เครือข่ายเอดส์แฉอีก ยารักษาตับอักเสบซี “โซฟอสบูเวียร์” ราคาเม็ดละ 3 หมื่นบาท ไม่มีความใหม่ ไม่มีนวัตกรรมสูงขึ้นในเชิงเภสัชศาสตร์ ไม่ควรได้รับการจดสิทธิบัตร
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวถึงการออกมาเรียกร้องให้กรมทรัพย์สินทางปัญญายกเลิกคำร้องขอจดสิทธิบัตรยารักษาไวรัสตับอักเสบซี “โซฟอสบูเวียร์” ของบริษัท กิลิแอด ซึ่งมีราคาเม็ดละ 30,000 บาท ใช้เวลารักษา 3 เดือน ผู้ป่วยต้องจ่ายกว่า 2.5 ล้านบาท ซึ่งหากได้จดสิทธิบัตรจะผูกขาดยาเป็นเวลา 20 ปี ว่า สิทธิบัตรทองครอบคลุมการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี แต่เป็นการให้ยาฉีด “เพ็กกิเลด อินเตอร์เฟอรอน” ซึ่งฉีดสัปดาห์ละ 1 เข็ม คู่กับยากินที่ชื่อ “ไรบาไวริน” ที่กินวันละ 1 เม็ด เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งได้ผลดีประมาณ 70 - 80% ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 2 และ 3 แต่ประสิทธิภาพด้อยลง ประมาณ 50 - 70% ในสายพันธุ์อื่น ซึ่งยาทั้ง 2 ตัวนี้ทำให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถทนได้และอาจขอยุติการรักษาก่อนที่จะได้รับยาจนครบ แนวทางการรักษาทั่วโลก จึงเปลี่ยนมาให้ใช้ยาในกลุ่มดีเอเอแทน ซึ่งรวมถึงยาโซฟอสบูเวียร์ แต่ปัญหาคือยามีราคาแพงมาก เพราะการผูดขาดตลาดโดยใช้สิทธิบัตร
“ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีในไทยส่วนมากจะมีเชื้อสายพันธุ์ที่ 2 และ 3 แม้ยาโซฟอสบูเวียร์จะใช้ได้ผลดีกับสายพันธุ์ที่ 1 แต่ก็สามารถใช้ควบคู่กับยาเพ็กกิเลท อินเตอร์เฟอรอน และ ยาไรบาไวริน ได้ โดยใช้เวลาการรักษาสั้นเกือบครึ่งหนึ่ง ช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงน้อยและสั้นลง มีโอกาสหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสูงขึ้น” นายนิมิตร์ กล่าวและว่า ยาโซฟอสบูเวียร์ยังไม่มีใช้ในไทย เนื่องจากอยู่ระหว่างขึ้นทะเบียนยาโดย อย. และการพิจารณาของคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งราคาของยาดังกล่าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่คณะกรรมการบัญชียาหลักฯ และ สปสช. ต้องคำนึงถึงว่าจะสามารถรวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์บัตรทองได้หรือไม่” นายนิมิตร์ กล่าว
นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ที่ต้องคัดค้านการขอสิทธิบัตร เพราะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่า บริษัท กิลิแอด ไม่ได้มีและไม่เคยเปิดเผยต้นทุนการวิจัยและพัฒนายาโซฟอสบูเวียร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชศาสตร์มีความเห็นว่า ยาโซฟอสบูเวียร์ไม่น่าที่จะเข้าข่ายว่าเป็นยาใหม่ในทางเภสัชศาสตร์ ภาคประชาสังคม กลุ่มผู้ป่วย แพทย์ และนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในหลายประเทศ จึงยื่นคำคัดค้านต่อสำนักสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาของยุโรป อาร์เจนตินา รัสเซีย ยูเครน บราซิล อินเดีย จีน อินโดนีเซีย โมร็อกโก และ ไทย เพื่อไม่ให้สิทธิผูกขาดแก่ยาตัวนี้ ถ้าสำนักสิทธิบัตรฯ รับคำคัดค้านจะทำให้คำขอรับสิทธิบัตรตกไป และยาโซฟอสบูเวียร์จะไม่ถือว่าเป็นยาใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทยาอื่น สามารถผลิตและจำหน่ายยานี้ได้ในราคาที่ถูกลง เป็นผลดีกับผู้ป่วย
“สปสช. กำลังพิจารณาที่จะอนุมัติขยายสิทธิประโยชน์ในเรื่องการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ให้ครอบคลุมเรื่องการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ของไวรัส การตรวจปริมาณไวรัส การตรวจสภาพตับ รวมถึงการตรวจต่างๆ เพื่อติดตามการรักษา ซึ่งถ้าผ่านการอนุมัติ การขยายสิทธิประโยชน์นี้จะมีผลตั้งแต่ ต.ค. 2558 โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็จะสามารถเปิดค่าตรวจต่างๆ เหล่านี้ได้จาก สปสช.” นายเฉลิมศักดิ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวถึงการออกมาเรียกร้องให้กรมทรัพย์สินทางปัญญายกเลิกคำร้องขอจดสิทธิบัตรยารักษาไวรัสตับอักเสบซี “โซฟอสบูเวียร์” ของบริษัท กิลิแอด ซึ่งมีราคาเม็ดละ 30,000 บาท ใช้เวลารักษา 3 เดือน ผู้ป่วยต้องจ่ายกว่า 2.5 ล้านบาท ซึ่งหากได้จดสิทธิบัตรจะผูกขาดยาเป็นเวลา 20 ปี ว่า สิทธิบัตรทองครอบคลุมการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี แต่เป็นการให้ยาฉีด “เพ็กกิเลด อินเตอร์เฟอรอน” ซึ่งฉีดสัปดาห์ละ 1 เข็ม คู่กับยากินที่ชื่อ “ไรบาไวริน” ที่กินวันละ 1 เม็ด เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งได้ผลดีประมาณ 70 - 80% ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 2 และ 3 แต่ประสิทธิภาพด้อยลง ประมาณ 50 - 70% ในสายพันธุ์อื่น ซึ่งยาทั้ง 2 ตัวนี้ทำให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถทนได้และอาจขอยุติการรักษาก่อนที่จะได้รับยาจนครบ แนวทางการรักษาทั่วโลก จึงเปลี่ยนมาให้ใช้ยาในกลุ่มดีเอเอแทน ซึ่งรวมถึงยาโซฟอสบูเวียร์ แต่ปัญหาคือยามีราคาแพงมาก เพราะการผูดขาดตลาดโดยใช้สิทธิบัตร
“ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีในไทยส่วนมากจะมีเชื้อสายพันธุ์ที่ 2 และ 3 แม้ยาโซฟอสบูเวียร์จะใช้ได้ผลดีกับสายพันธุ์ที่ 1 แต่ก็สามารถใช้ควบคู่กับยาเพ็กกิเลท อินเตอร์เฟอรอน และ ยาไรบาไวริน ได้ โดยใช้เวลาการรักษาสั้นเกือบครึ่งหนึ่ง ช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงน้อยและสั้นลง มีโอกาสหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสูงขึ้น” นายนิมิตร์ กล่าวและว่า ยาโซฟอสบูเวียร์ยังไม่มีใช้ในไทย เนื่องจากอยู่ระหว่างขึ้นทะเบียนยาโดย อย. และการพิจารณาของคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งราคาของยาดังกล่าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่คณะกรรมการบัญชียาหลักฯ และ สปสช. ต้องคำนึงถึงว่าจะสามารถรวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์บัตรทองได้หรือไม่” นายนิมิตร์ กล่าว
นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ที่ต้องคัดค้านการขอสิทธิบัตร เพราะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่า บริษัท กิลิแอด ไม่ได้มีและไม่เคยเปิดเผยต้นทุนการวิจัยและพัฒนายาโซฟอสบูเวียร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชศาสตร์มีความเห็นว่า ยาโซฟอสบูเวียร์ไม่น่าที่จะเข้าข่ายว่าเป็นยาใหม่ในทางเภสัชศาสตร์ ภาคประชาสังคม กลุ่มผู้ป่วย แพทย์ และนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในหลายประเทศ จึงยื่นคำคัดค้านต่อสำนักสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาของยุโรป อาร์เจนตินา รัสเซีย ยูเครน บราซิล อินเดีย จีน อินโดนีเซีย โมร็อกโก และ ไทย เพื่อไม่ให้สิทธิผูกขาดแก่ยาตัวนี้ ถ้าสำนักสิทธิบัตรฯ รับคำคัดค้านจะทำให้คำขอรับสิทธิบัตรตกไป และยาโซฟอสบูเวียร์จะไม่ถือว่าเป็นยาใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทยาอื่น สามารถผลิตและจำหน่ายยานี้ได้ในราคาที่ถูกลง เป็นผลดีกับผู้ป่วย
“สปสช. กำลังพิจารณาที่จะอนุมัติขยายสิทธิประโยชน์ในเรื่องการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ให้ครอบคลุมเรื่องการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ของไวรัส การตรวจปริมาณไวรัส การตรวจสภาพตับ รวมถึงการตรวจต่างๆ เพื่อติดตามการรักษา ซึ่งถ้าผ่านการอนุมัติ การขยายสิทธิประโยชน์นี้จะมีผลตั้งแต่ ต.ค. 2558 โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็จะสามารถเปิดค่าตรวจต่างๆ เหล่านี้ได้จาก สปสช.” นายเฉลิมศักดิ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่