สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วมงานเด็กบันดาลใจ จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมพูดคุยในเวทีวิชาการพัฒนาเด็กปฐมวัย บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ มหัศจรรย์แห่งชีวิต คิดได้ คิดเป็น หัวข้อ “พัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลักการ BBL และทฤษฎีจิตใต้สำนึก” มีวิทยากรคือ พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมอง และนายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว อีกท่านหนึ่งคือรศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก และครอบครัว โดยดิฉันทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ เลยถือโอกาสนำเล่าสู่กันฟังผ่านคอลัมน์นี้ค่ะ
คุณหมอจันทร์เพ็ญ เล่าให้ฟังถึงหลักการของ BBL (Brain Base Learning) และการพัฒนาสมองของมนุษย์ว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิต และเน้นไปในช่วงปฐมวัย
“ธรรมชาติของเด็กทุกคนไม่ใช่คนโง่ วัย 0 - 3 ปี มีความสำคัญมาก พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีของลูก ต้นแบบที่ดีของความเป็นมนุษย์ ต้องสร้างวุฒิภาวะให้เด็ก ทั้งพ่อแม่ และครูต้องรู้และเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
วัยเด็กเล็ก เริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยการจดจำ แต่พอย่างเข้าสู่วัยเรียน ต้องสอนเด็กให้รู้จักคิด ไม่ใช่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจดจำต่อเนื่อง จนทำให้เด็กเบื่อหน่ายการเรียนรู้
เมื่อเด็กเดินได้ เคลื่อนไหวร่างกายได้คล่อง เด็กเริ่มพูด เมื่อ 2 - 3 ขวบแรก เด็กจะเริ่มฝึกคิด แต่ยังคิดไม่เป็น เด็กจะเริ่มคิดเมื่อพร้อม โดยจะเริ่มจากการถามก่อน นั่นคือเด็กเริ่มคิด เมื่อไหร่ที่เด็กถาม สมองเริ่มทำงาน ฉะนั้น ผู้ใหญ่ควรตอบสนองเวลาเด็กถาม ไม่ใช่ปฏิเสธคำถามของเด็ก นั่นเท่ากับเป็นปฏิเสธการเริ่มเรียนรู้ เราต้องทำให้เด็กคิดได้คิดเป็น
สมองคนเราทำงานเป็นระบบจะจำเป็นส่วนๆ เก็บเข้าไว้เป็นลิ้นชัก เมื่อจะใช้งานจึงจะเชื่อมโยง ประมวลผล เด็กเล็กๆ จึงต้องนอนให้ได้วันละ 8 - 9 ชั่วโมง เพื่อจัดระเบียบข้อมูลที่ได้ในแต่ละวัน ถ้านอนไม่พอ ก็มีปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น สมาธิสั้น
สมองมนุษย์มีพลังมาก มหัศจรรย์มาก พ่อแม่ คุณครูต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำงานทุกชนิด ให้ได้ใช้มือ มนุษย์ต้องใช้มือและใช้ทุกส่วนของมือ ไม่ใช่ใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวเหมือนที่ใช้กับเครื่องมือสื่อสารจำพวกแทปเล็ต ซึ่งจะทำให้เด็กใช้สมองได้น้อยมาก”
นอกจากนี้ คุณหมอจันทร์เพ็ญยังได้พูดถึงสมองของมนุษย์ว่ามี 3 ส่วน
ส่วนแรก คือ ก้านสมอง เรียกว่าเมื่อแรกคลอด ความต้องการของชีวิต คือ การมีชีวิตรอด โดยอาศัยการทำงานของก้านสมองที่ตอบสนองตามสัญชาตญาณ และการควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ เช่น เมื่อเท้าเดินไปเหยียบตะปู เราจะเอาเท้าออกจากตะปูทันทีโดยอัตโนมัติ
สมองส่วนนี้ หากไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมหรือถูกวิธี ก็เท่ากับเราไม่ได้พัฒนาสมอง
ส่วนที่สองคือ สมองส่วนกลาง เป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ต่างๆ เช่น รัก ชอบ โกรธ เกลียด ลูกจะมีอารมณ์อย่างไร ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการปลูกฝังอารมณ์มาจากพ่อแม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมองส่วนนี้โดยตรง
ส่วนที่สามคือ สมองส่วนบน สมองส่วนนี้แหละที่มนุษย์สามารถพัฒนาได้ สามารถสร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล เข้าใจเหตุปัจจัยต่างๆ ได้ สมองส่วนนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่แรกเกิด แต่พัฒนาได้ค่อนข้างช้า เพราะใช้เวลาในการสะสมความรู้ความเข้าใจค่อนข้างนาน
ทางด้าน รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร พูดถึงเรื่องทฤษฎีจิตใต้สำนึกว่าจิตใต้สำนึก คือ สิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตมานาน เป็นแหล่งเก็บข้อมูลความทรงจำ ประสบการณ์ทุกด้านที่ได้เห็น ได้ยิน ได้พูด ได้ทำบันทึกไว้ และการพัฒนาการเรียนรู้จึงต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน ต้องเรียนรู้จากประสาททั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก่อน ดังนั้นเทคโนโลยีทุกชนิดจึงไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ทั้งนี้ จิตของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
หนึ่ง จิตเหนือสำนึก คือ จิตที่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น หรือที่เรามักเรียกว่าซิกซ์เซ้นส์ (Six Sense) ถือเป็นสิ่งที่อธิบายได้ยากและจิตประเภทนี้ก็ไม่ได้มีกันทุกคน
สอง จิตสำนึก คือ จิตที่รับรู้จากประสบการณ์จริงขณะตื่น ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 จิตสำนึกจะรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักใช้เหตุผล รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ อะไรดีไม่ดี
สาม จิตใต้สำนึก คือ สิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตมานาน จิตใต้สำนึกมีพลังอำนาจเหนือจิตสำนึกหลายเท่า เป็นแหล่งเก็บข้อมูลความทรงจำ ประสบการณ์ทุกด้านที่ได้เห็น ได้ยิน ได้พูด ได้ทำบันทึกไว้ และจิตใต้สำนึกนี้เองทำให้คนเราทุกคนมีพื้นฐานอุปนิสัย จริต พฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีแตกต่างจากคนอื่นตามประสบการณ์ที่สั่งสมมาด้วย
เพราะฉะนั้น ถ้าเด็กมีจิตใต้สำนึกที่ดี มีความทรงจำและประสบการณ์ที่ดี ก็จะหล่อหลอมให้เขาเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึกที่ดี
นอกจากนี้ อาจารย์สายฤดี ได้พูดถึงเรื่องการพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21 ว่า ศตวรรษที่ 21 หมายถึงเราต้องเก่งขึ้น เก่งในการใช้ทุกอวัยวะ ทุกทักษะชีวิต อย่าคิดว่าต้องเก่งคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่าเก่งคอมพิวเตอร์ ใช่ว่าจะเอาชีวิตรอดหากเกิดเหตุการณ์ต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิ หรือแผ่นดินไหว เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับตนเอง และพร้อมที่จะอยู่กับคนอื่นได้ดี ทั้งทางกาย ทางใจ อยู่กับจักรวาลให้ได้
ช่วงท้ายวิทยากรทั้งสองท่านตอกย้ำตรงกันว่าเมื่อเรากำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครูและผู้ดูแลเด็กต้องตระหนักถึงการพัฒนาสมองเด็ก โดยเฉพาะในช่วงเด็กเล็ก มิฉะนั้นแล้ว เด็กไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ยิ่งจะมีการเปิดเสรีอาเซียน ยิ่งเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ถึงเวลาแล้วจริงๆที่ผู้ใหญ่ในสังคมต้องหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองของเด็กตั้งแต่ช่วงปฐมวัย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
คุณหมอจันทร์เพ็ญ เล่าให้ฟังถึงหลักการของ BBL (Brain Base Learning) และการพัฒนาสมองของมนุษย์ว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิต และเน้นไปในช่วงปฐมวัย
“ธรรมชาติของเด็กทุกคนไม่ใช่คนโง่ วัย 0 - 3 ปี มีความสำคัญมาก พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีของลูก ต้นแบบที่ดีของความเป็นมนุษย์ ต้องสร้างวุฒิภาวะให้เด็ก ทั้งพ่อแม่ และครูต้องรู้และเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
วัยเด็กเล็ก เริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยการจดจำ แต่พอย่างเข้าสู่วัยเรียน ต้องสอนเด็กให้รู้จักคิด ไม่ใช่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบจดจำต่อเนื่อง จนทำให้เด็กเบื่อหน่ายการเรียนรู้
เมื่อเด็กเดินได้ เคลื่อนไหวร่างกายได้คล่อง เด็กเริ่มพูด เมื่อ 2 - 3 ขวบแรก เด็กจะเริ่มฝึกคิด แต่ยังคิดไม่เป็น เด็กจะเริ่มคิดเมื่อพร้อม โดยจะเริ่มจากการถามก่อน นั่นคือเด็กเริ่มคิด เมื่อไหร่ที่เด็กถาม สมองเริ่มทำงาน ฉะนั้น ผู้ใหญ่ควรตอบสนองเวลาเด็กถาม ไม่ใช่ปฏิเสธคำถามของเด็ก นั่นเท่ากับเป็นปฏิเสธการเริ่มเรียนรู้ เราต้องทำให้เด็กคิดได้คิดเป็น
สมองคนเราทำงานเป็นระบบจะจำเป็นส่วนๆ เก็บเข้าไว้เป็นลิ้นชัก เมื่อจะใช้งานจึงจะเชื่อมโยง ประมวลผล เด็กเล็กๆ จึงต้องนอนให้ได้วันละ 8 - 9 ชั่วโมง เพื่อจัดระเบียบข้อมูลที่ได้ในแต่ละวัน ถ้านอนไม่พอ ก็มีปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น สมาธิสั้น
สมองมนุษย์มีพลังมาก มหัศจรรย์มาก พ่อแม่ คุณครูต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำงานทุกชนิด ให้ได้ใช้มือ มนุษย์ต้องใช้มือและใช้ทุกส่วนของมือ ไม่ใช่ใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวเหมือนที่ใช้กับเครื่องมือสื่อสารจำพวกแทปเล็ต ซึ่งจะทำให้เด็กใช้สมองได้น้อยมาก”
นอกจากนี้ คุณหมอจันทร์เพ็ญยังได้พูดถึงสมองของมนุษย์ว่ามี 3 ส่วน
ส่วนแรก คือ ก้านสมอง เรียกว่าเมื่อแรกคลอด ความต้องการของชีวิต คือ การมีชีวิตรอด โดยอาศัยการทำงานของก้านสมองที่ตอบสนองตามสัญชาตญาณ และการควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ เช่น เมื่อเท้าเดินไปเหยียบตะปู เราจะเอาเท้าออกจากตะปูทันทีโดยอัตโนมัติ
สมองส่วนนี้ หากไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมหรือถูกวิธี ก็เท่ากับเราไม่ได้พัฒนาสมอง
ส่วนที่สองคือ สมองส่วนกลาง เป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ต่างๆ เช่น รัก ชอบ โกรธ เกลียด ลูกจะมีอารมณ์อย่างไร ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการปลูกฝังอารมณ์มาจากพ่อแม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมองส่วนนี้โดยตรง
ส่วนที่สามคือ สมองส่วนบน สมองส่วนนี้แหละที่มนุษย์สามารถพัฒนาได้ สามารถสร้างกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล เข้าใจเหตุปัจจัยต่างๆ ได้ สมองส่วนนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่แรกเกิด แต่พัฒนาได้ค่อนข้างช้า เพราะใช้เวลาในการสะสมความรู้ความเข้าใจค่อนข้างนาน
ทางด้าน รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร พูดถึงเรื่องทฤษฎีจิตใต้สำนึกว่าจิตใต้สำนึก คือ สิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตมานาน เป็นแหล่งเก็บข้อมูลความทรงจำ ประสบการณ์ทุกด้านที่ได้เห็น ได้ยิน ได้พูด ได้ทำบันทึกไว้ และการพัฒนาการเรียนรู้จึงต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน ต้องเรียนรู้จากประสาททั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก่อน ดังนั้นเทคโนโลยีทุกชนิดจึงไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ทั้งนี้ จิตของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
หนึ่ง จิตเหนือสำนึก คือ จิตที่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น หรือที่เรามักเรียกว่าซิกซ์เซ้นส์ (Six Sense) ถือเป็นสิ่งที่อธิบายได้ยากและจิตประเภทนี้ก็ไม่ได้มีกันทุกคน
สอง จิตสำนึก คือ จิตที่รับรู้จากประสบการณ์จริงขณะตื่น ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 จิตสำนึกจะรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักใช้เหตุผล รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ อะไรดีไม่ดี
สาม จิตใต้สำนึก คือ สิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตมานาน จิตใต้สำนึกมีพลังอำนาจเหนือจิตสำนึกหลายเท่า เป็นแหล่งเก็บข้อมูลความทรงจำ ประสบการณ์ทุกด้านที่ได้เห็น ได้ยิน ได้พูด ได้ทำบันทึกไว้ และจิตใต้สำนึกนี้เองทำให้คนเราทุกคนมีพื้นฐานอุปนิสัย จริต พฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีแตกต่างจากคนอื่นตามประสบการณ์ที่สั่งสมมาด้วย
เพราะฉะนั้น ถ้าเด็กมีจิตใต้สำนึกที่ดี มีความทรงจำและประสบการณ์ที่ดี ก็จะหล่อหลอมให้เขาเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึกที่ดี
นอกจากนี้ อาจารย์สายฤดี ได้พูดถึงเรื่องการพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21 ว่า ศตวรรษที่ 21 หมายถึงเราต้องเก่งขึ้น เก่งในการใช้ทุกอวัยวะ ทุกทักษะชีวิต อย่าคิดว่าต้องเก่งคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่าเก่งคอมพิวเตอร์ ใช่ว่าจะเอาชีวิตรอดหากเกิดเหตุการณ์ต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิ หรือแผ่นดินไหว เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับตนเอง และพร้อมที่จะอยู่กับคนอื่นได้ดี ทั้งทางกาย ทางใจ อยู่กับจักรวาลให้ได้
ช่วงท้ายวิทยากรทั้งสองท่านตอกย้ำตรงกันว่าเมื่อเรากำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครูและผู้ดูแลเด็กต้องตระหนักถึงการพัฒนาสมองเด็ก โดยเฉพาะในช่วงเด็กเล็ก มิฉะนั้นแล้ว เด็กไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ยิ่งจะมีการเปิดเสรีอาเซียน ยิ่งเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
ถึงเวลาแล้วจริงๆที่ผู้ใหญ่ในสังคมต้องหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองของเด็กตั้งแต่ช่วงปฐมวัย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่