แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากเครือข่ายเภสัชกรออกมาต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ เพราะไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาที่อนุญาตให้บุคลากรสาธารณสุขวิชาชีพอื่น สามารถปฏิบัติหน้าที่จัดการควบคุมการผลิต ขาย นำเข้ายาได้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ จึงได้มีการหารือเครือข่ายเภสัชกร และได้มีการปรับแก้ไขเพิ่มเติม และส่งกลับไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการบรรจุเข้าวาระการพิจารณาใน ครม. เนื่องจากยังคงมีความพยายามจะให้แก้ ร่าง พ.ร.บ.ยาฯดังกล่าวอีก จากบริษัทยาข้ามชาติจำนวนมาก คัดค้านเรื่องโครงสร้างราคายา
"บริษัทเหล่านี้มองว่า ในร่างกฎหมายควรเน้นเรื่องคุณภาพยา ประสิทธิภาพยา แต่ไม่ควรไปเกี่ยวเนื่องกับราคายา ขณะที่ภาคเอ็นจีโอ กลับมองว่า การควบคุมโครงสร้างราคายาให้มีความเป็นธรรม จะส่งผลต่อการเข้าถึงยาได้ เห็นได้จากกรณียาต้านไวรัสเอชไอวี ที่เดิมมีราคาแพงมาก แต่เมื่อรัฐบาลประกาศทำซีแอล หรือสิทธิเหนือสิทธิบัตรคุ้มครองราคายา ทำให้ยาถูกลง และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงน่าจับตามองว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะผลักดันร่างพ.ร.บ.ยาฯ" แหล่งข่าวฯ กล่าว
"บริษัทเหล่านี้มองว่า ในร่างกฎหมายควรเน้นเรื่องคุณภาพยา ประสิทธิภาพยา แต่ไม่ควรไปเกี่ยวเนื่องกับราคายา ขณะที่ภาคเอ็นจีโอ กลับมองว่า การควบคุมโครงสร้างราคายาให้มีความเป็นธรรม จะส่งผลต่อการเข้าถึงยาได้ เห็นได้จากกรณียาต้านไวรัสเอชไอวี ที่เดิมมีราคาแพงมาก แต่เมื่อรัฐบาลประกาศทำซีแอล หรือสิทธิเหนือสิทธิบัตรคุ้มครองราคายา ทำให้ยาถูกลง และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงน่าจับตามองว่าอาจไม่ง่ายนักที่จะผลักดันร่างพ.ร.บ.ยาฯ" แหล่งข่าวฯ กล่าว