เครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลากร้องกฤษฎีกาคัดค้านร่าง พ.ร.บ. สลากฉบับใหม่ ชี้ขัดนโยบาย สร้างความเสียหายต่อรัฐ
วันนี้ (26 มี.ค. 58) เวลา 10.00 น. ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก พร้อมเครือข่ายกว่า 20 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับใหม่ พร้อมทั้งนำเสนอผลเสียต่อการออกร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว
นายธนากร กล่าวว่า ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มี.ค. นั้น มีเจตนารมณ์ไม่ครบถ้วน ให้ความหมายคำที่เป็นสาระสำคัญบางคำอย่างคลุมเครือ อีกทั้งไม่กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้รัดกุม เปิดช่องให้เกิดการกระทำที่นำความเสียหายต่อรัฐได้ และมีลักษณะส่งเสริมการขยายตัวของการเล่นพนัน ซึ่งขัดต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา เพราะการแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีเจตนาเพียงเพื่อให้สำนักงานสลากฯสามารถออกสลากชนิดใหม่ๆ ได้ทุกประเภท ได้แก่ สลากล็อตโต สลากออนไลน์ สลากเลขท้ายสองตัวสามตัว สลากขูด สลากเขียน และสลากทายผลกีฬาได้ทั้งหมดภายใต้ชื่อ “สลากกินแบ่งสาธารณประโยชน์” โดยเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลสามารถอนุมัติจำนวนและรูปแบบสลากต่างๆ ได้เต็มที่ และเปิดช่องให้รัฐบาลสามารถนำรายได้จากการจำหน่ายสลากไปใช้ได้อย่างเปิดกว้าง
“ปัญหาของกิจการสลาก ที่ผ่านมา ทั้งการจำหน่ายเกินราคา การกระจายสลากสู่ผู้ค้ารายย่อยอย่างไม่เป็นธรรม ปัญหาการไม่ได้รับความเชื่อถือในการออกรางวัล หรือ หวยล็อก ปัญหาการครอบงำจากฝ่ายการเมือง รวมทั้งการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ากิจการสลากฯเป็นการมอมเมาประชาชนเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ ล้วนมีสาเหตุมาจากโครงสร้างการบริหารงานที่ไม่โปร่งใส ขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ขาดกลไกการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ และขาดการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม” นายธนากร กล่าว
นายธนากร กล่าวต่อว่า เครือข่ายฯขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวและขอเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและเกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ดังนี้ 1. ให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการสลากฯเป็นกลไกใหม่ ทำหน้าที่กำกับดูแลการกิจการสลาก การอนุมัติการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ การวิจัยผลกระทบทางสังคม การรับฟังความเห็นของประชาชน ก่อนเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และหากกิจการใดๆจะออกสลาก หรือสิ่งคล้ายสลาก เช่น หวยชาเขียว ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนี้ ส่วนคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือบอร์ดเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้มีอำนาจออกสลากตามที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการสลากฯ จัดการโรงพิมพ์ จัดจำหน่ายสลาก และให้แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่กิจการสลากมีต่อสังคม โดยจัดสรรเงินส่วนหนึ่งที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนกิจการสาธารณประโยชน์ตามหลักสากล และสนับสนุนการดำเนินการทางสังคมเพื่อลดผลกระทบจากการพนัน 2. ขอให้ระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินในหลายๆ มาตราให้ชัดเจน โดยเฉพาะเงิน กองทุนบริหารจัดการสลาก เพื่อรับซื้อสลากที่ขายไม่หมด ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ต้องระบุชัดเจนว่าให้นำมารับซื้อสลากคืนจากผู้ค้ารายย่อยเท่านั้น โดยแบ่งส่วนหนึ่งมาเป็นกองทุนสวัสดิการ และกองทุนให้กู้ยืมเพื่อผู้ค้ารายย่อยด้วย ส่วนค่าบริหารงานที่มีการเสนอให้ได้รับส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นอีก3%ก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเพื่อมาเพิ่มส่วนแบ่งให้ผู้ค้ารายย่อย
“เครือข่ายฯเห็นด้วย ในมาตรการห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ซื้อและขายสลาก แต่ขอให้กำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติที่ผูกพันความรับผิดชอบของหน่วยงานอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ขอให้ยึดถือรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทย ของวุฒิสภา เมื่อปี 2557 ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพราะหากดึงดันแก้ไขตามร่างที่ถูกเสนอมารับรองว่าเสียของแน่นอนเพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่โครงสร้างอย่างแท้จริง แค่เพิ่มชนิดสลาก เพิ่มอำนาจให้บอร์ด และเปิดช่องให้นำเงินมาใช้ได้ง่ายเท่านั้น” นายธนากร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 มี.ค. 58) เวลา 10.00 น. ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก พร้อมเครือข่ายกว่า 20 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติสลากกินแบ่งรัฐบาลฉบับใหม่ พร้อมทั้งนำเสนอผลเสียต่อการออกร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว
นายธนากร กล่าวว่า ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มี.ค. นั้น มีเจตนารมณ์ไม่ครบถ้วน ให้ความหมายคำที่เป็นสาระสำคัญบางคำอย่างคลุมเครือ อีกทั้งไม่กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้รัดกุม เปิดช่องให้เกิดการกระทำที่นำความเสียหายต่อรัฐได้ และมีลักษณะส่งเสริมการขยายตัวของการเล่นพนัน ซึ่งขัดต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา เพราะการแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีเจตนาเพียงเพื่อให้สำนักงานสลากฯสามารถออกสลากชนิดใหม่ๆ ได้ทุกประเภท ได้แก่ สลากล็อตโต สลากออนไลน์ สลากเลขท้ายสองตัวสามตัว สลากขูด สลากเขียน และสลากทายผลกีฬาได้ทั้งหมดภายใต้ชื่อ “สลากกินแบ่งสาธารณประโยชน์” โดยเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลสามารถอนุมัติจำนวนและรูปแบบสลากต่างๆ ได้เต็มที่ และเปิดช่องให้รัฐบาลสามารถนำรายได้จากการจำหน่ายสลากไปใช้ได้อย่างเปิดกว้าง
“ปัญหาของกิจการสลาก ที่ผ่านมา ทั้งการจำหน่ายเกินราคา การกระจายสลากสู่ผู้ค้ารายย่อยอย่างไม่เป็นธรรม ปัญหาการไม่ได้รับความเชื่อถือในการออกรางวัล หรือ หวยล็อก ปัญหาการครอบงำจากฝ่ายการเมือง รวมทั้งการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ากิจการสลากฯเป็นการมอมเมาประชาชนเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ ล้วนมีสาเหตุมาจากโครงสร้างการบริหารงานที่ไม่โปร่งใส ขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ขาดกลไกการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ และขาดการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม” นายธนากร กล่าว
นายธนากร กล่าวต่อว่า เครือข่ายฯขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวและขอเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและเกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ดังนี้ 1. ให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการสลากฯเป็นกลไกใหม่ ทำหน้าที่กำกับดูแลการกิจการสลาก การอนุมัติการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ การวิจัยผลกระทบทางสังคม การรับฟังความเห็นของประชาชน ก่อนเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และหากกิจการใดๆจะออกสลาก หรือสิ่งคล้ายสลาก เช่น หวยชาเขียว ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนี้ ส่วนคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือบอร์ดเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้มีอำนาจออกสลากตามที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการสลากฯ จัดการโรงพิมพ์ จัดจำหน่ายสลาก และให้แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่กิจการสลากมีต่อสังคม โดยจัดสรรเงินส่วนหนึ่งที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนกิจการสาธารณประโยชน์ตามหลักสากล และสนับสนุนการดำเนินการทางสังคมเพื่อลดผลกระทบจากการพนัน 2. ขอให้ระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินในหลายๆ มาตราให้ชัดเจน โดยเฉพาะเงิน กองทุนบริหารจัดการสลาก เพื่อรับซื้อสลากที่ขายไม่หมด ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ต้องระบุชัดเจนว่าให้นำมารับซื้อสลากคืนจากผู้ค้ารายย่อยเท่านั้น โดยแบ่งส่วนหนึ่งมาเป็นกองทุนสวัสดิการ และกองทุนให้กู้ยืมเพื่อผู้ค้ารายย่อยด้วย ส่วนค่าบริหารงานที่มีการเสนอให้ได้รับส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นอีก3%ก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเพื่อมาเพิ่มส่วนแบ่งให้ผู้ค้ารายย่อย
“เครือข่ายฯเห็นด้วย ในมาตรการห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ซื้อและขายสลาก แต่ขอให้กำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติที่ผูกพันความรับผิดชอบของหน่วยงานอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ขอให้ยึดถือรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทย ของวุฒิสภา เมื่อปี 2557 ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพราะหากดึงดันแก้ไขตามร่างที่ถูกเสนอมารับรองว่าเสียของแน่นอนเพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่โครงสร้างอย่างแท้จริง แค่เพิ่มชนิดสลาก เพิ่มอำนาจให้บอร์ด และเปิดช่องให้นำเงินมาใช้ได้ง่ายเท่านั้น” นายธนากร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่