เล็งหารือในบอร์ด สกสค.พิจารณาแจ้งความต่อดีเอสไอ ให้คดี สกสค.เป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ โดยเฉพาะกรณีเงิน 2,100 ล.บาท เบื้องต้นกลุ่มอดีตคณะกรรมการ สกสค.ทั้ง 10 รายอาจจะเข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบ “ปลัด ศธ.” เผยคืบหน้าตรวจสอบทุจริตองค์การค้า ของสกสค.เบื้องต้น บอร์ดองค์การค้าฯ ตั้งคกก.กลางประเมินการทำงาน “สมมาตร มีศิลป์” ผอ.องค์การค้าฯ หากพบไม่มีประสิทธิภาพอาจจะต้องยกเลิกสัญญาจ้าง
วันนี้ (8 มิ.ย.)รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้มอบหมายให้นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค. ไปแจ้งความเกี่ยวกับกรณีที่ บริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด นำหลักทรัพย์ปลอมมาค้ำประกันการแลกซื้อตั๋วเงินกับสกสค. ไว้แล้วหลายครั้ง รวมถึงให้ทำหนังสือทวงถามไปยังนายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา หรือ เสี่ยบิ๊ก เจ้าของบ.บิลเลี่ยนฯ เพื่อเรียกเงินคืนทั้งหมดเพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินของครู ส่วน นายพินิจศักดิ์ จะใช้วิธีการเชิญนายสัมฤทธิ์ มาพูดคุยเรื่องการคืนเงินด้วยตัวเองนั้น ก็ถือเป็นอำนาจของเลขาธิการ สกสค. ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ โดยทางคณะกรรมการ สกสค. อยากได้เงินคืนโดยเร็วที่สุด รวมถึงให้ตรวจสอบว่าที่ผ่านมามีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินอะไรไปบ้าง ซึ่งทรัพย์สินของอดีตผู้บริหารสกสค.ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน (ปปง.)อายัดไปทั้งหมด 183 ล้านบาท ก็อาจเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้ได้ทรัพย์สินคืนมา ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีการเปิดเผยรายชื่อออกมานั้น เนื่องจากบุคคลทั้งหมด ไม่ได้เป็นข้าราชการ ดังนั้นก็ต้องเป็นเรื่องของการดำเนินการตามกฎหมาย
“สำหรับการแจ้งความเพื่อขอให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ นั้นต้องมีการหารือร่วมกันในคณะกรรมการสกสค. ก่อน ซึ่งต้องกลับไปดูกฎหมาย โดยข้อที่อาจจะสามารถแจ้งความต่อดีเอสไอเพื่อขอให้รับเป็นคดีพิเศษได้คือ เชื่อว่ามียักย้ายถ่ายเทเงินของ สกสค. ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่ามีใครได้รับผลประโยชน์จากเงินจำนวน 2,100 ล้านบาทบ้าง เหมือนกับการจัดซื้อจัดจ้างในวงราชการทั่วไป ที่มีการจัดสรรงบประมาณลงไปและมีเงินที่เรียกว่าเงินทอน อาจจะต้องกลับไปพิจารณาว่าจะแจ้งเป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ เพราะถ้าเชื่อว่ามีการยักยอกเงินของสกสค.ไปจริง ก็อาจจะต้องอาศัยอำนาจของดีเอสไอเข้าไปตรวจสอบ เพราะอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจะไปไม่ถึง เบื้องต้นกลุ่มอดีตคณะกรรมการสกสค.ที่ทางดีเอสไอเปิดเผยมาทั้ง 10 คน ก็อาจจะต้องถูกตรวจสอบด้วย เพราะถือว่าอยู่ในกลุ่มของผู้ที่อาจจะมีผลประโยชน์แอบแฝง”รศ.นพ.กำจรกล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค.ได้ให้ชะลอการปล่อยเงินกู้ช.พ.ค. ให้กับผู้กู้รายใหม่ เพื่อปรับเกณฑ์การกู้ต่าง ๆ ให้มีความเป็นธรรม โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตนั้น เรื่องนี้ตนได้หารือกับหลายฝ่าย ซึ่งคงต้องไปดูรายละเอียด ซึ่งจากการสอบถารมทั้งทางธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน พบว่าโดยหลักการเป็นการนำเงินประกันภัยมาค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งทำให้ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันตามปกติการทำประกันจะต้องมีค่าคอมมิชชัน ดังนั้นต้องไปดูว่าค่าคอมมิชชันจำนวนมากที่ได้จากการทำประกันของครู ตกไปอยู่ที่ใคร หรือมีการยกเว้นให้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะใช่ปัญหาการทุจริต แต่อาจเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกันมากกว่า
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบปัญหาการทุจริตภายในองค์การค้า ของสกสค.นั้น ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้นายสุเทพ ชิตยวงศ์ ผู้ตรวจราชการศธ. ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ไปปรับลดค่าใช้จ่ายขององค์การค้าฯ แล้ว รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของนายสมมาตร มีศิลป์ ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ซึ่งถือเป็นการประเมินครั้งที่ 3 เพราะการประเมิน 2 ครั้งที่ผ่านมาประเมินโดยอดีตคณะกรรมการสกสค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ดังนั้นจึงต้องตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาประเมิน หากผลการประเมินพบว่าการทำงานไม่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ก็อาจจะมีการพิจารณายกเลิกสัญญาจ้างนายสมมาตร ตามขั้นตอนต่อไป
วันนี้ (8 มิ.ย.)รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ได้มอบหมายให้นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค. ไปแจ้งความเกี่ยวกับกรณีที่ บริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด นำหลักทรัพย์ปลอมมาค้ำประกันการแลกซื้อตั๋วเงินกับสกสค. ไว้แล้วหลายครั้ง รวมถึงให้ทำหนังสือทวงถามไปยังนายสัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา หรือ เสี่ยบิ๊ก เจ้าของบ.บิลเลี่ยนฯ เพื่อเรียกเงินคืนทั้งหมดเพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินของครู ส่วน นายพินิจศักดิ์ จะใช้วิธีการเชิญนายสัมฤทธิ์ มาพูดคุยเรื่องการคืนเงินด้วยตัวเองนั้น ก็ถือเป็นอำนาจของเลขาธิการ สกสค. ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ โดยทางคณะกรรมการ สกสค. อยากได้เงินคืนโดยเร็วที่สุด รวมถึงให้ตรวจสอบว่าที่ผ่านมามีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินอะไรไปบ้าง ซึ่งทรัพย์สินของอดีตผู้บริหารสกสค.ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน (ปปง.)อายัดไปทั้งหมด 183 ล้านบาท ก็อาจเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้ได้ทรัพย์สินคืนมา ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีการเปิดเผยรายชื่อออกมานั้น เนื่องจากบุคคลทั้งหมด ไม่ได้เป็นข้าราชการ ดังนั้นก็ต้องเป็นเรื่องของการดำเนินการตามกฎหมาย
“สำหรับการแจ้งความเพื่อขอให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ นั้นต้องมีการหารือร่วมกันในคณะกรรมการสกสค. ก่อน ซึ่งต้องกลับไปดูกฎหมาย โดยข้อที่อาจจะสามารถแจ้งความต่อดีเอสไอเพื่อขอให้รับเป็นคดีพิเศษได้คือ เชื่อว่ามียักย้ายถ่ายเทเงินของ สกสค. ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่ามีใครได้รับผลประโยชน์จากเงินจำนวน 2,100 ล้านบาทบ้าง เหมือนกับการจัดซื้อจัดจ้างในวงราชการทั่วไป ที่มีการจัดสรรงบประมาณลงไปและมีเงินที่เรียกว่าเงินทอน อาจจะต้องกลับไปพิจารณาว่าจะแจ้งเป็นคดีพิเศษได้หรือไม่ เพราะถ้าเชื่อว่ามีการยักยอกเงินของสกสค.ไปจริง ก็อาจจะต้องอาศัยอำนาจของดีเอสไอเข้าไปตรวจสอบ เพราะอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจะไปไม่ถึง เบื้องต้นกลุ่มอดีตคณะกรรมการสกสค.ที่ทางดีเอสไอเปิดเผยมาทั้ง 10 คน ก็อาจจะต้องถูกตรวจสอบด้วย เพราะถือว่าอยู่ในกลุ่มของผู้ที่อาจจะมีผลประโยชน์แอบแฝง”รศ.นพ.กำจรกล่าว
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค.ได้ให้ชะลอการปล่อยเงินกู้ช.พ.ค. ให้กับผู้กู้รายใหม่ เพื่อปรับเกณฑ์การกู้ต่าง ๆ ให้มีความเป็นธรรม โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตนั้น เรื่องนี้ตนได้หารือกับหลายฝ่าย ซึ่งคงต้องไปดูรายละเอียด ซึ่งจากการสอบถารมทั้งทางธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน พบว่าโดยหลักการเป็นการนำเงินประกันภัยมาค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งทำให้ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันตามปกติการทำประกันจะต้องมีค่าคอมมิชชัน ดังนั้นต้องไปดูว่าค่าคอมมิชชันจำนวนมากที่ได้จากการทำประกันของครู ตกไปอยู่ที่ใคร หรือมีการยกเว้นให้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะใช่ปัญหาการทุจริต แต่อาจเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกันมากกว่า
รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบปัญหาการทุจริตภายในองค์การค้า ของสกสค.นั้น ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้นายสุเทพ ชิตยวงศ์ ผู้ตรวจราชการศธ. ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ไปปรับลดค่าใช้จ่ายขององค์การค้าฯ แล้ว รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของนายสมมาตร มีศิลป์ ผู้อำนวยการองค์การค้าฯ ซึ่งถือเป็นการประเมินครั้งที่ 3 เพราะการประเมิน 2 ครั้งที่ผ่านมาประเมินโดยอดีตคณะกรรมการสกสค. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ดังนั้นจึงต้องตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาประเมิน หากผลการประเมินพบว่าการทำงานไม่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ก็อาจจะมีการพิจารณายกเลิกสัญญาจ้างนายสมมาตร ตามขั้นตอนต่อไป