ทีดีอาร์ไอแจงอีกรอบ ย้ำ งานวิจัยไม่เคยพูดผู้ป่วยบัตรทองตายสูงกว่าข้าราชการ ติง “อานนท์ - อภิวัฒน์” ใช้ความเห็นส่วนตัว ยันไม่เคยหมกเม็ดผลการวิจัย และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ตีความตรงไปตรงมาไม่เอาใจผู้ว่าจ้าง
จากกรณี ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำผลการวิจัยเรื่อง ผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ ซึ่งจัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสิทธิบัตรทองมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปในสิทธิข้าราชการ และมีการตั้งคำถามว่าทีดีอาร์ไอมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้สนับสนุนในการทำวิจัย
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ หนึ่งในผู้วิจัยเรื่องดังกล่าวของทีดีอาร์ไอ ได้เขียนบทความชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ทีดีอาร์ไอขอชี้แจงใน 3 ประเด็นข้อกล่าวหา คือ 1. ทีดีอาร์ไอไม่เปิดเผยผลการศึกษาหรือเปิดเผยผลการศึกษาล่าช้า ซึ่งที่จริงแล้วมีการเปิดให้ดาวน์โหลดในเว็บไซต์ทีดีอาร์ไอตั้งแต่ มี.ค. 2558 และส่งให้ห้องสมุด 15 แห่ง รวมถึงห้องสมุดของนิด้า ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ ดร.อานนท์ ก็มีการทำหนังสือตอบรับว่าได้รับรายงานดังกล่าวแล้ว การเปิดเผยผลการศึกษาต่อสาธารณะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขององค์กร ให้ประชาชนตรวจสอบได้ สวนข้อมูลดิบงานวิจัยที่เรียกร้องให้ทีดีอาร์ไอเปิดเผย เนื่องจากทีดีอาร์ไอไม่ใช่เจ้าของข้อมูลจึงไม่มีสิทธิในการเปิดเผย ผู้สนใจจึงควรขอจากหน่วยงานเจ้าของข้อมูล คือ สปสช. กรมบัญชีกลางและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ห้ามอ้างอิงหรือวิจารณ์งานของทีดีอาร์ไอ เนื่องจากทีดีอาร์ไอไม่ให้ตีความว่าผู้ป่วยบัตรทองไม่ได้ตายมากผิดปกติ เพราะผิดวัตถุประสงค์หลักของการวิจัย ข้อเท็จจริงคือ ไม่มีนักวิชาการใดในทีดีอาร์ไอที่ห้ามผู้อื่นวิจารณ์หรืออ้างอิงงานของตน มีแต่บอกว่า การสรุปผลการศึกษาวิจัยควรพิจารณาตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นอยู่อย่างตรงไปตรงมา ไม่พึงคาดเดาเกินกว่าที่ข้อมูลสามารถอธิบายได้ อย่างที่ระบุว่า ทีดีอาร์ไอได้รายงานอัตราการตายของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทองสูงผิดปกติ ก็ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีที่ใดในรายงานที่ชี้ว่า อัตราการตายของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทอง “สูงผิดปกติ” จึงไม่ควรเอาความคิดเห็นตนเองไปอ้างเสมือนเป็นผลงานวิจัย หากเป็นการกระทำโดยเจตนา น่าจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ และไม่มีจริยธรรม
3. ทีดีอาร์ไอมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก สปสช. ข้อเท็จจริงคือ หน้าปกรายงานก็ปรากฏชัดเจนว่ารับทุนจาก สปสช. และมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ ส่วน นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ซึ่งเป็นอดีตกรรมการ สปสช. ก็ไม่ได้อยู่ในคณะผู้วิจัย และไม่มีหน้าที่และไม่อยู่ในฐานะใดๆ ที่จะสั่งให้ สปสช. ให้เงินสนับสนุนแก่ทีดีอาร์ไอ ที่สำคัญการการตีความข้อมูลต้องทำอย่างตรงไปตรงมา โดยปราศจากอคติ ไม่เกี่ยวกับว่าใครเป็นผู้ว่าจ้าง การที่ทีดีอาร์ไอได้รับความเชื่อถือจากสังคม เพราะนักวิจัยมีความตรงไปตรงมา ไม่ต้องเอาใจหน่วยงานผู้ว่าจ้าง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นได้เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่ครอบงำการให้ทุนทีดีอาร์ไอ เนื่องจากทีดีอาร์ไอมีนโยบายกระจายการรับทุนวิจัยจากหน่วยงานจำนวนมาก และไม่มีนโยบายการตั้งเป้าเพิ่มรายได้ เนื่องจากเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทีดีอาร์ไอจึงเป็นฝ่ายเลือกหน่วยงานผู้ว่าจ้าง ไม่น้อยกว่าที่ผู้ว่าจ้างเป็นฝ่ายเลือกทีดีอาร์ไอ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากกรณี ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำผลการวิจัยเรื่อง ผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ ซึ่งจัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสิทธิบัตรทองมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปในสิทธิข้าราชการ และมีการตั้งคำถามว่าทีดีอาร์ไอมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้สนับสนุนในการทำวิจัย
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ หนึ่งในผู้วิจัยเรื่องดังกล่าวของทีดีอาร์ไอ ได้เขียนบทความชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ทีดีอาร์ไอขอชี้แจงใน 3 ประเด็นข้อกล่าวหา คือ 1. ทีดีอาร์ไอไม่เปิดเผยผลการศึกษาหรือเปิดเผยผลการศึกษาล่าช้า ซึ่งที่จริงแล้วมีการเปิดให้ดาวน์โหลดในเว็บไซต์ทีดีอาร์ไอตั้งแต่ มี.ค. 2558 และส่งให้ห้องสมุด 15 แห่ง รวมถึงห้องสมุดของนิด้า ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ ดร.อานนท์ ก็มีการทำหนังสือตอบรับว่าได้รับรายงานดังกล่าวแล้ว การเปิดเผยผลการศึกษาต่อสาธารณะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติขององค์กร ให้ประชาชนตรวจสอบได้ สวนข้อมูลดิบงานวิจัยที่เรียกร้องให้ทีดีอาร์ไอเปิดเผย เนื่องจากทีดีอาร์ไอไม่ใช่เจ้าของข้อมูลจึงไม่มีสิทธิในการเปิดเผย ผู้สนใจจึงควรขอจากหน่วยงานเจ้าของข้อมูล คือ สปสช. กรมบัญชีกลางและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ห้ามอ้างอิงหรือวิจารณ์งานของทีดีอาร์ไอ เนื่องจากทีดีอาร์ไอไม่ให้ตีความว่าผู้ป่วยบัตรทองไม่ได้ตายมากผิดปกติ เพราะผิดวัตถุประสงค์หลักของการวิจัย ข้อเท็จจริงคือ ไม่มีนักวิชาการใดในทีดีอาร์ไอที่ห้ามผู้อื่นวิจารณ์หรืออ้างอิงงานของตน มีแต่บอกว่า การสรุปผลการศึกษาวิจัยควรพิจารณาตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นอยู่อย่างตรงไปตรงมา ไม่พึงคาดเดาเกินกว่าที่ข้อมูลสามารถอธิบายได้ อย่างที่ระบุว่า ทีดีอาร์ไอได้รายงานอัตราการตายของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทองสูงผิดปกติ ก็ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีที่ใดในรายงานที่ชี้ว่า อัตราการตายของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรทอง “สูงผิดปกติ” จึงไม่ควรเอาความคิดเห็นตนเองไปอ้างเสมือนเป็นผลงานวิจัย หากเป็นการกระทำโดยเจตนา น่าจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ และไม่มีจริยธรรม
3. ทีดีอาร์ไอมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก สปสช. ข้อเท็จจริงคือ หน้าปกรายงานก็ปรากฏชัดเจนว่ารับทุนจาก สปสช. และมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ ส่วน นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ซึ่งเป็นอดีตกรรมการ สปสช. ก็ไม่ได้อยู่ในคณะผู้วิจัย และไม่มีหน้าที่และไม่อยู่ในฐานะใดๆ ที่จะสั่งให้ สปสช. ให้เงินสนับสนุนแก่ทีดีอาร์ไอ ที่สำคัญการการตีความข้อมูลต้องทำอย่างตรงไปตรงมา โดยปราศจากอคติ ไม่เกี่ยวกับว่าใครเป็นผู้ว่าจ้าง การที่ทีดีอาร์ไอได้รับความเชื่อถือจากสังคม เพราะนักวิจัยมีความตรงไปตรงมา ไม่ต้องเอาใจหน่วยงานผู้ว่าจ้าง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นได้เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่ครอบงำการให้ทุนทีดีอาร์ไอ เนื่องจากทีดีอาร์ไอมีนโยบายกระจายการรับทุนวิจัยจากหน่วยงานจำนวนมาก และไม่มีนโยบายการตั้งเป้าเพิ่มรายได้ เนื่องจากเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทีดีอาร์ไอจึงเป็นฝ่ายเลือกหน่วยงานผู้ว่าจ้าง ไม่น้อยกว่าที่ผู้ว่าจ้างเป็นฝ่ายเลือกทีดีอาร์ไอ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่