สั่ง สพฐ. ปรับลดจำนวน นร. ต่อห้อง ปฐมวัย - ประถมศึกษา ไม่เกิน 30 คนต่อห้อง ส่วนมัธยม ไม่เกิน 40 คนต่อห้อง ให้ได้ภายใน 5 ปี พร้อมยกเลิกจัดสอบ LAS ระดับเขตพื้นที่ฯ มีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 58 เป็นต้นไป “ณรงค์” สั่งเด็ดขาดปีหน้าต้องลดกิจกรรม นร. ลงให้เหลือแค่ 10% ของเวลาเรียนทั้งหมดหรือ 20 วันจาก 200 วัน
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ให้ปรับลดจำนวนนักเรียนต่อห้องในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันกำหนดจำนวนครูต่อนักเรียนและจำนวนนักเรียนต่อห้องในแต่ระดับ ดังนี้ ระดับปฐมวัย ครู 1 คนต่อนักเรียน 30 คน หรือ 1:30 ส่วนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 1:40 คน อย่างไรก็ตาม สำหรับจำนวนนักเรียนต่อห้องสัดส่วนใหม่ ระดับปฐมวัย ไม่เกินห้องละ 30 คน ระดับประถมศึกษา ไม่เกินห้องละ 30 คน เพราะต้องการให้ครูได้ใกล้ชิดเด็กมากขึ้นเพื่อจะดูแลได้อย่างทั่วถึง ส่วนระดับมัธยมศึกษา ไม่เกินห้องละ 40 คน ทั้งนี้ ประชุมได้มอบให้ สพฐ. ไปดำเนินการปรับขนาดห้องเรียนตามจำนวนนักเรียนที่กำหนดให้ได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
“ประชุมได้พิจารณาและอภิปรายเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง และเข้าใจดีว่าคงไม่สามารถทำได้สำเร็จภายในปีหรือสองปี เพราะต้องให้โรงเรียนได้มีเวลาเตรียมพร้อมและปรับตัว ขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงกรณีโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ที่ปัจจุบันมีปัญหาเด็กล้นถึง 50 คนต่อห้องเพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่นิยมส่งลูกเข้าเรียน เพราะฉะนั้น ถือเป็นการบ้านข้อใหญ่ที่ สพฐ. จะต้องไปวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่โดยรอบให้ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครอง” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กมธ.ปฏิรูปฯ ยังได้เสนอให้ยกเลิกการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ (National Test : NT) ในระดับ ป.3 และการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือ (Local Assessment System : LAS) ในระดับ ป.2 ป.3 ม.4 และ ม.5 แต่ที่ประชุมเห็นว่าไม่ควรยกเลิกการสอบ NT ป.3 เพราะเป็นการทดสอบระดับชาติครั้งแรกตั้งแต่เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาจึงให้คงไว้ แต่ในการสอบ LAS นั้น ที่ประชุมเห็นว่าการสอบดังกล่าวเป็นการประเมินภายในของระดับเขตพื้นที่ฯ การศึกษาเท่านั้น อีกทั้งโรงเรียนก็มีการประเมินนักเรียนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงมีมติให้ยกเลิกการสอบ LAS ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังขอให้ สพฐ.ไปปรับลดกิจกรรมนักเรียนลงด้วย เพราะปัจจุบันโรงเรียนต่าง ๆ มีกิจกรรมมากเกินไป ทำให้ครู และนักเรียนไม่มีเวลาอยู่ในห้องเรียน โดยที่ผ่านมานักเรียนและครู ต้องออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกห้องเรียนเฉลี่ยปีละ 84 วัน จากเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 200 วัน เท่ากับว่าเด็กใช้เวลาทำกิจกรรม ถึง 40% ของเวลาเรียนทั้งหมดซึ่งมากเกินไป ดังนั้น จะต้องไปปรับลดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหลือไม่เกิน 10% หรือประมาณ 20 วันของเวลาเรียนทั้งหมด โดยขอให้ สพฐ.เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อบูรณาการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำและเรื่องนี้ ศธ.จะประกาศเป็นนโยบาย โดยในปีการศึกษา 2558 กิจกรรมของนักเรียนจะต้องลงลดลงเห็นได้ชัด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ให้ปรับลดจำนวนนักเรียนต่อห้องในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งปัจจุบันกำหนดจำนวนครูต่อนักเรียนและจำนวนนักเรียนต่อห้องในแต่ระดับ ดังนี้ ระดับปฐมวัย ครู 1 คนต่อนักเรียน 30 คน หรือ 1:30 ส่วนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 1:40 คน อย่างไรก็ตาม สำหรับจำนวนนักเรียนต่อห้องสัดส่วนใหม่ ระดับปฐมวัย ไม่เกินห้องละ 30 คน ระดับประถมศึกษา ไม่เกินห้องละ 30 คน เพราะต้องการให้ครูได้ใกล้ชิดเด็กมากขึ้นเพื่อจะดูแลได้อย่างทั่วถึง ส่วนระดับมัธยมศึกษา ไม่เกินห้องละ 40 คน ทั้งนี้ ประชุมได้มอบให้ สพฐ. ไปดำเนินการปรับขนาดห้องเรียนตามจำนวนนักเรียนที่กำหนดให้ได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
“ประชุมได้พิจารณาและอภิปรายเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง และเข้าใจดีว่าคงไม่สามารถทำได้สำเร็จภายในปีหรือสองปี เพราะต้องให้โรงเรียนได้มีเวลาเตรียมพร้อมและปรับตัว ขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงกรณีโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ที่ปัจจุบันมีปัญหาเด็กล้นถึง 50 คนต่อห้องเพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่นิยมส่งลูกเข้าเรียน เพราะฉะนั้น ถือเป็นการบ้านข้อใหญ่ที่ สพฐ. จะต้องไปวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่โดยรอบให้ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครอง” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กมธ.ปฏิรูปฯ ยังได้เสนอให้ยกเลิกการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ (National Test : NT) ในระดับ ป.3 และการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือ (Local Assessment System : LAS) ในระดับ ป.2 ป.3 ม.4 และ ม.5 แต่ที่ประชุมเห็นว่าไม่ควรยกเลิกการสอบ NT ป.3 เพราะเป็นการทดสอบระดับชาติครั้งแรกตั้งแต่เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาจึงให้คงไว้ แต่ในการสอบ LAS นั้น ที่ประชุมเห็นว่าการสอบดังกล่าวเป็นการประเมินภายในของระดับเขตพื้นที่ฯ การศึกษาเท่านั้น อีกทั้งโรงเรียนก็มีการประเมินนักเรียนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงมีมติให้ยกเลิกการสอบ LAS ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังขอให้ สพฐ.ไปปรับลดกิจกรรมนักเรียนลงด้วย เพราะปัจจุบันโรงเรียนต่าง ๆ มีกิจกรรมมากเกินไป ทำให้ครู และนักเรียนไม่มีเวลาอยู่ในห้องเรียน โดยที่ผ่านมานักเรียนและครู ต้องออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกห้องเรียนเฉลี่ยปีละ 84 วัน จากเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 200 วัน เท่ากับว่าเด็กใช้เวลาทำกิจกรรม ถึง 40% ของเวลาเรียนทั้งหมดซึ่งมากเกินไป ดังนั้น จะต้องไปปรับลดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหลือไม่เกิน 10% หรือประมาณ 20 วันของเวลาเรียนทั้งหมด โดยขอให้ สพฐ.เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อบูรณาการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำและเรื่องนี้ ศธ.จะประกาศเป็นนโยบาย โดยในปีการศึกษา 2558 กิจกรรมของนักเรียนจะต้องลงลดลงเห็นได้ชัด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่