“รัชตะ” นำทีมผู้แทนไทยประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 68 พร้อมลงนามเฝ้าระวังโรคร่วม 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หารือระดับรัฐมนตรีรับมือ “เชื้อดื้อยา” แผนการได้รับวัคซีนพื้นฐานอย่างครอบคลุม และหารือร่วม ผอ.องค์การอนามัยโลก พัฒนาหลักประกันสุขภาพฯ
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 68 หรือ WHA ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 18 - 20 พ.ค. นี้ ตนจะนำคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ รองปลัด สธ. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย เลขาธิการ อย. เลขาธิการ สปสช. รวมถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิชาการเข้าร่วมประชุม ซึ่งจะมี รมว.สาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 193 ประเทศเข้าประชุมกว่า 2,000 คน เพื่อร่วมมือกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ซึ่งวันที่ 18 พ.ค. ตนจะแถลงต่อที่ประชุมฯเรื่อง การสร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรมด้วยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และลงนามข้อตกลงความร่วมมือเฝ้าระวังโรคใน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อร่วมมือเฝ้าระวังโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า วันที่ 19 พ.ค. จะมีการหารือระดับรัฐมนตรี เพื่อหาทางรับมือปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นวาระโลกที่สหประชาชาติให้ความสำคัญ ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกประกาศว่ายาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคได้อีกต่อไป จากข้อมูลของ 114 ประเทศทั่วโลก เปิดเผยว่า ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้อีกแล้วในอนาคต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทุกประเทศ และประชากรทุกวัย ดังนั้น การหารือครั้งนี้เพื่อการผลักดันเป็นนโยบายระดับประเทศเพื่อการดำเนินการต่อไป ขณะเดียวกัน ก็จะเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมร่วมในหัวข้อ คำมั่นสัญญาทางการเมืองและความร่วมมือระดับโลกต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบ จัดโดยกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการทูตเพื่อสาธารณสุข 7 ประเทศ ได้แก่ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส บราซิล อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เซเนกัล และ ไทย เพื่อตอบสนองต่อกระแสปัจจุบันที่ประเด็นด้านสาธารณสุขไม่ได้เป็นเพียงประเด็นภายในของประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป การป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ
“ส่วนวันที่ 20 พ.ค. จะเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศคองโก ในหัวข้อ การบรรลุเป้าหมายระดับโลกในแผนการสร้างความครอบคลุมในการได้รับวัคซีนพื้นฐาน นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ จะหารือเรื่องความร่วมมือการพัฒนาสุขภาพ การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย และการที่องค์การอนามัยโลกให้ไทยเป็นต้นแบบของการเรียนรู้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ร่วมกับ พญ.มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ด้วย” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 68 หรือ WHA ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 18 - 20 พ.ค. นี้ ตนจะนำคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ รองปลัด สธ. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย เลขาธิการ อย. เลขาธิการ สปสช. รวมถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิชาการเข้าร่วมประชุม ซึ่งจะมี รมว.สาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจาก 193 ประเทศเข้าประชุมกว่า 2,000 คน เพื่อร่วมมือกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ซึ่งวันที่ 18 พ.ค. ตนจะแถลงต่อที่ประชุมฯเรื่อง การสร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรมด้วยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และลงนามข้อตกลงความร่วมมือเฝ้าระวังโรคใน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อร่วมมือเฝ้าระวังโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า วันที่ 19 พ.ค. จะมีการหารือระดับรัฐมนตรี เพื่อหาทางรับมือปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นวาระโลกที่สหประชาชาติให้ความสำคัญ ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกประกาศว่ายาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาโรคได้อีกต่อไป จากข้อมูลของ 114 ประเทศทั่วโลก เปิดเผยว่า ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้อีกแล้วในอนาคต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทุกประเทศ และประชากรทุกวัย ดังนั้น การหารือครั้งนี้เพื่อการผลักดันเป็นนโยบายระดับประเทศเพื่อการดำเนินการต่อไป ขณะเดียวกัน ก็จะเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมร่วมในหัวข้อ คำมั่นสัญญาทางการเมืองและความร่วมมือระดับโลกต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบ จัดโดยกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการทูตเพื่อสาธารณสุข 7 ประเทศ ได้แก่ นอร์เวย์ ฝรั่งเศส บราซิล อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เซเนกัล และ ไทย เพื่อตอบสนองต่อกระแสปัจจุบันที่ประเด็นด้านสาธารณสุขไม่ได้เป็นเพียงประเด็นภายในของประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป การป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ
“ส่วนวันที่ 20 พ.ค. จะเข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศคองโก ในหัวข้อ การบรรลุเป้าหมายระดับโลกในแผนการสร้างความครอบคลุมในการได้รับวัคซีนพื้นฐาน นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ จะหารือเรื่องความร่วมมือการพัฒนาสุขภาพ การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย และการที่องค์การอนามัยโลกให้ไทยเป็นต้นแบบของการเรียนรู้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ร่วมกับ พญ.มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ด้วย” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่