โรคมาลาเรียป่วยลดลง สธ. เชื่อมระบบตรวจวินิจฉัยเชื้อจากพื้นที่ห่างไกล กว่า 300 แห่ง ต่อตรงผู้เชี่ยวชาญห้องแล็บทางเน็ต รู้ผลเร็ว บอกชนิดเชื้อแม่นยำ ช่วยจ่ายยาฆ่าเชื้อให้ผู้ป่วยทันที มั่นใจคุมโรคได้ผล ตั้งเป้ากำจัดให้หมดในปี 2567
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 25 เมษายน ทุกปี เป็นวันมาลาเรียโลก เพื่อรณรงค์ให้ทุกประเทศเร่งขจัดโรคมาลาเรีย องค์การอนามัยโลกรายงานในปี 2557 พบผู้ป่วยมาลาเรียประมาณ 207 ล้านคน ใน 97 ประเทศ เสียชีวิต 6 แสนกว่าคน ร้อยละ 90 อยู่ทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุขไทย ได้จัดรณรงค์ในพื้นที่ต่างๆ เน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจโรค สาเหตุการเกิด และการป้องกัน ประเด็นสำคัญที่สุดคือการกินยารักษาให้ครบสูตร เพื่อป้องกันมาลาเรียดื้อยา
ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียของไทยขณะนี้มีแนวโน้มลดลง ส่วนมากพบตามแนวชายแดน ป่าเขา กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2567 โดยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการ ทีสำคัญเช่น การป้องกันยุงก้นปล่องกัด การตรวจรักษาผู้ติดเชื้อ เพิ่มการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าเขา หรืออยู่ตามแนวชายแดน การเดินทางยากลำบาก เมื่อเจ็บป่วยต้องใช้เวลาเดินทางหลายวันเพื่อรับบริการรักษา รวมทั้งความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย และรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาที่ตรงกับชนิดของเชื้อ ซึ่งในไทยพบ 4 ชนิด ที่พบมากที่สุดคือ ฟาลซิฟารั่ม (Falciparum) และไวแวกซ์ (Vivax) จะทำให้ผู้ป่วยหายป่วยได้เร็ว ไม่แพร่เชื้อสู่คนอื่น
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคมาลาเรีย ในปี 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 เมษายน พบผู้ป่วยคนไทย 2,618 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 21 และพบผู้ป่วยต่างชาติ 893 ราย ลดลงร้อยละ 26 เช่นกัน จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่อุบลราชธานี 1,105 ราย ตาก 637 ราย กาญจนบุรี 200 ราย ยะลา 149 ราย ในปีนี้ กรมควบคุมโรคได้เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยเชื้อและรักษาที่หน่วยมาลาเรียคลินิก ซึ่งเป็นบริการฟรี กระจายอยู่ในจังหวัดชายแดน 30 จังหวัด กว่า 300 แห่ง ให้แม่นยำ และจ่ายยารักษาให้ตรงกับชนิดเชื้อได้เร็วขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีคือติดตั้งกล้องเว็บแคม จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผ่านการทดสอบว่าภาพมีคุณภาพชัดเจน สามารถแยกชนิดเชื้อมาลาเรียได้ นำมาใช้เชื่อมต่อทางระบบออนไลน์กับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ประจำคลินิกมาลาเรียและห้องแล็บปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นการเพิ่มการบริการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียที่ได้มาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็วและคุ้มค่าสำหรับประชาชนทุกคนรวมทั้งที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า การป้องกันโรคมาลาเรีย ที่ได้ผลที่สุด คือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงก้นปล่องกัด ขอแนะนำให้ประชาชนที่อาศัยหรือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ ซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง ควรเตรียมมุ้งหรือเต็นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุง นอนในมุ้งชุบสารเคมี และสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรเป็นสีอ่อนๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีดำเนื่องจากเป็นสีที่ยุงจะชอบ รวมทั้งจุดยากันยุง หรือทายากันยุงที่แขน ขา ใบหู หลังคอ และหลังการกลับจากป่า ภายใน 15 วัน หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ อาเจียน เบื่ออาหาร ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้าน เพื่อรักษาและต้องแจ้งประวัติการเข้าป่าหรือไปบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วย โรคนี้มียารักษาหาย หากรักษาเร็วจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตได้ ประการสำคัญที่สุด โดยขอให้กินยาจนครบตามแพทย์สั่ง แม้ว่าอาการไข้จะสร่างแล้วก็ตาม เพื่อให้หายขาดและป้องกันเชื้อดื้อยา หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 25 เมษายน ทุกปี เป็นวันมาลาเรียโลก เพื่อรณรงค์ให้ทุกประเทศเร่งขจัดโรคมาลาเรีย องค์การอนามัยโลกรายงานในปี 2557 พบผู้ป่วยมาลาเรียประมาณ 207 ล้านคน ใน 97 ประเทศ เสียชีวิต 6 แสนกว่าคน ร้อยละ 90 อยู่ทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยกระทรวงสาธารณสุขไทย ได้จัดรณรงค์ในพื้นที่ต่างๆ เน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจโรค สาเหตุการเกิด และการป้องกัน ประเด็นสำคัญที่สุดคือการกินยารักษาให้ครบสูตร เพื่อป้องกันมาลาเรียดื้อยา
ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียของไทยขณะนี้มีแนวโน้มลดลง ส่วนมากพบตามแนวชายแดน ป่าเขา กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2567 โดยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการ ทีสำคัญเช่น การป้องกันยุงก้นปล่องกัด การตรวจรักษาผู้ติดเชื้อ เพิ่มการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าเขา หรืออยู่ตามแนวชายแดน การเดินทางยากลำบาก เมื่อเจ็บป่วยต้องใช้เวลาเดินทางหลายวันเพื่อรับบริการรักษา รวมทั้งความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย และรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาที่ตรงกับชนิดของเชื้อ ซึ่งในไทยพบ 4 ชนิด ที่พบมากที่สุดคือ ฟาลซิฟารั่ม (Falciparum) และไวแวกซ์ (Vivax) จะทำให้ผู้ป่วยหายป่วยได้เร็ว ไม่แพร่เชื้อสู่คนอื่น
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคมาลาเรีย ในปี 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 เมษายน พบผู้ป่วยคนไทย 2,618 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 21 และพบผู้ป่วยต่างชาติ 893 ราย ลดลงร้อยละ 26 เช่นกัน จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่อุบลราชธานี 1,105 ราย ตาก 637 ราย กาญจนบุรี 200 ราย ยะลา 149 ราย ในปีนี้ กรมควบคุมโรคได้เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยเชื้อและรักษาที่หน่วยมาลาเรียคลินิก ซึ่งเป็นบริการฟรี กระจายอยู่ในจังหวัดชายแดน 30 จังหวัด กว่า 300 แห่ง ให้แม่นยำ และจ่ายยารักษาให้ตรงกับชนิดเชื้อได้เร็วขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีคือติดตั้งกล้องเว็บแคม จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผ่านการทดสอบว่าภาพมีคุณภาพชัดเจน สามารถแยกชนิดเชื้อมาลาเรียได้ นำมาใช้เชื่อมต่อทางระบบออนไลน์กับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ประจำคลินิกมาลาเรียและห้องแล็บปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นการเพิ่มการบริการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียที่ได้มาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็วและคุ้มค่าสำหรับประชาชนทุกคนรวมทั้งที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า การป้องกันโรคมาลาเรีย ที่ได้ผลที่สุด คือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงก้นปล่องกัด ขอแนะนำให้ประชาชนที่อาศัยหรือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ ซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง ควรเตรียมมุ้งหรือเต็นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุง นอนในมุ้งชุบสารเคมี และสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรเป็นสีอ่อนๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีดำเนื่องจากเป็นสีที่ยุงจะชอบ รวมทั้งจุดยากันยุง หรือทายากันยุงที่แขน ขา ใบหู หลังคอ และหลังการกลับจากป่า ภายใน 15 วัน หากมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ อาเจียน เบื่ออาหาร ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้าน เพื่อรักษาและต้องแจ้งประวัติการเข้าป่าหรือไปบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วย โรคนี้มียารักษาหาย หากรักษาเร็วจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตได้ ประการสำคัญที่สุด โดยขอให้กินยาจนครบตามแพทย์สั่ง แม้ว่าอาการไข้จะสร่างแล้วก็ตาม เพื่อให้หายขาดและป้องกันเชื้อดื้อยา หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่