“อานนท์ - อภิวัฒน์” ยันไม่ต้องการล้ม “30 บาท รักษาทุกโรค” เป็นสวัสดิการสังคมที่จำเป็นต้องมี แต่ต้องปฏิรูปขจัดเหลือบไรปรสิต ให้คนไทยได้รับการดูแลยิ่งกว่าเดิม ชี้ สปสช.ให้เงินเอ็นจีโอสร้างฐานอำนาจ ใช้งบไม่ถูกต้องตาม กม. ทำ รพ.ขาดทุน แนะใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงบริหารระบบ
หลังจาก ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย สาขาวิทยาการประกันภัยและบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ศ.นพ. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเปิดเผยถึงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กรณีมีข้อมูลในงานวิจัยที่พบผู้ป่วยบัตรทองอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยข้าราชการอายุ 60 ปีขึ้นไป ล่าสุด ดร.อานนท์ และ ศ.นพ.อภิวัฒน์ ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่าการกระทำดังกล่าว ไม่ได้เป็นการล้มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) แต่โปรดขจัดเหลือบไรปรสิตออกไป และปฏิรูปให้ประชาชนคนยากจนได้รับการดูแลที่ดียิ่งกว่าเดิม โดยระบุว่า บัตรทองเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นมาก โดยเฉพาะคนที่ยากจน ซึ่งระบบนี้ไม่ใช่ประชานิยม หากนักการเมืองไม่ร่วมกับข้าราชการบางส่วนทำให้เป็นประชานิยมเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง เพราะโดยเนื้อแท้ระบบนี้เป็นสวัสดิการสังคมที่จำเป็นต้องมี ทุกคนควรได้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพพอสมควรอย่างมีเหตุผล สิ่งที่ควรทำคือปฏิรูประบบนี้ให้ดีให้เหมาะสมกับประเทศไทย สร้างระบบที่ไม่ให้นักการเมืองเลวและข้าราชการเลว รวบอำนาจกุมอำนาจในมือมากเกินไป จนเกิดความฉ้อฉล
ปัญหาในเรื่องการใช้งบประมาณอย่างไม่ถูกต้องของ สปสช. นั้น ทาง คตร. ปปง. สตง. และ ป.ป.ท. ได้ดำเนินการตรวจสอบและพบข้อพิรุธที่น่าจะสงสัยได้ว่าจะมีการทุจริต และยังกระทำผิดกฎหมายไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทั้งการนำเงินไปจ่ายให้เอ็นจีโอเพื่อสร้างฐานเสียงทางการเมืองและมวลชนอันอาจจะเป็นภัยความมั่นคงของชาติได้ การนำเงินไปจัดซื้อจัดยาต่างๆ โดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย เพราะยาที่จัดซื้อโดยองค์การเภสัชกรรมไม่ต้องขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำให้ขาดการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งยังมีการให้เงินคืน (Rebate) เข้ามาใน สปสช. แทนที่จะนำไปให้โรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยบริการอย่างเต็มที่ ผลของการทุจริตดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลไม่ได้เงินที่สมควรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ขาดทุน และประชาชนได้รับการบริการที่แย่ลง ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากกว่าสิทธิอื่น
เราไม่เคยต้องการล้มบัตรทอง แต่ไม่ต้องการเห็นระบบที่ไม่สมดุลจนต้องประหยัดค่ารักษาจนตัดหรือลดสิทธิผู้ป่วยในการรักษาโรคที่เสี่ยงต่อความตาย หรือพิการ ไม่ต้องการเห็น รพ.ขาดทุนต่อเนื่องจนล้มทั่วประเทศ ไม่ต้องการเห็นภาระงบประมาณที่สูงจนรัฐบาลรับไม่ไหว และไม่ต้องการเห็นแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักจนหมดสภาพ การเปลี่ยนแปลงที่อยากเห็น คือ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับระบบหลักประกันฯ มีการใช้เหตุผล มีความพอเพียงและมีภูมิคุ้มกันในระบบสาธารณสุข อยากให้สังคมไทยอยู่กันด้วยจิตสำนึกสาธารณะ อยากให้คนที่มีฐานะร่วมจ่ายเป็นผู้ให้และผู้รับในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเกื้อกูลกับระบบและส่วนรวม และรัฐบาลควรสร้างระบบที่ทำให้คนมีเงินเต็มใจควักเงินออกมาจ่ายเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีกว่า รวดเร็วกว่า สะดวกกว่า เพื่อนำผลกำไรไปช่วยเหลือคนยากจน สุดท้ายเราอยากเห็นการรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ในทุกๆ สิทธิไม่ว่าจะจนหรือรวย
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า ขณะนี้มีความพยายามในการบิดเบือนข้อเท็จจริงของการบริหารกองทุนบัตรทอง เพราะข้อเท็จจริงของงานวิจัยที่ทีดีอาร์ไอทำการศึกษานั้น ได้มีการเปิดเผยทั้งหมด และการวิจัยครั้งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ว่า ต้องการทราบว่าใครเสียชีวิตจากสิทธิไหนมากกว่ากัน แต่ต้องการให้ทราบว่าสิทธิประโยชน์ การเข้าถึงบริการ และการปรับปรุงระบบควรเป็นไปในทิศทางใด แต่ที่ผ่านมาทั้งหมดกลับให้ข้อมูลโจมตี มีการพูดถึงการบริหารของสปสช.ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบของ คตร. สตง. ซึ่งจริงๆ ทั้งหมดมีการตรวจสอบไปแล้วทั้งสิ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการฟ้องร้องกลับหรือไม่ ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ฟ้องไปก็เท่านั้น ขอแค่ประชาชนรับฟังทั้งสองด้าน เพราะจริงๆ แล้ว หากพูดถึงอัตราการเสียชีวิต และเทียบกับจำนวนประชากรในสิทธิที่บัตรทองดูอยู่ถึง 48 ล้านคนนั้น มีจำนวนมากที่สุดในการดูแลของสิทธิสุขภาพภาครัฐ เพราะสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการอยู่ที่ 5 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมามีทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งสมมติฐานว่า หากแบ่งฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1. คนจนที่สุด 2. คนจน 3. คนฐานะปานกลาง 4. คนรวย และ 5. คนรวยที่สุด โดยพบว่าครึ่งหนึ่งขอบัตรทองเป็นคนจน กับคนจนที่สุด แต่ครึ่งหนึ่งของข้าราชการ เป็นคนรวย และรวยที่สุด ซึ่งฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน โอกาสรับการรักษาพยาบาลก็ต้องแตกต่าง แม้จะมีบัตรทองช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่คนบัตรทอง ต้องหาเช้ากินค่ำ ส่วนใหญ่จะไปกับทำมาหากินมากกว่า แต่ข้าราชการจะมีฐานะดีกว่า เมื่อป่วยก็จะรีบไปพบแพทย์ แต่คนบัตรทอง หากไม่ป่วยมากๆ ก็จะไม่ไปหาหมอ เวลาไปหาหมอมักจะลุกลามแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
หลังจาก ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย สาขาวิทยาการประกันภัยและบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ศ.นพ. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเปิดเผยถึงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กรณีมีข้อมูลในงานวิจัยที่พบผู้ป่วยบัตรทองอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยข้าราชการอายุ 60 ปีขึ้นไป ล่าสุด ดร.อานนท์ และ ศ.นพ.อภิวัฒน์ ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่าการกระทำดังกล่าว ไม่ได้เป็นการล้มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) แต่โปรดขจัดเหลือบไรปรสิตออกไป และปฏิรูปให้ประชาชนคนยากจนได้รับการดูแลที่ดียิ่งกว่าเดิม โดยระบุว่า บัตรทองเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นมาก โดยเฉพาะคนที่ยากจน ซึ่งระบบนี้ไม่ใช่ประชานิยม หากนักการเมืองไม่ร่วมกับข้าราชการบางส่วนทำให้เป็นประชานิยมเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง เพราะโดยเนื้อแท้ระบบนี้เป็นสวัสดิการสังคมที่จำเป็นต้องมี ทุกคนควรได้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพพอสมควรอย่างมีเหตุผล สิ่งที่ควรทำคือปฏิรูประบบนี้ให้ดีให้เหมาะสมกับประเทศไทย สร้างระบบที่ไม่ให้นักการเมืองเลวและข้าราชการเลว รวบอำนาจกุมอำนาจในมือมากเกินไป จนเกิดความฉ้อฉล
ปัญหาในเรื่องการใช้งบประมาณอย่างไม่ถูกต้องของ สปสช. นั้น ทาง คตร. ปปง. สตง. และ ป.ป.ท. ได้ดำเนินการตรวจสอบและพบข้อพิรุธที่น่าจะสงสัยได้ว่าจะมีการทุจริต และยังกระทำผิดกฎหมายไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทั้งการนำเงินไปจ่ายให้เอ็นจีโอเพื่อสร้างฐานเสียงทางการเมืองและมวลชนอันอาจจะเป็นภัยความมั่นคงของชาติได้ การนำเงินไปจัดซื้อจัดยาต่างๆ โดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย เพราะยาที่จัดซื้อโดยองค์การเภสัชกรรมไม่ต้องขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำให้ขาดการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งยังมีการให้เงินคืน (Rebate) เข้ามาใน สปสช. แทนที่จะนำไปให้โรงพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยบริการอย่างเต็มที่ ผลของการทุจริตดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลไม่ได้เงินที่สมควรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ขาดทุน และประชาชนได้รับการบริการที่แย่ลง ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากกว่าสิทธิอื่น
เราไม่เคยต้องการล้มบัตรทอง แต่ไม่ต้องการเห็นระบบที่ไม่สมดุลจนต้องประหยัดค่ารักษาจนตัดหรือลดสิทธิผู้ป่วยในการรักษาโรคที่เสี่ยงต่อความตาย หรือพิการ ไม่ต้องการเห็น รพ.ขาดทุนต่อเนื่องจนล้มทั่วประเทศ ไม่ต้องการเห็นภาระงบประมาณที่สูงจนรัฐบาลรับไม่ไหว และไม่ต้องการเห็นแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทำงานหนักจนหมดสภาพ การเปลี่ยนแปลงที่อยากเห็น คือ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับระบบหลักประกันฯ มีการใช้เหตุผล มีความพอเพียงและมีภูมิคุ้มกันในระบบสาธารณสุข อยากให้สังคมไทยอยู่กันด้วยจิตสำนึกสาธารณะ อยากให้คนที่มีฐานะร่วมจ่ายเป็นผู้ให้และผู้รับในเวลาเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเกื้อกูลกับระบบและส่วนรวม และรัฐบาลควรสร้างระบบที่ทำให้คนมีเงินเต็มใจควักเงินออกมาจ่ายเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีกว่า รวดเร็วกว่า สะดวกกว่า เพื่อนำผลกำไรไปช่วยเหลือคนยากจน สุดท้ายเราอยากเห็นการรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์ในทุกๆ สิทธิไม่ว่าจะจนหรือรวย
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า ขณะนี้มีความพยายามในการบิดเบือนข้อเท็จจริงของการบริหารกองทุนบัตรทอง เพราะข้อเท็จจริงของงานวิจัยที่ทีดีอาร์ไอทำการศึกษานั้น ได้มีการเปิดเผยทั้งหมด และการวิจัยครั้งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ว่า ต้องการทราบว่าใครเสียชีวิตจากสิทธิไหนมากกว่ากัน แต่ต้องการให้ทราบว่าสิทธิประโยชน์ การเข้าถึงบริการ และการปรับปรุงระบบควรเป็นไปในทิศทางใด แต่ที่ผ่านมาทั้งหมดกลับให้ข้อมูลโจมตี มีการพูดถึงการบริหารของสปสช.ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบของ คตร. สตง. ซึ่งจริงๆ ทั้งหมดมีการตรวจสอบไปแล้วทั้งสิ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการฟ้องร้องกลับหรือไม่ ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ฟ้องไปก็เท่านั้น ขอแค่ประชาชนรับฟังทั้งสองด้าน เพราะจริงๆ แล้ว หากพูดถึงอัตราการเสียชีวิต และเทียบกับจำนวนประชากรในสิทธิที่บัตรทองดูอยู่ถึง 48 ล้านคนนั้น มีจำนวนมากที่สุดในการดูแลของสิทธิสุขภาพภาครัฐ เพราะสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการอยู่ที่ 5 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมามีทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งสมมติฐานว่า หากแบ่งฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1. คนจนที่สุด 2. คนจน 3. คนฐานะปานกลาง 4. คนรวย และ 5. คนรวยที่สุด โดยพบว่าครึ่งหนึ่งขอบัตรทองเป็นคนจน กับคนจนที่สุด แต่ครึ่งหนึ่งของข้าราชการ เป็นคนรวย และรวยที่สุด ซึ่งฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน โอกาสรับการรักษาพยาบาลก็ต้องแตกต่าง แม้จะมีบัตรทองช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่คนบัตรทอง ต้องหาเช้ากินค่ำ ส่วนใหญ่จะไปกับทำมาหากินมากกว่า แต่ข้าราชการจะมีฐานะดีกว่า เมื่อป่วยก็จะรีบไปพบแพทย์ แต่คนบัตรทอง หากไม่ป่วยมากๆ ก็จะไม่ไปหาหมอ เวลาไปหาหมอมักจะลุกลามแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่