกกิเลต อินเตอร์เฟียรอน” อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 สัปดาห์ หากเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยก็ต้องฉีดต่อเนื่อง 48 สัปดาห์ ร่วมกับยาไรบาวิริน ซึ่งช่วยลดราคายาจากเดิมหลอดละ 10,000-20,000 บาท เหลือเพียง 3,000 บาท แต่จากการติดตามพบว่าผู้ป่วยยังคงมีปัญหาการเข้าถึงยาเพราะมีการใช้ยาที่น้อยมาก ปัจจุบันน่าจะมีผู้ป่วยได้รับยาเพียงแค่ 3,000 ราย จากที่คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยที่ต้องได้รับยานี้อยู่ที่ 10,000 ราย เนื่องจากก่อนรับยาต้องมีการตรวจคัดกรองอย่างมาก ทั้งการตรวจภาวะตับอักเสบเรื้อรัง สภาพตับ และสายพันธุ์ไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งมี 7 สายพันธุ์ โดยยามีประสิทธิผลดีกับสายพันธุ์ 3 และมีค่าใช้จ่ายที่ 20,000 บาทต่อราย ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะสูงถึง 40,000 บาทต่อราย สปสช.จึงได้ออกหลักเกณฑ์ใหม่โดยให้ยานี้กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังทุกราย โดยเริ่มเดือนตุลาคมนี้ ขณะนี้เครือข่ายผู้ป่วยพยายามทำงานกับชุมชนและโรงพยาบาลเพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์การให้ยาผู้ป่วยตับอักเสบซีใหม่นี้
นายเฉลิมศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้มียาโซฟอสบูเวียร์ เป็นยาใหม่ที่ให้การรักษาดีกว่ายาเดิมมาก เพราะเป็นยาที่เข้าไปจัดการกับตัวไวรัสโดยตรง เรียกว่ายา Direct Acting Antiviral drugs (DAA) จึงช่วยลดระยะเวลาการรักษาต่อเนื่องลงเหลือเพียง 12 สัปดาห์ และไม่มีผลข้างเคียง ขณะที่ยาเพกกิเลต อินเตอร์เฟียรอนเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ใช้เวลาการรักษา 24-48 เดือน มีผลข้างเคียงมากคล้ายกับผู้ป่วยได้รับยาคีโมบำบัด เช่น ผมร่วง เบื่ออาหาร ตัวซีด เป็นต้น แต่เนื่องจากยังติดสิทธิบัตร ทำให้ยาโซฟอสบูเวียร์มีราคาสูงเม็ดละ 33,000 บาท และต้องกินต่อเนื่อง 3 เดือน คิดเป็นเงินกว่า 2.5 ล้านบาท จึงเป็นปัญหาการเข้าถึงยา เครือข่ายประชาสังคมและผู้ป่วยทั่วโลกกำลังต่อสู้ในเรื่องนี้ โดยพบความไม่สมบูรณ์ของสิทธิบัตร เนื่องจากยานี้มีโครงสร้างยาคล้ายกับยาต้านไวรัสเอชไอวีบางรายการที่มีใช้มานานแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทยาในอินเดียจะผลิตยาดังกล่าวเป็นยาสามัญได้ ราคาเม็ดละ 240-300 บาท ก็ไม่สามารถนำเข้าได้ เพราะติดสิทธิบัตรยา จึงมีการยื่นคัดค้านการจดสิทธิบัตรนี้รวมถึงไทย นอกจากนี้ ยังทราบว่ามีบริษัทยาอื่นๆ ที่ผลิตยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มยา DAA เช่นกัน นับเป็นความหวังของผู้ป่วย ซึ่งหากยา DAA มียาสามัญทั้งจากนำเข้าหรือผลิต ราคาถูกลง เชื่อว่าจะถูกบรรจุเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเช่นกัน เพราะเป็นโรคที่ขาดได้ด้วยยา คุ้มค่าการรักษา
ด้าน นพ.ชูชัย ศรชำนิ ประธานกลุ่มภารกิจ สนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษานับเป็นภารกิจหลักของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ผ่านมา สปสช.จึงได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ระบบสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม แม้แต่โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการเข้าถึงยาเพกกิเลต อินเตอร์เฟียรอนในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ สปสช.ได้ต่อรองราคายาจากเข็มละกว่าหมื่นบาท จนนำยาเข้าสู่ระบบให้กับผู้ป่วยได้ รวมถึงการปรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษาจนผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้ เป็นการดำเนินการในระดับนโยบาย ส่วนในระดับปฏิบัติที่ยังเป็นปัญหาจะมีการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลต่างๆ และเครือข่ายผู้ป่วย เพื่อแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเข้าถึงการรักษาต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่