“บิ๊กเต่า” กำชับแก้ไข กม. คุ้มครองแรงงานต้องรักษาข้อดีไว้ ให้ยึดประโยชน์แรงงานเป็นหลัก ด้าน กสร. แจงปรับแก้การกำหนดระยะเวลาได้รับสิทธิเงินชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง ผิดนัดต้องจ่ายดอกเบี้ย - กำหนดอายุเกษียณไว้ที่ 60 ปี - ให้การเกษียณเป็นการเลิกจ้างต้องได้รับเงินชดเชย - หญิงตั้งครรภ์ลาตรวจสุขภาพได้
วันนี้ (16 มี.ค.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาไตรภาคีเพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ พ.ศ... ว่า ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งสภาพสังคม การจ้างงาน และเทคโนโลยี ซึ่งจะต้องมีการมองว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยการแก้ไขกฎหมายสิ่งใดที่ดีควรรักษาไว้ แต่เรื่องที่เป็นปัญหาที่พบในข้อกฎหมายควรปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยให้ผู้ใช้แรงงานได้ประโยชน์สูงสุด และไม่ควรเอากฎหมายจากประเทศอื่นมาใช้กับประเทศไทยแต่ควรมีการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่าง และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม
นายสมภพ ปราบณรงค์ ผอ.กองนิติการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า สาเหตุที่ กสร. แก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและเพิ่มสิทธิประโยชน์ของแรงงาน เช่น การแก้ไขให้กำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง อัตราดอกเบี้ยที่นายจ้างต้องจ่ายหากผิดนัดจ่ายเงินค่าชดเชย กรณีให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้นายจ้างจัดวันหยุดวันอื่นชดเชยภายในสัปดาห์ถัดไป ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ไม่น้อยกว่า 6 วันต่อปี การกำหนดวันลาตรวจสุขภาพก่อนคลอดบุตรนอกจากนี้ กำหนดให้ลูกจ้างเกษียณเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และให้การเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างที่ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างย้ายสถานประกอบการให้แจ้งลูกจ้างให้ทราบล่วงหน้าและลูกจ้างบอกเลิกสัญญาได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการโดยลูกจ้างได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราที่พึงได้สิทธิ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ร่างแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานยังอยู่ระหว่างประชาพิจารณ์ทั้งฝ่ายรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง โดยจะสรุปผลประชาพิจารณ์นำมาปรับปรุงร่างแก้ไขเพื่อเสนอต่อ รมว.แรงงาน ต่อไป
ด้าน นายปัณณพงศ์ อิทธิ์อรรถนนท์ เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าไทย กล่าวว่า หากการแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมให้แก่แรงงานถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งร่างดังกล่าวเป็นการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคม แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือร่างกฎหมายของผู้ใช้แรงงานที่เสนอว่ากรณีที่นิติบุคคลมีการสืบทอดทางมรดก โดยการเปลี่ยนผู้บริหารบริษัทถือว่าเป็นการเปลี่ยนนายจ้าง หากลูกจ้างไม่ต้องการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งมองว่าจะเกิดผลกระทบและคิดว่านั่นไม่ใช่การเปลี่ยนนายจ้าง เพราะนิติบุคคลยังคงอยู่
นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเพิ่มวันลาให้หญิงมีครรภ์ไปตรวจสุขภาพก่อนและหลังคลอดได้อีก 45 วันนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับลูกจ้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้การไปตรวจสุขภาพลูกจ้างต้องลากิจไป แต่ข้อกำหนดดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะลูกจ้างมักจะลาไม่ครบกำหนดที่กฎหมายให้ เนื่องจากกลัวว่าจะส่งผลต่อการพิจารณาโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือน จึงอยากให้กำหนดไว้ชัดเจนเลยว่าให้ลาให้ครบตามที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ อยากให้ รมว.แรงงาน นำ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาพิจารณาปรับแก้ไขด้วย เนื่องจากใช้บังคับมากว่า 40 ปีแล้วโดยที่ไม่เคยแก้ไขเลย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 มี.ค.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาไตรภาคีเพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ พ.ศ... ว่า ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งสภาพสังคม การจ้างงาน และเทคโนโลยี ซึ่งจะต้องมีการมองว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยการแก้ไขกฎหมายสิ่งใดที่ดีควรรักษาไว้ แต่เรื่องที่เป็นปัญหาที่พบในข้อกฎหมายควรปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยให้ผู้ใช้แรงงานได้ประโยชน์สูงสุด และไม่ควรเอากฎหมายจากประเทศอื่นมาใช้กับประเทศไทยแต่ควรมีการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่าง และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม
นายสมภพ ปราบณรงค์ ผอ.กองนิติการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า สาเหตุที่ กสร. แก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและเพิ่มสิทธิประโยชน์ของแรงงาน เช่น การแก้ไขให้กำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าภายใน 3 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง อัตราดอกเบี้ยที่นายจ้างต้องจ่ายหากผิดนัดจ่ายเงินค่าชดเชย กรณีให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้นายจ้างจัดวันหยุดวันอื่นชดเชยภายในสัปดาห์ถัดไป ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ไม่น้อยกว่า 6 วันต่อปี การกำหนดวันลาตรวจสุขภาพก่อนคลอดบุตรนอกจากนี้ กำหนดให้ลูกจ้างเกษียณเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และให้การเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างที่ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างย้ายสถานประกอบการให้แจ้งลูกจ้างให้ทราบล่วงหน้าและลูกจ้างบอกเลิกสัญญาได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการโดยลูกจ้างได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราที่พึงได้สิทธิ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ร่างแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานยังอยู่ระหว่างประชาพิจารณ์ทั้งฝ่ายรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง โดยจะสรุปผลประชาพิจารณ์นำมาปรับปรุงร่างแก้ไขเพื่อเสนอต่อ รมว.แรงงาน ต่อไป
ด้าน นายปัณณพงศ์ อิทธิ์อรรถนนท์ เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าไทย กล่าวว่า หากการแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมให้แก่แรงงานถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งร่างดังกล่าวเป็นการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคม แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือร่างกฎหมายของผู้ใช้แรงงานที่เสนอว่ากรณีที่นิติบุคคลมีการสืบทอดทางมรดก โดยการเปลี่ยนผู้บริหารบริษัทถือว่าเป็นการเปลี่ยนนายจ้าง หากลูกจ้างไม่ต้องการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งมองว่าจะเกิดผลกระทบและคิดว่านั่นไม่ใช่การเปลี่ยนนายจ้าง เพราะนิติบุคคลยังคงอยู่
นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเพิ่มวันลาให้หญิงมีครรภ์ไปตรวจสุขภาพก่อนและหลังคลอดได้อีก 45 วันนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับลูกจ้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้การไปตรวจสุขภาพลูกจ้างต้องลากิจไป แต่ข้อกำหนดดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะลูกจ้างมักจะลาไม่ครบกำหนดที่กฎหมายให้ เนื่องจากกลัวว่าจะส่งผลต่อการพิจารณาโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือน จึงอยากให้กำหนดไว้ชัดเจนเลยว่าให้ลาให้ครบตามที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ อยากให้ รมว.แรงงาน นำ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาพิจารณาปรับแก้ไขด้วย เนื่องจากใช้บังคับมากว่า 40 ปีแล้วโดยที่ไม่เคยแก้ไขเลย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่