xs
xsm
sm
md
lg

รักษา “ไบโพลาร์” ไม่ต่อเนื่องเสี่ยงเป็นซ้ำ 90% ชี้ ผช.นักบินเยอรมันวิงส์ก็ป่วย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


จิตแพทย์ชี้ “โรคไบโพลาร์” อารมณ์สองขั้วอันตราย ชี้ดูแลรักษาไม่ต่อเนื่องโอกาสเป็นซ้ำ 80 - 90% “หมอเบิร์ด” เผยผู้ช่วยนักบิงเยอรมันวิงส์ที่พุ่งตกก็ป่วยโรคนี้ ระบุสังเกตยาก ด้าน สธ. ตั้งเป้าเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต กระจายยาทุกโรงพยาบาล

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 30 มี.ค. ทุกปี เป็นวันไบโพลาร์โลก เพื่อรณรงค์ให้ทั่วโลกเร่งป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีอารมณ์สองขั้วระหว่างรื่นเริงผิดปกติและซึมเศร้า คาดว่าขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยประมาณ 27 ล้านคน หรือร้อยละ 1 - 2 ของประชากรโลก ร้อยละ 20 ฆ่าตัวตายสำเร็จ สำหรับไทยในปี 2555 ประเมินจำนวนผู้มีปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องเข้าถึงบริการ 10 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นโรคไบโพลาร์ประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคจิตเภท การเข้าถึงบริการของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตยังต่ำกว่าโรคทางกายมาก โดยเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 61 จึงต้องพัฒนาระบบบริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

ปี 2558 เน้น 3 เรื่อง คือ 1. เพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวช โดยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปอย่างน้อย 1 แห่ง จัดหอผู้ป่วยเช่นเดียวกับโรงพยาบาลจิตเวช และพัฒนาศักยภาพห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลใหญ่ 33 แห่ง ให้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในภาวะวิกฤตได้ 2. เพิ่มการเข้าถึงยาของผู้ป่วย โดยกระจายยา อาทิ ยาต้านโรคจิต ยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านเศร้า ยาคลายเครียด ยากันชัก เป็นต้น สู่โรงพยาบาลทั่วประเทศ และ 3. พัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในการคัดกรองและจัดกิจกรรมส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน จัดทีมหมอครอบครัวลงติดตามดูแลผู้ป่วยทุกรายอย่างต่อเนื่อง” รมว.สธ. กล่าว

วันเดียวกัน ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวในกิจกรรม “วันไบโพลาร์โลก” ว่า โรคนี้รักษาหายได้ แต่ต้องได้รับกำลังใจและรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะหากไม่รับการรักษาติดตามดูแลจะกลับเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีญาติเป็นโรคซึมเศร้า มีวงจรการกิน การนอนผิดปกติ ตลอดจนคนใช้สารเสพติด ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วน 1323 ตลอด 24 ชั่วโมงฟรี

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ประเทศไทยอาจไม่คุ้นเคยกับโรคนี้มากนัก แต่ต่างประเทศรู้จักกันดี อย่างกรณีนักบินผู้ช่วยของสายการบินเยอรมันวิงส์พุ่งตกนั้น ก็พบว่าป่วยเป็นโรคไบโพลาร์เช่นกัน ถือเป็นโรคที่มีความรุนแรง ปัญหาคือ โรคนี้สังเกตยาก เพราะผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ แต่จะมีลักษณะเหมือนคนนิสัยไม่ดีทั่วไป แต่สังเกตได้ตรง จะทำอะไรที่แปลกไปจากเดิม เช่น มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป อย่างร่าเริงผิดปกติ เศร้าผิดปกติ เป็นต้อง หากพบเจอญาติหรือคนใกล้ชิดมีลักษณะอาการเช่นนี้ให้รีบพาพบจิตแพทย์เพื่อบำบัดรักษาด่วน

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่


In Pics :  ค้นพบ “DNA 78 เหยื่อเยอรมันวิงส์” - โต้พบชิ้นส่วนร่างนักบินผู้ช่วย ที่อาจเครียดปัญหาสายตากระทบฝัน “กัปตันบินลุฟท์ฮันซ่า”
In Pics : ค้นพบ “DNA 78 เหยื่อเยอรมันวิงส์” - โต้พบชิ้นส่วนร่างนักบินผู้ช่วย ที่อาจเครียดปัญหาสายตากระทบฝัน “กัปตันบินลุฟท์ฮันซ่า”
5 วันหลังจากเครื่องบินโลว์คอสสัญชาติเยอรมัน “เยอรมันวิงส์” เที่ยวบิน 4U 9525 ได้ตกที่เทือกเขาแอลป์ คร่าชีวิตร่วม 150 คนที่อยู่บนเครื่องทั้งหมด ล่าสุดเจ้าหน้าที่สอบสวนฝรั่งเศสเปิดเผยว่าพบตัวอย่าง DNAของผู้โดยสาร 78 คน แต่ปฎิเสธการรายงานของสื่อเยอรมันว่ามีการพบชิ้นส่วนร่างกายของแอนเดรียส ลูบิตซ์ ผู้ช่วยนักบินคนขับ ผู้ที่เป็นสาเหตุทำให้เที่ยวบินนี้เกิดอุบัติเหตุ รวมไปถึงไม่แน่ชัดว่า ความเครียดของนักบินผู้ช่วยเกิดจากปัญหาสายตาที่อาจทำให้เขาไม่สามารถขึ้นเป็นนักบินมือหนึ่งของสายการบินลุฟต์ฮันซาในอนาคตหรือไม่
กำลังโหลดความคิดเห็น