รพ.คลองใหญ่เตรียมขยายขนาดเป็น 120 เตียง หวังรองรับผู้ป่วยจำนวนมากจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมสร้างตึกฉุกเฉิน ตึกคลอด เผยงานควบคุมโรคตามแนวชายแดนรับมือได้ดี
พญ.โมไนยา พฤทธิภาพย์ ผอ.รพ.คลองใหญ่ กล่าวว่า เนื่องจาก อ.คลองใหญ่ มีพื้นที่ติดกับ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา จึงถูกคัดเลือกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการสร้างท่าเรือน้ำลึก สร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มีการขนส่งและการเดินทางเข้าออกของประชากรจำนวนมาก สิ่งที่ตามมาคือปัญหาภัยสุขภาพ จึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือให้ดี ซึ่งจากการประเมินของทีมสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับ รพ.คลองใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ในส่วนของการแพทย์ฉุกเฉิน อนามัยแม่และเด็ก จะเข้ามาที่ รพ.คลองใหญ่มากกว่าจะข้ามไปที่ รพ.เกาะกงแน่นอน โดยเห็นได้จากการให้บริการที่ผ่านๆ มา รพ.คลองใหญ่จึงได้เตรียมขยายเตียงผู้ป่วยจาก 30 เตียง เป็น 120 เตียง พร้อมทั้งสร้างตึกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ตึกคลอด เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ได้ให้กองแบบแผนและอาคารเข้ามาประเมินและเขียนแบบโครงสร้างแล้ว
“ในการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เน้นเรื่องการค้าขายเป็นหลัก เรื่องของสุขภาพ อนามัยถูกมองให้เป็นเพียงปลายน้ำ ดังนั้นเราจึงได้เตรียมความพร้อมวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับวิเคราะห์งบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับตรงนี้ ทั้งคน เงิน ของ” ผอ.รพ.คลองใหญ่ กล่าว
พญ.โมไนยา กล่าวว่า ส่วนของการเฝ้าระวังโรคติดต่อตามแนวชายแดน ที่ผ่านมามีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศอยู่แล้ว โดยโรคระบาดที่ยังพบอยู่ อาทิ อหิวาตกโรค ไข้เลือดออก แต่พอเริ่มพบผู้ป่วยจึงสามารถเข้าพื้นที่และควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการระบาดในวงกว้าง ขณะที่โรคติดต่อรุนแรงอย่างวัณโรค และเอดส์ นั้นหากพบผู้ป่วยชาวกัมพูชาในประเทศไทยส่วนใหญ่จะส่งต่อกลับไปที่ รพ.เกาะกง โดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยโรคเอดส์นั้นไม่ได้เป็นเพราะความรังเกียจ หรือจะปฏิเสธการรักษา แต่เนื่องจากระบบการดูแลผู้ป่วยโรคดังกล่าวในกัมพูชาเองดีกว่าของไทยมาก มีการใช้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานวันละ 1 ครั้ง และการดูแลอื่นๆ ค่อนข้างดีเป็นไปตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พญ.โมไนยา พฤทธิภาพย์ ผอ.รพ.คลองใหญ่ กล่าวว่า เนื่องจาก อ.คลองใหญ่ มีพื้นที่ติดกับ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา จึงถูกคัดเลือกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการสร้างท่าเรือน้ำลึก สร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มีการขนส่งและการเดินทางเข้าออกของประชากรจำนวนมาก สิ่งที่ตามมาคือปัญหาภัยสุขภาพ จึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือให้ดี ซึ่งจากการประเมินของทีมสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับ รพ.คลองใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ในส่วนของการแพทย์ฉุกเฉิน อนามัยแม่และเด็ก จะเข้ามาที่ รพ.คลองใหญ่มากกว่าจะข้ามไปที่ รพ.เกาะกงแน่นอน โดยเห็นได้จากการให้บริการที่ผ่านๆ มา รพ.คลองใหญ่จึงได้เตรียมขยายเตียงผู้ป่วยจาก 30 เตียง เป็น 120 เตียง พร้อมทั้งสร้างตึกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ตึกคลอด เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ได้ให้กองแบบแผนและอาคารเข้ามาประเมินและเขียนแบบโครงสร้างแล้ว
“ในการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เน้นเรื่องการค้าขายเป็นหลัก เรื่องของสุขภาพ อนามัยถูกมองให้เป็นเพียงปลายน้ำ ดังนั้นเราจึงได้เตรียมความพร้อมวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับวิเคราะห์งบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับตรงนี้ ทั้งคน เงิน ของ” ผอ.รพ.คลองใหญ่ กล่าว
พญ.โมไนยา กล่าวว่า ส่วนของการเฝ้าระวังโรคติดต่อตามแนวชายแดน ที่ผ่านมามีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศอยู่แล้ว โดยโรคระบาดที่ยังพบอยู่ อาทิ อหิวาตกโรค ไข้เลือดออก แต่พอเริ่มพบผู้ป่วยจึงสามารถเข้าพื้นที่และควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการระบาดในวงกว้าง ขณะที่โรคติดต่อรุนแรงอย่างวัณโรค และเอดส์ นั้นหากพบผู้ป่วยชาวกัมพูชาในประเทศไทยส่วนใหญ่จะส่งต่อกลับไปที่ รพ.เกาะกง โดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยโรคเอดส์นั้นไม่ได้เป็นเพราะความรังเกียจ หรือจะปฏิเสธการรักษา แต่เนื่องจากระบบการดูแลผู้ป่วยโรคดังกล่าวในกัมพูชาเองดีกว่าของไทยมาก มีการใช้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานวันละ 1 ครั้ง และการดูแลอื่นๆ ค่อนข้างดีเป็นไปตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่