ประธาน กมธ.สธ.สนช. โพสต์เฟซบุ๊ก แจงข้อสรุปงานวิจัย “บัตรทอง” ตายสูงกว่าข้าราชการ ชี้จัดซื้อยา - วัสดุการแพทย์ต้องคุมคุณภาพการประมูล ไม่เห็นแก่ราคาถูก แนะควรมีการร่วมจ่ายจากผู้ป่วย ระบุความเหลื่อมล้ำต้องพัฒนาสิทธิบัตรทองให้ดีขึ้น ไม่ใช่รวมกองทุนดึงสิทธิข้าราชการถอยหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข (กมธ.สธ.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า กมธ.สธ. ได้เชิญ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาชี้แจงการวิเคราะห์งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กรณีผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปของสิทธิบัตรทองมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปของสิทธิข้าราชการ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชิญเจ้าของงานวิจัยของทีดีอาร์ไอมาร่วมชี้แจงเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2558
ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวยังระบุด้วยว่า กมธ.สธ. เห็นว่า รายงานนี้มีฐานข้อมูลที่มาก สรุปได้ว่าผู้ป่วยบัตรทองเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการ การจัดซื้อยาและวัสดุการแพทย์ต้องมีการควบคุมคุณภาพในการประมูล ไม่ใช่คำนึงถึงราคาถูกแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการร่วมจ่ายจากผู้ป่วยได้ เหมือนการร่วมจ่ายของข้าราชการในการเลือกใช้วัสดุการแพทย์ ต้องมีงานวิจัยต่อเนื่อง เพราะการที่งบประมาณมีจำกัด คงยากที่จะรักษาคุณภาพการบริการเอาไว้ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน จึงต้องมีการติดตามประเมินผลและเก็บข้อมูลต่อเนื่อง เพื่อให้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดินต่อไปอย่างมีคุณภาพ ส่วนข้อสรุปงานวิจัยของทีดีอาร์ไอที่ระบุว่าเป็นเพราะสองสิทธิเหลื่อมล้ำกันนั้น กมธ.สธ. เห็นว่าถ้าจะให้สิทธิเท่ากันก็ควรทำให้สิทธิที่แย่กว่าให้เพิ่มขึ้นทัดเทียมกับสิทธิที่ดีกว่า ไม่ใช่การรวมกองทุนแล้วทำให้สวัสดิการข้าราชการถดถอยลงมาย่ำแย่เท่าบัตรทอง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข (กมธ.สธ.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า กมธ.สธ. ได้เชิญ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาชี้แจงการวิเคราะห์งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กรณีผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปของสิทธิบัตรทองมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปของสิทธิข้าราชการ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชิญเจ้าของงานวิจัยของทีดีอาร์ไอมาร่วมชี้แจงเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2558
ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวยังระบุด้วยว่า กมธ.สธ. เห็นว่า รายงานนี้มีฐานข้อมูลที่มาก สรุปได้ว่าผู้ป่วยบัตรทองเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการ การจัดซื้อยาและวัสดุการแพทย์ต้องมีการควบคุมคุณภาพในการประมูล ไม่ใช่คำนึงถึงราคาถูกแต่เพียงอย่างเดียว ควรมีการร่วมจ่ายจากผู้ป่วยได้ เหมือนการร่วมจ่ายของข้าราชการในการเลือกใช้วัสดุการแพทย์ ต้องมีงานวิจัยต่อเนื่อง เพราะการที่งบประมาณมีจำกัด คงยากที่จะรักษาคุณภาพการบริการเอาไว้ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน จึงต้องมีการติดตามประเมินผลและเก็บข้อมูลต่อเนื่อง เพื่อให้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเดินต่อไปอย่างมีคุณภาพ ส่วนข้อสรุปงานวิจัยของทีดีอาร์ไอที่ระบุว่าเป็นเพราะสองสิทธิเหลื่อมล้ำกันนั้น กมธ.สธ. เห็นว่าถ้าจะให้สิทธิเท่ากันก็ควรทำให้สิทธิที่แย่กว่าให้เพิ่มขึ้นทัดเทียมกับสิทธิที่ดีกว่า ไม่ใช่การรวมกองทุนแล้วทำให้สวัสดิการข้าราชการถดถอยลงมาย่ำแย่เท่าบัตรทอง
Posted by นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ on 3 สิงหาคม 2014
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่