กรมควบคุมโรครับพบหวัดใหญ่ H3N2 มากขึ้น ระบุ 2 ใน 3 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่ระบาดในฮ่องกงจนตาย 281 ราย แต่ไม่ต้องกังวล ไม่พบเชื้อรุนแรงหรือกลายพันธุ์ เตรียมนำเข้าวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ เริ่มฉีดกลุ่มเสี่ยงปลาย เม.ย. นี้
วันนี้ (1 มี.ค.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณี รพ.ศิริราช ระบุพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ influenza A (H3) 5 ราย และติดมายังบุคลากรอีกหลายราย ซึ่งวัคซีนที่ฉีดไว้ของปีที่แล้วน่าจะไม่สามารถป้องกันตัวที่กำลังระบาด หรือระบาดแล้วในปีนี้ (Influenza A H3N2 Subtype Switzerland) ส่วนจะเป็นสายพันธุ์ที่หวาดกลัวหรือไม่ ต้องรอผลการตรวจเชื้อในห้องปฏิบัติการนั้น ว่า โดยปกติกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะรวบรวมสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่พบในผู้ป่วยแต่ละสัปดาห์ แล้วนำมาแยกสายพันธุ์ ซึ่งที่ผ่านมาจะพบสายพันธุ์ H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด ส่วน H3N2 เริ่มมาพบมากขึ้นในช่วง 1 - 2 สัปดาห์นี้ โดยประมาณ 2 ใน 3 จะเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับฮ่องกง แต่ยังไม่บ่งชี้ชัดเจน และไม่พบว่ามีการกลายพันธุ์รุนแรง จึงไม่อยากให้กังวลมากนัก
นพ.โอภาส กล่าวว่า การระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่แต่ละสายพันธุ์ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของคนในแต่ละประเทศด้วย อย่างฮ่องกงพบการระบาดของ H3N2 จนมีผู้เสียชีวิต 281 ราย เพราะไม่มีภูมิคุ้มกันของสายพันธุ์นี้ เนื่องจากที่ผ่านมามักพบการระบาดของสายพันธุ์ 2009 หรืออินเดียที่ปัจจุบันมีการระบาดสายพันธุ์ 2009 มากกว่า H3N2 เพราะที่ผ่านมาอินเดียไม่ค่อยพบการระบาดของสายพันธุ์ 2009 ภูมิคุ้มกันจึงน้อย ส่วนประเทศไทยอุบัติการณ์ไข้หวัดใหญ่จำนวนรายงานป่วยใกล้เคียงกับปีที่แล้ว คือตั้งแต่ต้นปี - 16 ก.พ.2558 มีรายงานผู้ป่วย 7,987 ราย เสียชีวิต 10 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว ไม่ได้รับวัคซีนปีที่แล้ว และได้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ช้า ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2557 พบผู้เสียชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันถึง 50 ราย ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่ต้องวิตกมากนัก แต่ก็ไม่ควรประมาท
“คร. เตรียมวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วยสายพันธุ์ 2009 สายพันธุ์บี และสายพันธุ์ H3N2 โดยปีนี้จะเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ 2 ชนิด คือ สายพันธุ์บีจะเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ภูเก็ต ซึ่งมีการพัฒนาและพบว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์บีชนิดเดิม และสายพันธุ์ H3N2 จะเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่พบในฮ่องกง คาดว่าจะนำเข้ามากลาง เม.ย. นี้ จำนวน 3.5 ล้านโดส และให้บริการแก่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ตั้งแต่ปลาย เม.ย. เป็นต้นไป” รองอธิบดี คร. กล่าวและว่า ขณะนี้หลายคนอาจมีความกังวล แต่อยากให้ติดตามการเฝ้าระวังของ สธ. อย่างใกล้ชิด ตระหนักดีกว่าตระหนก โดยประชาชนควรล้างมือบ่อยๆ หากป่วยให้หยุดงานหยุดเรียนจนกว่าจะหาย ผู้ป่วยใส่หน้ากากป้องกันโรคเมื่ออยู่ในชุมชน กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ พบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาต้านไวรัสทันที กลุ่มประชาชนทั่วไป หาก 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงขึ้น เช่น หอบเหนื่อย ให้พบแพทย์ทันที
วันเดียวกัน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ พบว่า ยังไม่มีการระบาดมากแต่ต้องจับตาดูแนวโน้มใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นปีจนถึง มี.ค. เป็นฤดูกาลระบาด จึงสั่งการให้ผู้ตรวจราชการ สธ. ทุกเขต เข้มข้นในการป้องกันโรค โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่งประสานงานกับโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในการเฝ้าระวัง จัดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยหากพบผู้ป่วยให้แจกหน้ากากอนามัย 10 - 15 ชิ้น ให้ผู้ป่วยใส่ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันทีในกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ ให้จัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรค และให้ อสม. ให้ความรู้การดูแลส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังการเจ็บป่วยในชุมชนแบบถึงบ้าน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 มี.ค.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณี รพ.ศิริราช ระบุพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ influenza A (H3) 5 ราย และติดมายังบุคลากรอีกหลายราย ซึ่งวัคซีนที่ฉีดไว้ของปีที่แล้วน่าจะไม่สามารถป้องกันตัวที่กำลังระบาด หรือระบาดแล้วในปีนี้ (Influenza A H3N2 Subtype Switzerland) ส่วนจะเป็นสายพันธุ์ที่หวาดกลัวหรือไม่ ต้องรอผลการตรวจเชื้อในห้องปฏิบัติการนั้น ว่า โดยปกติกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะรวบรวมสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่พบในผู้ป่วยแต่ละสัปดาห์ แล้วนำมาแยกสายพันธุ์ ซึ่งที่ผ่านมาจะพบสายพันธุ์ H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 มากที่สุด ส่วน H3N2 เริ่มมาพบมากขึ้นในช่วง 1 - 2 สัปดาห์นี้ โดยประมาณ 2 ใน 3 จะเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับฮ่องกง แต่ยังไม่บ่งชี้ชัดเจน และไม่พบว่ามีการกลายพันธุ์รุนแรง จึงไม่อยากให้กังวลมากนัก
นพ.โอภาส กล่าวว่า การระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่แต่ละสายพันธุ์ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของคนในแต่ละประเทศด้วย อย่างฮ่องกงพบการระบาดของ H3N2 จนมีผู้เสียชีวิต 281 ราย เพราะไม่มีภูมิคุ้มกันของสายพันธุ์นี้ เนื่องจากที่ผ่านมามักพบการระบาดของสายพันธุ์ 2009 หรืออินเดียที่ปัจจุบันมีการระบาดสายพันธุ์ 2009 มากกว่า H3N2 เพราะที่ผ่านมาอินเดียไม่ค่อยพบการระบาดของสายพันธุ์ 2009 ภูมิคุ้มกันจึงน้อย ส่วนประเทศไทยอุบัติการณ์ไข้หวัดใหญ่จำนวนรายงานป่วยใกล้เคียงกับปีที่แล้ว คือตั้งแต่ต้นปี - 16 ก.พ.2558 มีรายงานผู้ป่วย 7,987 ราย เสียชีวิต 10 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว ไม่ได้รับวัคซีนปีที่แล้ว และได้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ช้า ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2557 พบผู้เสียชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันถึง 50 ราย ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่ต้องวิตกมากนัก แต่ก็ไม่ควรประมาท
“คร. เตรียมวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วยสายพันธุ์ 2009 สายพันธุ์บี และสายพันธุ์ H3N2 โดยปีนี้จะเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ 2 ชนิด คือ สายพันธุ์บีจะเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ภูเก็ต ซึ่งมีการพัฒนาและพบว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์บีชนิดเดิม และสายพันธุ์ H3N2 จะเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่พบในฮ่องกง คาดว่าจะนำเข้ามากลาง เม.ย. นี้ จำนวน 3.5 ล้านโดส และให้บริการแก่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ตั้งแต่ปลาย เม.ย. เป็นต้นไป” รองอธิบดี คร. กล่าวและว่า ขณะนี้หลายคนอาจมีความกังวล แต่อยากให้ติดตามการเฝ้าระวังของ สธ. อย่างใกล้ชิด ตระหนักดีกว่าตระหนก โดยประชาชนควรล้างมือบ่อยๆ หากป่วยให้หยุดงานหยุดเรียนจนกว่าจะหาย ผู้ป่วยใส่หน้ากากป้องกันโรคเมื่ออยู่ในชุมชน กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ พบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาต้านไวรัสทันที กลุ่มประชาชนทั่วไป หาก 48 ชั่วโมง อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงขึ้น เช่น หอบเหนื่อย ให้พบแพทย์ทันที
วันเดียวกัน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ พบว่า ยังไม่มีการระบาดมากแต่ต้องจับตาดูแนวโน้มใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นปีจนถึง มี.ค. เป็นฤดูกาลระบาด จึงสั่งการให้ผู้ตรวจราชการ สธ. ทุกเขต เข้มข้นในการป้องกันโรค โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่งประสานงานกับโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในการเฝ้าระวัง จัดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยหากพบผู้ป่วยให้แจกหน้ากากอนามัย 10 - 15 ชิ้น ให้ผู้ป่วยใส่ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันทีในกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ ให้จัดทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรค และให้ อสม. ให้ความรู้การดูแลส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังการเจ็บป่วยในชุมชนแบบถึงบ้าน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่