2 บิ๊ก WHO ส่งจดหมายถึง “บิ๊กตู่” หนุนไทยออก พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ชี้ช่วยปกป้องสุขภาพคนไทย สธ. เตรียมเสนอเข้า ครม. แล้ว ระบุข้อโต้งแย้งให้เสนอในขั้นตอนกฤษฎีกา เผยเตรียมตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบพร้อมเยียวยา
วันนี้ (18 ก.พ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย ดร.โยนาส เทคเกิน ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย แถลงข่าวเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พญ.มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) และ ดร.เวอรา ลุยซา ดา คอสตา อี ซิลวา เลขาธิการภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบได้ส่งจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานออก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... ของ สธ. และรัฐบาลไทย โดย พญ.มาร์กาเร็ต เขียนจดหมายระบุชัดเจนว่าสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เพราะเป็นการพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก ซึ่งไม่แปลกใจที่เห็นปฏิกิริยาจากธุรกิจยาสูบหรือกลุ่มต่างๆ ซึ่งธุรกิจยาสูบได้ดำเนินการในหลายประเทศแต่ไม่สำเร็จ และไม่ควรทำให้รัฐบาลลังเลในการดำเนินการเพื่อปกป้องสุขภาพของคนไทย ส่วน ดร.เวอรา ระบุว่า ขอสนับสนุนร่างกฎหมายนี้เช่นกัน เพราะเป็นมาตรการที่เข้มแข็งในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะเด็ก
“ความคืบหน้าในการออกกฎหมาย ขณะนี้ได้รับความคิดเห็นจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ในเร็วๆ นี้ ส่วนข้อโต้แย้งต่างๆ นั้นสามารถไปแสดงความคิดเห็นได้ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ ซึ่งหลังจากผ่านกฤษฎีกาก็จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อีก 3 วาระ ส่วนข้อกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบนั้น หากร่างกฎหมายผ่าน ครม.แล้ว จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาผลกระทบว่าเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร และหากมีผลกระทบจะมีการเยียวยาต่อไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบฯ มีมาตรการเยียวยาอยู่ในมาตรา 17 และ 18 โดยร่างแนวทางช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบนี้มีมานาน แต่ยังไม่มีการนำแนวทางนี้มาใช้เลย เนื่องจากยังไม่พบว่าเกิดผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบ เพราะหากจะเกิดผลน่าจะใช้เวลานาน ซึ่งแนวทางการเยียวยามาตรา 17 เรื่อง บทบัญญัติเกี่ยวกับการสนับสนุนกิจกรรมทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ และมาตรา 18 เรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบ กรณีที่มีความจำเป็นและเป็นความต้องการของชาวไร่ยาสูบที่ต้องการปลูกพืชทดแทนการปลูกยาสูบ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ก.พ.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย ดร.โยนาส เทคเกิน ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย แถลงข่าวเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พญ.มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) และ ดร.เวอรา ลุยซา ดา คอสตา อี ซิลวา เลขาธิการภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบได้ส่งจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานออก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... ของ สธ. และรัฐบาลไทย โดย พญ.มาร์กาเร็ต เขียนจดหมายระบุชัดเจนว่าสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เพราะเป็นการพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก ซึ่งไม่แปลกใจที่เห็นปฏิกิริยาจากธุรกิจยาสูบหรือกลุ่มต่างๆ ซึ่งธุรกิจยาสูบได้ดำเนินการในหลายประเทศแต่ไม่สำเร็จ และไม่ควรทำให้รัฐบาลลังเลในการดำเนินการเพื่อปกป้องสุขภาพของคนไทย ส่วน ดร.เวอรา ระบุว่า ขอสนับสนุนร่างกฎหมายนี้เช่นกัน เพราะเป็นมาตรการที่เข้มแข็งในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะเด็ก
“ความคืบหน้าในการออกกฎหมาย ขณะนี้ได้รับความคิดเห็นจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ในเร็วๆ นี้ ส่วนข้อโต้แย้งต่างๆ นั้นสามารถไปแสดงความคิดเห็นได้ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ ซึ่งหลังจากผ่านกฤษฎีกาก็จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อีก 3 วาระ ส่วนข้อกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบนั้น หากร่างกฎหมายผ่าน ครม.แล้ว จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาผลกระทบว่าเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร และหากมีผลกระทบจะมีการเยียวยาต่อไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบฯ มีมาตรการเยียวยาอยู่ในมาตรา 17 และ 18 โดยร่างแนวทางช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบนี้มีมานาน แต่ยังไม่มีการนำแนวทางนี้มาใช้เลย เนื่องจากยังไม่พบว่าเกิดผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบ เพราะหากจะเกิดผลน่าจะใช้เวลานาน ซึ่งแนวทางการเยียวยามาตรา 17 เรื่อง บทบัญญัติเกี่ยวกับการสนับสนุนกิจกรรมทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ และมาตรา 18 เรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบ กรณีที่มีความจำเป็นและเป็นความต้องการของชาวไร่ยาสูบที่ต้องการปลูกพืชทดแทนการปลูกยาสูบ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่