พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่กว่า 30-40% มาจากคู่ผัวเมียที่มีผลเลือดต่าง กรมอนามัยระบุต้นเหตุโรงพยาบาลขาดการจัดบริการให้คำปรึกษาแบบคู่ เน้นแต่ตรวจเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ พลาดโอกาสประเมินความเสี่ยงจากสามี
วันนี้ (26 มิ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีประกาศ Countdown To Zero “Elimination Mother to Child HIV Transmission” ว่า ปัจจุบันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในไทยพบว่า ร้อยละ 30-40 มาจากคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่าง ปัญหาคือแม้อัตราการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดเอชไอวีด้วยความสมัครใจในหญิงตั้งครรภ์จะสูง อย่างปี 2556 กรมอนามัยสำรวจพบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาตัดสินใจตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีถึง 99.7% จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ซึ่งแต่ละปีมีประมาณ 8 แสนราย โดย 95% มารับบริการฝากครรภ์ที่สถานพยาบาล แต่ยังขาดการจัดบริการให้การปรึกษากับคู่สามีของหญิงตั้งครรภ์ด้วย ส่งผลให้พลาดโอกาสในการพูดคุยประเมินพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างคู่และการส่งเสริมให้สามีมีส่วนร่วมในการดูแลภรรยาขณะตั้งครรภ์
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า กรมอนามัยได้พัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีการให้คำปรึกษาแบบคู่ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีของหญิงตั้งครรภ์และสามี ด้วยระบบโปรแกรม PHIMS ซึ่งเป็นระบบกำกับติดตามการดำเนินงานของสถานพยาบาล โดยในปี 2556 มีสถานพยาบาลให้บริการปรึกษาแบบคู่ ร้อยละ 42 มีหญิงคลอดที่ได้รับการตรวจเลือดเอชไอวี ร้อยละ 99.20 โดยมีผลเลือดเอชไอวีบวก ร้อยละ 0.61 เด็กได้รับยาต้านไวรัสร้อยละ 99 และเด็กได้รับนมผสมก่อนออกจากโรงพยาบาลร้อยละ 77
“หญิงตั้งครรภ์มีผลเลือดเอชไอวีบวกจะได้รับยาต้านไวรัส เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ส่วนเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับยาต้านไวรัสหลังคลอดทันที และจะได้รับนมผสมทดแทนนมแม่เป็นเวลา 12-18 เดือน โดยแม่และลูกหลังคลอดจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับหญิงตั้งครรภ์และคู่สามีที่มีผลเลือดเอชไอวีลบ จะได้รับการปรึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงให้คงผลเลือดลบต่อไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 มิ.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีประกาศ Countdown To Zero “Elimination Mother to Child HIV Transmission” ว่า ปัจจุบันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในไทยพบว่า ร้อยละ 30-40 มาจากคู่สามีภรรยาที่มีผลเลือดต่าง ปัญหาคือแม้อัตราการให้การปรึกษาเพื่อตรวจเลือดเอชไอวีด้วยความสมัครใจในหญิงตั้งครรภ์จะสูง อย่างปี 2556 กรมอนามัยสำรวจพบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาตัดสินใจตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีถึง 99.7% จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ซึ่งแต่ละปีมีประมาณ 8 แสนราย โดย 95% มารับบริการฝากครรภ์ที่สถานพยาบาล แต่ยังขาดการจัดบริการให้การปรึกษากับคู่สามีของหญิงตั้งครรภ์ด้วย ส่งผลให้พลาดโอกาสในการพูดคุยประเมินพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างคู่และการส่งเสริมให้สามีมีส่วนร่วมในการดูแลภรรยาขณะตั้งครรภ์
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า กรมอนามัยได้พัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีการให้คำปรึกษาแบบคู่ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีของหญิงตั้งครรภ์และสามี ด้วยระบบโปรแกรม PHIMS ซึ่งเป็นระบบกำกับติดตามการดำเนินงานของสถานพยาบาล โดยในปี 2556 มีสถานพยาบาลให้บริการปรึกษาแบบคู่ ร้อยละ 42 มีหญิงคลอดที่ได้รับการตรวจเลือดเอชไอวี ร้อยละ 99.20 โดยมีผลเลือดเอชไอวีบวก ร้อยละ 0.61 เด็กได้รับยาต้านไวรัสร้อยละ 99 และเด็กได้รับนมผสมก่อนออกจากโรงพยาบาลร้อยละ 77
“หญิงตั้งครรภ์มีผลเลือดเอชไอวีบวกจะได้รับยาต้านไวรัส เพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ส่วนเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับยาต้านไวรัสหลังคลอดทันที และจะได้รับนมผสมทดแทนนมแม่เป็นเวลา 12-18 เดือน โดยแม่และลูกหลังคลอดจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับหญิงตั้งครรภ์และคู่สามีที่มีผลเลือดเอชไอวีลบ จะได้รับการปรึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงให้คงผลเลือดลบต่อไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่