อย. เผยผลตรวจ ไม่ใช่สาหร่ายปลอม หลังชาวบ้านแม่ฮ่องสอนร้องเรียนให้ตรวจสอบ ยันเห็นเซลล์สาหร่ายชัด ไร้พลาสติกปลอมปน ส่วนความเหนียวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์สาหร่าย คาด 2 สัปดาห์รู้ผลตรวจปนเปื้อนโลหะหนักหรือไม่ ย้ำมีความผิดฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับ 3 หมื่นบาท
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีชาวบ้าน จ.แม่ฮ่องสอน ร้องเรียนต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สาหร่ายยี่ห้อหนึ่ง หลังพบซื้อมาประกอบอาหารแล้วมีความผิดปกติ เหนียวคล้ายกับพลาสติก ว่า เบื้องต้น สสอ.แม่สะเรียงได้ตรวจสอบสาหร่ายดังกล่าวแล้ว โดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ พบว่า เห็นเซลล์สาหร่ายชัดเจน ส่วนที่มีลักษณะเหนียวคล้ายพลากสติกนั้นขึ้นอยู่ที่พันธุ์ของสาหร่าย เพราะสาหร่ายแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะความเหนียว ความยืดหยุ่นต่างกัน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือว่ามีความผิดในเรื่องฉลากไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีชื่อผู้ผลิต และสถานที่ผลิต อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบสถานที่จำหน่ายไม่พบสินค้าดังกล่าวแล้ว เนื่องจากผู้จำหน่ายทราบข่าวจึงส่งสินค้าคืนต้นทางที่รับมาจาก จ.เชียงใหม่ ซึ่ง อย. จะตรวจสอบต่อไป ส่วนร้านอื่นๆ ในพื้นที่ก็ไม่พบการจำหน่ายสาหร่ายดังกล่าวเช่นกัน แต่หากผู้ใดจำหน่ายอาหารที่มีฉลากไม่ถูกต้องจะมีโทษปรับ 30,000 บาท
“สาหร่ายดังกล่าวไม่ใช่สาหร่ายปลอม ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตได้โดยนำไปแช่น้ำจะสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าสีของสาหร่ายจะไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเม็ดสีกระจายไม่เท่ากัน ส่วนขอบไม่เรียบ มีรอยหยัก เนื้อสัมผัสลื่น ไม่แข็งกระด้าง มีกลิ่นคาว และมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ของสาหร่าย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการปนเปื้อนโลหะหนัก จำพวกสารหนู ตะกั่ว และปรอทนั้น ได้นำส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.เชียงใหม่แล้ว คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์จะทราบผล” เลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวว่า ส่วนใหญ่สาหร่ายที่จำหน่ายจะเป็นสินค้านำเข้า ซึ่งจะต้องจัดทำฉลากเป็นภาษาไทยระบุชื่ออาหาร ชื่อบริษัทผู้ผลิต/ผู้นำเข้า สถานที่ตั้ง ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุชัดเจน ซึ่งเจ้าหน้าที่ สสอ.แม่สะเรียงได้ขอความร่วมมือให้ร้านค้าระมัดระวังการนำสินค้ามาจำหน่าย โดยขอให้ตรวจสอบฉลากทุกผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้องอยู่ในสภาพดี ส่วนสาหร่ายที่ตลาดห้วยขวางและเยาวราช อย. ก็ได้มีการลงตรวจสอบเช่นกัน ไม่พบสาหร่ายที่เป็นข่าว แต่พบยี่ห้ออื่นฉลากแสดงภาษาจีน จึงได้เก็บตัวอย่างส่งวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อหาพลาสติกปลอมปนและโลหะหนัก
นพ.บุญชัย กล่าวว่า สำหรับการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สาหร่ายนั้น จากการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์ในปีงบประมาณ 2555-2557 สุ่มเก็บตัวอย่างปีละ 50 ตัวอย่าง เพื่อหาโลหะหนัก ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว ปรอท พบว่า คุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามข้อกำหนด อย่างไรก็ตาม หาก อย.ตรวจพบสาหร่ายปลอมจะแจ้งให้ผู้บริโภคทราบทันที รวมทั้งเก็บผลิตภัณฑ์ออกจากท้องตลาด และระวังการนำเข้าโดยด่วน หากผู้บริโภคพบเห็นการนำเข้าหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สาหร่ายโดยไม่มีฉลากภาษาไทย หรือสงสัยว่าจะเป็นของปลอม สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือ สายด่วน อย. 1556
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีชาวบ้าน จ.แม่ฮ่องสอน ร้องเรียนต่อสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สาหร่ายยี่ห้อหนึ่ง หลังพบซื้อมาประกอบอาหารแล้วมีความผิดปกติ เหนียวคล้ายกับพลาสติก ว่า เบื้องต้น สสอ.แม่สะเรียงได้ตรวจสอบสาหร่ายดังกล่าวแล้ว โดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ พบว่า เห็นเซลล์สาหร่ายชัดเจน ส่วนที่มีลักษณะเหนียวคล้ายพลากสติกนั้นขึ้นอยู่ที่พันธุ์ของสาหร่าย เพราะสาหร่ายแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะความเหนียว ความยืดหยุ่นต่างกัน ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือว่ามีความผิดในเรื่องฉลากไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีชื่อผู้ผลิต และสถานที่ผลิต อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบสถานที่จำหน่ายไม่พบสินค้าดังกล่าวแล้ว เนื่องจากผู้จำหน่ายทราบข่าวจึงส่งสินค้าคืนต้นทางที่รับมาจาก จ.เชียงใหม่ ซึ่ง อย. จะตรวจสอบต่อไป ส่วนร้านอื่นๆ ในพื้นที่ก็ไม่พบการจำหน่ายสาหร่ายดังกล่าวเช่นกัน แต่หากผู้ใดจำหน่ายอาหารที่มีฉลากไม่ถูกต้องจะมีโทษปรับ 30,000 บาท
“สาหร่ายดังกล่าวไม่ใช่สาหร่ายปลอม ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตได้โดยนำไปแช่น้ำจะสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าสีของสาหร่ายจะไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเม็ดสีกระจายไม่เท่ากัน ส่วนขอบไม่เรียบ มีรอยหยัก เนื้อสัมผัสลื่น ไม่แข็งกระด้าง มีกลิ่นคาว และมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ของสาหร่าย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการปนเปื้อนโลหะหนัก จำพวกสารหนู ตะกั่ว และปรอทนั้น ได้นำส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.เชียงใหม่แล้ว คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์จะทราบผล” เลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวว่า ส่วนใหญ่สาหร่ายที่จำหน่ายจะเป็นสินค้านำเข้า ซึ่งจะต้องจัดทำฉลากเป็นภาษาไทยระบุชื่ออาหาร ชื่อบริษัทผู้ผลิต/ผู้นำเข้า สถานที่ตั้ง ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุชัดเจน ซึ่งเจ้าหน้าที่ สสอ.แม่สะเรียงได้ขอความร่วมมือให้ร้านค้าระมัดระวังการนำสินค้ามาจำหน่าย โดยขอให้ตรวจสอบฉลากทุกผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้องอยู่ในสภาพดี ส่วนสาหร่ายที่ตลาดห้วยขวางและเยาวราช อย. ก็ได้มีการลงตรวจสอบเช่นกัน ไม่พบสาหร่ายที่เป็นข่าว แต่พบยี่ห้ออื่นฉลากแสดงภาษาจีน จึงได้เก็บตัวอย่างส่งวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อหาพลาสติกปลอมปนและโลหะหนัก
นพ.บุญชัย กล่าวว่า สำหรับการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สาหร่ายนั้น จากการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์ในปีงบประมาณ 2555-2557 สุ่มเก็บตัวอย่างปีละ 50 ตัวอย่าง เพื่อหาโลหะหนัก ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว ปรอท พบว่า คุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามข้อกำหนด อย่างไรก็ตาม หาก อย.ตรวจพบสาหร่ายปลอมจะแจ้งให้ผู้บริโภคทราบทันที รวมทั้งเก็บผลิตภัณฑ์ออกจากท้องตลาด และระวังการนำเข้าโดยด่วน หากผู้บริโภคพบเห็นการนำเข้าหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สาหร่ายโดยไม่มีฉลากภาษาไทย หรือสงสัยว่าจะเป็นของปลอม สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือ สายด่วน อย. 1556
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น