ห่วงวัณโรคในเรือนจำ พบป่วยเกือบ 1.5 พันราย อัตราป่วยสูงกว่าคนทั่วไป 6 เท่า คร. จับมือกรมราชทัณฑ์ สปสช. ตรวจคัดกรองเอดส์/วัณโรค ช่วยป้องกันการติดโรค สกัดการแพร่ระบาดทั้งภายในและนอกเรือนจำ
วันนี้ (24 มี.ค.) ที่เรือนจำพิเศษธนบุรี นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวในงานแถลงข่าวประชาสัมพันธ์งานวัณโรคสู่ประชาชน ในกิจกรรมการรณรงค์วันวัณโรคสากล ประจำปี 2558 พร้อมให้บริการรถเอ็กซ์เรย์เคลื่อนที่ ตรวจสุขภาพปอดและค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแบบครบวงจร รวมถึงการจัดบูธนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องวัณโรคแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ ว่า วันที่ 24 มี.ค. ของทุกปีเป็น วันวัณโรคสากล เพื่อย้ำเตือนให้ทุกภาคส่วนตระหนักว่าวัณโรคยังคงระบาดทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี ส่วนประเทศไทยในปี 2556 คาดประมาณว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 80,000 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 119 ต่อ 100,000 ประชากร ซึ่งขณะนี้เข้าถึงบริการโดยขึ้นทะเบียนรักษาเป็นผู้ป่วย 63,541 ราย มีการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ร่วมด้วยร้อยละ 15 และเสียชีวิตจากวัณโรคปีละ 10,000 ราย รวมทั้งคาดว่ามีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานประมาณ 1,900 ราย
นพ.โสภณ กล่าวว่า คำขวัญที่ใช้ในการรณรงค์ ปี 2558 คือ “เข้าถึงทุกราย รักษาหายทุกคน” คือ เร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แรงงานต่างด้าว ผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน และผู้ต้องขังในเรือนจำ ให้มีโอกาสเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้รักษาหายทุกราย ซึ่งกลุ่มผู้ต้องขังเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสเสี่ยงสูง ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อก่อนจำคุกสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้ต้องขังรายอื่นได้ไม่ยาก และผู้ต้องขังที่ติดเชื้อไม่ว่าจะติดจากนอกหรือในเรือนจำ ก็สามารถกลับไปแพร่กระจายเชื้อให้กับชุมชนได้เมื่อพ้นโทษแล้ว ดังนั้น การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญมาก ช่วยให้ได้รับการรักษาในการป่วยระยะเริ่มแรก ลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค
นพ.สมภพ สังคุตแก้ว ผอ.กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า กรมฯร่วมดำเนินกิจกรรมควบคุมวัณโรคร่วมกับ คร. โดยพบว่า เรือนจำ 142 แห่งทั่วประเทศ มีผู้ต้องขังมากกว่า 230,000 ราย ในปี 2557 มีผู้ป่วยวัณโรคทั้งสิ้น 1,407 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 611 ต่อ 100,000 ประชากร ซึ่งมากกว่าประชาชนทั่วไปถึง 6 เท่า อัตราผลสำเร็จการรักษาร้อยละ 86 ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์คัดกรองวัณโรค ให้การรักษาโดยมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ได้ตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค
ด้าน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข และประธานบอร์ด สปสช. กล่าวว่า คร. กรมราชทัณฑ์ และ สปสช. ได้ร่วมมือดำเนินงาน “โครงการบริการให้คำปรึกษาการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีและการตรวจคัดกรองวัณโรค กลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ ปีงบประมาณ 2558” เพื่อคัดกรองผู้ต้องขังจำนวน 303,802 คน ในเรือนจำ 142 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากเรือนจำมีสภาพพื้นที่ซึ่งจำกัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่ะกระจายโรคได้ง่าย จึงต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันที่เหมาะสม โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษา/ตรวจการติดเชื้อเอชไอวีและคัดกรองวัณโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ผลที่ได้รับคือ กลุ่มผู้ต้องขังในเรืองจำได้รับการคัดกรองวัณโรค และได้รับการบริการให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีตามชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกจากเป็นการป้องกันโรคระหว่างผู้ต้องขังแล้ว ยังป้องกันการแพร่ระบาดออกสู่ภายนอกหลังพ้นโทษ และช่วยให้ผู้ต้องขังที่ตรวจพบเชื้อได้รับการรักษา
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ผู้ต้องขังแม้ว่าจะอยู่ในเรือนจำ แต่ในด้านการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขจะได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับประชาชนกลุ่มอื่นๆ โดยในส่วนของการให้คำปรึกษาและการตรวจเอชไอวีแบบสมัครใจถือเป็นสิทธิที่ทุกคนจะได้รับ โดย สปสช. ให้การสนับสนุนงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นบริการปรึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี 6 ครั้งต่อปี การบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วย Anti-HIV antibody 2 ครั้งต่อปี เช่นเดียวกับการตรวจ คัดกรองและรักษาวัณโรค ไม่ว่าจะเป็นการซักประวัติ การตรวจเอกชเรย์ปอด การตรวจเสมหะ และการให้ยารักษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 มี.ค.) ที่เรือนจำพิเศษธนบุรี นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวในงานแถลงข่าวประชาสัมพันธ์งานวัณโรคสู่ประชาชน ในกิจกรรมการรณรงค์วันวัณโรคสากล ประจำปี 2558 พร้อมให้บริการรถเอ็กซ์เรย์เคลื่อนที่ ตรวจสุขภาพปอดและค้นหาผู้ป่วยวัณโรคแบบครบวงจร รวมถึงการจัดบูธนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องวัณโรคแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ ว่า วันที่ 24 มี.ค. ของทุกปีเป็น วันวัณโรคสากล เพื่อย้ำเตือนให้ทุกภาคส่วนตระหนักว่าวัณโรคยังคงระบาดทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี ส่วนประเทศไทยในปี 2556 คาดประมาณว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 80,000 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 119 ต่อ 100,000 ประชากร ซึ่งขณะนี้เข้าถึงบริการโดยขึ้นทะเบียนรักษาเป็นผู้ป่วย 63,541 ราย มีการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ร่วมด้วยร้อยละ 15 และเสียชีวิตจากวัณโรคปีละ 10,000 ราย รวมทั้งคาดว่ามีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานประมาณ 1,900 ราย
นพ.โสภณ กล่าวว่า คำขวัญที่ใช้ในการรณรงค์ ปี 2558 คือ “เข้าถึงทุกราย รักษาหายทุกคน” คือ เร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แรงงานต่างด้าว ผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน และผู้ต้องขังในเรือนจำ ให้มีโอกาสเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้รักษาหายทุกราย ซึ่งกลุ่มผู้ต้องขังเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสเสี่ยงสูง ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อก่อนจำคุกสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้ต้องขังรายอื่นได้ไม่ยาก และผู้ต้องขังที่ติดเชื้อไม่ว่าจะติดจากนอกหรือในเรือนจำ ก็สามารถกลับไปแพร่กระจายเชื้อให้กับชุมชนได้เมื่อพ้นโทษแล้ว ดังนั้น การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญมาก ช่วยให้ได้รับการรักษาในการป่วยระยะเริ่มแรก ลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค
นพ.สมภพ สังคุตแก้ว ผอ.กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า กรมฯร่วมดำเนินกิจกรรมควบคุมวัณโรคร่วมกับ คร. โดยพบว่า เรือนจำ 142 แห่งทั่วประเทศ มีผู้ต้องขังมากกว่า 230,000 ราย ในปี 2557 มีผู้ป่วยวัณโรคทั้งสิ้น 1,407 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 611 ต่อ 100,000 ประชากร ซึ่งมากกว่าประชาชนทั่วไปถึง 6 เท่า อัตราผลสำเร็จการรักษาร้อยละ 86 ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์คัดกรองวัณโรค ให้การรักษาโดยมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ได้ตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค
ด้าน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข และประธานบอร์ด สปสช. กล่าวว่า คร. กรมราชทัณฑ์ และ สปสช. ได้ร่วมมือดำเนินงาน “โครงการบริการให้คำปรึกษาการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีและการตรวจคัดกรองวัณโรค กลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ ปีงบประมาณ 2558” เพื่อคัดกรองผู้ต้องขังจำนวน 303,802 คน ในเรือนจำ 142 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากเรือนจำมีสภาพพื้นที่ซึ่งจำกัด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่ะกระจายโรคได้ง่าย จึงต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันที่เหมาะสม โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษา/ตรวจการติดเชื้อเอชไอวีและคัดกรองวัณโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ผลที่ได้รับคือ กลุ่มผู้ต้องขังในเรืองจำได้รับการคัดกรองวัณโรค และได้รับการบริการให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีตามชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกจากเป็นการป้องกันโรคระหว่างผู้ต้องขังแล้ว ยังป้องกันการแพร่ระบาดออกสู่ภายนอกหลังพ้นโทษ และช่วยให้ผู้ต้องขังที่ตรวจพบเชื้อได้รับการรักษา
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ผู้ต้องขังแม้ว่าจะอยู่ในเรือนจำ แต่ในด้านการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขจะได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับประชาชนกลุ่มอื่นๆ โดยในส่วนของการให้คำปรึกษาและการตรวจเอชไอวีแบบสมัครใจถือเป็นสิทธิที่ทุกคนจะได้รับ โดย สปสช. ให้การสนับสนุนงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นบริการปรึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวี 6 ครั้งต่อปี การบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วย Anti-HIV antibody 2 ครั้งต่อปี เช่นเดียวกับการตรวจ คัดกรองและรักษาวัณโรค ไม่ว่าจะเป็นการซักประวัติ การตรวจเอกชเรย์ปอด การตรวจเสมหะ และการให้ยารักษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่