ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่สะดุด ยังไม่เข้า ครม.พิจารณา เหตุ บ.ยาข้ามชาติเคลื่อนไหวคัดค้านหนัก หลังกฎหมายกำหนดให้เปิดเผยโครงสร้างราคายา ต้นทุน เอ็นจีโอจี้รองนายกฯเคลียร์ทำเพื่อชาติหรือไม่
แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากเครือข่ายเภสัชกรออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ เพราะไม่เห็นด้วยต่อเนื้อหาที่อนุญาตให้บุคลากรสาธารณสุขวิชาชีพอื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่จัดการควบคุมการผลิต ขาย นำเข้ายาได้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ จึงได้มีการหารือเครือข่ายเภสัชกร และได้มีการปรับแก้ไขเพิ่มเติม และส่งกลับไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการบรรจุเข้าวาระการพิจารณาใน ครม. เนื่องจากยังคงมีความพยายามจะให้แก้ร่าง พ.ร.บ.ยาฯ ดังกล่าวอีกจากบริษัทยาข้ามชาติจำนวนมากคัดค้านเรื่องโครงสร้างราคายา
“บริษัทเหล่านี้มองว่า ในร่างกฎหมายควรเน้นเรื่องคุณภาพยา ประสิทธิภาพยา แต่ไม่ควรไปเกี่ยวเนื่องกับราคายา ขณะที่ภาคเอ็นจีโอกลับมองว่า การควบคุมโครงสร้างราคายาให้มีความเป็นธรรมจะส่งผลต่อการเข้าถึงยาได้ เห็นได้จากกรณียาต้านไวรัสเอชไอวี ที่เดิมมีราคาแพงมาก แต่เมื่อรัฐบาลประกาศทำซีแอล หรือสิทธิเหนือสิทธิบัตรคุ้มครองราคายา ทำให้ยาถูกลง และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงน่าจับตามองว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยาฯ” แหล่งข่าว กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ไม่เคยกำหนดเรื่องการแจ้งราคายา แต่ พ.ร.บ.ตัวใหม่กำหนดไว้ชัดเจนว่า เมื่อบริษัทฯ มาขอขึ้นทะเบียนยาต้องแจ้งเกี่ยวกับโครงสร้างราคายา ต้นทุน ซึ่งบริษัทยาจะมองว่าไม่เกี่ยวกับ สธ. ทั้งที่ไม่ใช่ เพราะ อย.ต้องดูทั้งประสิทธิผล ประสิทธิภาพของยา รวมทั้งความคุ้มค่าของการใช้ยาด้วย ดังนั้น หากมีการระบุเรื่องโครงสร้างราคายาย่อมเป็นความก้าวหน้า และประโยชน์ต่อประชาชนถึงราคายาที่ควรจะเป็นจริงๆ
“พ.ร.บ.ยาฯ ฉบับใหม่ เข้าสู่ขั้นตอนของ ครม.มาสักพัก แต่ไม่มีการบรรจุวาระพิจารณา เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวคัดค้านอยู่ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเรื่องนี้ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และขอให้รองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ออกมาประกาศตัวเองให้ชัดว่า ได้ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อใคร” นายนิมิตร์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากเครือข่ายเภสัชกรออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ เพราะไม่เห็นด้วยต่อเนื้อหาที่อนุญาตให้บุคลากรสาธารณสุขวิชาชีพอื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่จัดการควบคุมการผลิต ขาย นำเข้ายาได้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ จึงได้มีการหารือเครือข่ายเภสัชกร และได้มีการปรับแก้ไขเพิ่มเติม และส่งกลับไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการบรรจุเข้าวาระการพิจารณาใน ครม. เนื่องจากยังคงมีความพยายามจะให้แก้ร่าง พ.ร.บ.ยาฯ ดังกล่าวอีกจากบริษัทยาข้ามชาติจำนวนมากคัดค้านเรื่องโครงสร้างราคายา
“บริษัทเหล่านี้มองว่า ในร่างกฎหมายควรเน้นเรื่องคุณภาพยา ประสิทธิภาพยา แต่ไม่ควรไปเกี่ยวเนื่องกับราคายา ขณะที่ภาคเอ็นจีโอกลับมองว่า การควบคุมโครงสร้างราคายาให้มีความเป็นธรรมจะส่งผลต่อการเข้าถึงยาได้ เห็นได้จากกรณียาต้านไวรัสเอชไอวี ที่เดิมมีราคาแพงมาก แต่เมื่อรัฐบาลประกาศทำซีแอล หรือสิทธิเหนือสิทธิบัตรคุ้มครองราคายา ทำให้ยาถูกลง และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงน่าจับตามองว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยาฯ” แหล่งข่าว กล่าว
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ไม่เคยกำหนดเรื่องการแจ้งราคายา แต่ พ.ร.บ.ตัวใหม่กำหนดไว้ชัดเจนว่า เมื่อบริษัทฯ มาขอขึ้นทะเบียนยาต้องแจ้งเกี่ยวกับโครงสร้างราคายา ต้นทุน ซึ่งบริษัทยาจะมองว่าไม่เกี่ยวกับ สธ. ทั้งที่ไม่ใช่ เพราะ อย.ต้องดูทั้งประสิทธิผล ประสิทธิภาพของยา รวมทั้งความคุ้มค่าของการใช้ยาด้วย ดังนั้น หากมีการระบุเรื่องโครงสร้างราคายาย่อมเป็นความก้าวหน้า และประโยชน์ต่อประชาชนถึงราคายาที่ควรจะเป็นจริงๆ
“พ.ร.บ.ยาฯ ฉบับใหม่ เข้าสู่ขั้นตอนของ ครม.มาสักพัก แต่ไม่มีการบรรจุวาระพิจารณา เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวคัดค้านอยู่ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเรื่องนี้ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และขอให้รองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ออกมาประกาศตัวเองให้ชัดว่า ได้ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อใคร” นายนิมิตร์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่