เล็งหารือในบอร์ด สกสค. พิจารณาแจ้งความต่อดีเอสไอ ให้คดี สกสค. เป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ โดยเฉพาะกรณีเงิน 2,100 ล้านบาท เบื้องต้นกลุ่มอดีตคณะกรรมการ สกสค. ทั้ง 10 ราย อาจจะเข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบ “ปลัด ศธ.” เผยคืบหน้าตรวจสอบทุจริตองค์การค้าของ สกสค. เบื้องต้น บอร์ดองค์การค้าฯ ตั้ง คกก. กลาง ประเมินการทำงาน “สมมาตร มีศิลป์” ผอ.องค์การค้าฯ หากพบไม่มีประสิทธิภาพอาจจะต้องยกเลิกสัญญาจ้าง
วันนี้ (8 มิ.ย.)รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้มอบหมายให้ นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค. ไปแจ้งความเกี่ยวกับกรณีที่ บริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด นำหลักทรัพย์ปลอมมาค้ำประกันการแลกซื้อตั๋วเงินกับ สกสค. ไว้แล้วหลายครั้ง รวมถึงให้ทำหนังสือทวงถามไปยัง นายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา หรือ เสี่ยบิ๊ก เจ้าของ บ.บิลเลี่ยนฯ เพื่อเรียกเงินคืนทั้งหมด เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินของครู ส่วน นายพินิจศักดิ์ จะใช้วิธีการเชิญ นายสัมฤทธิ์ มาพูดคุยเรื่องการคืนเงินด้วยตัวเองนั้น ก็ถือเป็นอำนาจของเลขาธิการ สกสค. ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ โดยทางคณะกรรมการ สกสค. อยากได้เงินคืนโดยเร็วที่สุด รวมถึงให้ตรวจสอบว่าที่ผ่านมา มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินอะไรไปบ้าง ซึ่งทรัพย์สินของอดีตผู้บริหาร สกสค. ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) อายัดไปทั้งหมด 183 ล้านบาท ก็อาจเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้ได้ทรัพย์สินคืนมา ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีการเปิดเผยรายชื่อออกมานั้น เนื่องจากบุคคลทั้งหมด ไม่ได้เป็นข้าราชการ ดังนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องของการดำเนินการตามกฎหมาย
“สำหรับการแจ้งความเพื่อขอให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษนั้น ต้องมีการหารือร่วมกันในคณะกรรมการ สกสค. ก่อน ซึ่งต้องกลับไปดูกฎหมาย โดยข้อที่อาจจะสามารถแจ้งความต่อดีเอสไอเพื่อขอให้รับเป็นคดีพิเศษได้ เชื่อว่า มียักย้ายถ่ายเทเงินของ สกสค. ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่ามีใครได้รับผลประโยชน์จากเงินจำนวน 2,100 ล้านบาทบ้าง เหมือนกับการจัดซื้อจัดจ้างในวงราชการทั่วไป ที่มีการจัดสรรงบประมาณลงไปและมีเงินที่เรียกว่าเงินทอน อาจจะต้องกลับไปพิจารณาว่าจะแจ้งเป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ เพราะถ้าเชื่อว่ามีการยักยอกเงินของ สกสค. ไปจริง ก็อาจจะต้องอาศัยอำนาจของ สกสค. เข้าไปตรวจสอบ เพราะอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจะไปไม่ถึง เบื้องต้นกลุ่มอดีตคณะกรรมการ สกสค. ที่ทางดีเอสไอเปิดเผยมาทั้ง 10 คน ก็อาจจะต้องถูกตรวจสอบด้วย เพราะถือว่าอยู่ในกลุ่มของผู้ที่อาจจะมีผลประโยชน์แอบแฝง” รศ.นพ.กำจร กล่าว
ปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค. ได้ให้ชะลอการปล่อยเงินกู้ ช.พ.ค. ให้กับผู้กู้รายใหม่ เพื่อปรับเกณฑ์การกู้ต่างๆ ให้มีความเป็นธรรม โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตนั้น เรื่องนี้ตนได้หารือกับหลายฝ่าย ซึ่งคงต้องไปดูรายละเอียด ซึ่งจากการสอบถามทั้งทางธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารออมสิน พบว่า โดยหลักการเป็นการนำเงินประกันภัยมาค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งทำให้ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างมาก ขณะเดียวกัน ตามปกติการทำประกันจะต้องมีค่าคอมมิชชัน ดังนั้น ต้องไปดูว่าค่าคอมมิชชันจำนวนมากที่ได้จากการทำประกันของครู ตกไปอยู่ที่ใคร หรือมีการยกเว้นให้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะใช่ปัญหาการทุจริต แต่อาจเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกันมากกว่า
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบปัญหาการทุจริตภายในองค์การค้า ของสกสค. นั้น ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้ นายสุเทพ ชิตยวงศ์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ไปปรับลดค่าใช้จ่ายขององค์การค้าฯ แล้ว รวมถึงเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของนายสมมาตร มีศิลป์ ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ซึ่งถือเป็นการประเมินครั้งที่ 3 เพราะการประเมิน 2 ครั้งที่ผ่านมา ประเมินโดยอดีตคณะกรรมการ สกสค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ดังนั้น จึงต้องตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาประเมิน หากผลการประเมินพบว่าการทำงานไม่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ก็อาจจะมีการพิจารณายกเลิกสัญญาจ้างนายสมมาตร ตามขั้นตอนต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 มิ.ย.)รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้มอบหมายให้ นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค. ไปแจ้งความเกี่ยวกับกรณีที่ บริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด นำหลักทรัพย์ปลอมมาค้ำประกันการแลกซื้อตั๋วเงินกับ สกสค. ไว้แล้วหลายครั้ง รวมถึงให้ทำหนังสือทวงถามไปยัง นายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา หรือ เสี่ยบิ๊ก เจ้าของ บ.บิลเลี่ยนฯ เพื่อเรียกเงินคืนทั้งหมด เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินของครู ส่วน นายพินิจศักดิ์ จะใช้วิธีการเชิญ นายสัมฤทธิ์ มาพูดคุยเรื่องการคืนเงินด้วยตัวเองนั้น ก็ถือเป็นอำนาจของเลขาธิการ สกสค. ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ โดยทางคณะกรรมการ สกสค. อยากได้เงินคืนโดยเร็วที่สุด รวมถึงให้ตรวจสอบว่าที่ผ่านมา มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินอะไรไปบ้าง ซึ่งทรัพย์สินของอดีตผู้บริหาร สกสค. ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) อายัดไปทั้งหมด 183 ล้านบาท ก็อาจเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้ได้ทรัพย์สินคืนมา ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีการเปิดเผยรายชื่อออกมานั้น เนื่องจากบุคคลทั้งหมด ไม่ได้เป็นข้าราชการ ดังนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องของการดำเนินการตามกฎหมาย
“สำหรับการแจ้งความเพื่อขอให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษนั้น ต้องมีการหารือร่วมกันในคณะกรรมการ สกสค. ก่อน ซึ่งต้องกลับไปดูกฎหมาย โดยข้อที่อาจจะสามารถแจ้งความต่อดีเอสไอเพื่อขอให้รับเป็นคดีพิเศษได้ เชื่อว่า มียักย้ายถ่ายเทเงินของ สกสค. ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่ามีใครได้รับผลประโยชน์จากเงินจำนวน 2,100 ล้านบาทบ้าง เหมือนกับการจัดซื้อจัดจ้างในวงราชการทั่วไป ที่มีการจัดสรรงบประมาณลงไปและมีเงินที่เรียกว่าเงินทอน อาจจะต้องกลับไปพิจารณาว่าจะแจ้งเป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ เพราะถ้าเชื่อว่ามีการยักยอกเงินของ สกสค. ไปจริง ก็อาจจะต้องอาศัยอำนาจของ สกสค. เข้าไปตรวจสอบ เพราะอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจะไปไม่ถึง เบื้องต้นกลุ่มอดีตคณะกรรมการ สกสค. ที่ทางดีเอสไอเปิดเผยมาทั้ง 10 คน ก็อาจจะต้องถูกตรวจสอบด้วย เพราะถือว่าอยู่ในกลุ่มของผู้ที่อาจจะมีผลประโยชน์แอบแฝง” รศ.นพ.กำจร กล่าว
ปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค. ได้ให้ชะลอการปล่อยเงินกู้ ช.พ.ค. ให้กับผู้กู้รายใหม่ เพื่อปรับเกณฑ์การกู้ต่างๆ ให้มีความเป็นธรรม โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตนั้น เรื่องนี้ตนได้หารือกับหลายฝ่าย ซึ่งคงต้องไปดูรายละเอียด ซึ่งจากการสอบถามทั้งทางธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารออมสิน พบว่า โดยหลักการเป็นการนำเงินประกันภัยมาค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งทำให้ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างมาก ขณะเดียวกัน ตามปกติการทำประกันจะต้องมีค่าคอมมิชชัน ดังนั้น ต้องไปดูว่าค่าคอมมิชชันจำนวนมากที่ได้จากการทำประกันของครู ตกไปอยู่ที่ใคร หรือมีการยกเว้นให้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะใช่ปัญหาการทุจริต แต่อาจเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกันมากกว่า
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบปัญหาการทุจริตภายในองค์การค้า ของสกสค. นั้น ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้ นายสุเทพ ชิตยวงศ์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ไปปรับลดค่าใช้จ่ายขององค์การค้าฯ แล้ว รวมถึงเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของนายสมมาตร มีศิลป์ ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ซึ่งถือเป็นการประเมินครั้งที่ 3 เพราะการประเมิน 2 ครั้งที่ผ่านมา ประเมินโดยอดีตคณะกรรมการ สกสค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ดังนั้น จึงต้องตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาประเมิน หากผลการประเมินพบว่าการทำงานไม่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ก็อาจจะมีการพิจารณายกเลิกสัญญาจ้างนายสมมาตร ตามขั้นตอนต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่