วันนี้ (9 ก.ค.) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ประจำปี 2558 ครั้งที่ 2 ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าด้านงบประมาณป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในปีงบประมาณ 2559 ขณะนี้ได้รับการจัดสรรป้องกันรักษารวม 3,576 ล้านบาท ขณะเดียวกันกองทุนโลกเพื่อป้องกันแก้ไขโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย จะงดให้เงินสนับสนุนให้กับประเทศไทยในปี 2560 ซึ่งเคยหนุนปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ที่ประชุมจึงได้ตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อดำเนินการต่อเนื่องหลังจากนี้ คาดว่าจะได้ความชัดเจนในเดือนกันยายนนี้
สำหรับมาตรการยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทยพร้อมกับทั่วโลก ซึ่งกำหนดภายในพ.ศ.2573 เป้าหมายหลัก คือ 3 ต. คือไม่มีตาย ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม และไม่มีการตีตราผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ประชุมเห็นชอบผลักดัน 6 มาตรการ ได้แก่ 1.ให้มีแผนปฏิบัติการบูรณาการร่วมของหน่วยราชการจังหวัดและท้องถิ่นร่วมกับทุกกระทรวง และนำเสนอคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ 2.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับประเทศขับเคลื่อนและสนับสนุนการยุติปัญหาเอดส์ ดำเนินการทั้งด้านการป้องกันและการรักษา 3.เตรียมจัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีในกลางปีหน้า
4.การส่งเสริมการตรวจหาเชื้อเอชไอวี บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์การตรวจสุขภาพประจำปีของข้าราชการ ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการระดับประเทศด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ เป็นทางเลือกด้วยความสมัครใจ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและการดูแลสุขภาพข้าราชการและครอบครัว อีกทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจวินิจฉัยที่มีมาตรฐาน 5.ขยายการส่งเสริมการอยู่ร่วมในสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานที่ทำงานครอบคลุมทั้งหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยไม่เลือกปฎิบัติ เพื่อลดการกีดกัน การตีตรา ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2557 มีองค์กรสมัครเข้าร่วมแล้ว 101 องค์กร และ 6.พิจารณาข้อเสนอจากอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กรณีเด็กถูกเลือกปฏิบัติในการเรียน เนื่องจากติดเชื้อเอชไอวี โดยจะมีการณรณรงค์สร้างความเข้าใจประชาชน และเปิดรับข้อร้องเรียนจากประชาชนทางหมายเลข 1422
ทางด้าน ศ.นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การยุติปัญหาเอดส์เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่จะให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาฟรีตั้งแต่รู้ว่าติดเชื้อโดยไม่ต้องรอให้ป่วยก่อน เพื่อป้องกันโรครุนแรง หรือแพร่กระจายเชื้อ ขณะนี้ยังมีประชานจำนวนหนึ่งยังไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อหรือไม่ จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชน ตรวจหาเชื้อเอชไอวีมากขึ้น เพื่อให้รู้สถานะและเข้าสู่ระบบการรักษาทุกคน ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่คำนึงค่าเม็ดเลือดขาวซีดีโฟว์ เริ่มดำเนินการด้านเอดส์ในปี 2557 จนถึงขณะนี้มีผู้ติดเชื้อกำลังรับยาต้านไวรัส 266,027 ราย จากการคาดการณ์การระบาดโรคเอดส์ในปี 2557 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวียังมีชีวิตอยู่ประมาณ 438,629 คน ร้อยละ 60 ได้รับยาต้านไวรัสแล้ว จะเร่งดำเนินให้ครอบคลุมถึงร้อยละ 95
สำหรับมาตรการยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทยพร้อมกับทั่วโลก ซึ่งกำหนดภายในพ.ศ.2573 เป้าหมายหลัก คือ 3 ต. คือไม่มีตาย ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม และไม่มีการตีตราผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ประชุมเห็นชอบผลักดัน 6 มาตรการ ได้แก่ 1.ให้มีแผนปฏิบัติการบูรณาการร่วมของหน่วยราชการจังหวัดและท้องถิ่นร่วมกับทุกกระทรวง และนำเสนอคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ 2.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับประเทศขับเคลื่อนและสนับสนุนการยุติปัญหาเอดส์ ดำเนินการทั้งด้านการป้องกันและการรักษา 3.เตรียมจัดทำยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีในกลางปีหน้า
4.การส่งเสริมการตรวจหาเชื้อเอชไอวี บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์การตรวจสุขภาพประจำปีของข้าราชการ ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการระดับประเทศด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ เป็นทางเลือกด้วยความสมัครใจ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและการดูแลสุขภาพข้าราชการและครอบครัว อีกทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกระบวนการตรวจวินิจฉัยที่มีมาตรฐาน 5.ขยายการส่งเสริมการอยู่ร่วมในสังคมของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานที่ทำงานครอบคลุมทั้งหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยไม่เลือกปฎิบัติ เพื่อลดการกีดกัน การตีตรา ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2557 มีองค์กรสมัครเข้าร่วมแล้ว 101 องค์กร และ 6.พิจารณาข้อเสนอจากอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กรณีเด็กถูกเลือกปฏิบัติในการเรียน เนื่องจากติดเชื้อเอชไอวี โดยจะมีการณรณรงค์สร้างความเข้าใจประชาชน และเปิดรับข้อร้องเรียนจากประชาชนทางหมายเลข 1422
ทางด้าน ศ.นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การยุติปัญหาเอดส์เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่จะให้ผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาฟรีตั้งแต่รู้ว่าติดเชื้อโดยไม่ต้องรอให้ป่วยก่อน เพื่อป้องกันโรครุนแรง หรือแพร่กระจายเชื้อ ขณะนี้ยังมีประชานจำนวนหนึ่งยังไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อหรือไม่ จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชน ตรวจหาเชื้อเอชไอวีมากขึ้น เพื่อให้รู้สถานะและเข้าสู่ระบบการรักษาทุกคน ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่คำนึงค่าเม็ดเลือดขาวซีดีโฟว์ เริ่มดำเนินการด้านเอดส์ในปี 2557 จนถึงขณะนี้มีผู้ติดเชื้อกำลังรับยาต้านไวรัส 266,027 ราย จากการคาดการณ์การระบาดโรคเอดส์ในปี 2557 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวียังมีชีวิตอยู่ประมาณ 438,629 คน ร้อยละ 60 ได้รับยาต้านไวรัสแล้ว จะเร่งดำเนินให้ครอบคลุมถึงร้อยละ 95