จักษุแพทย์ศิริราชยันเล่นมือถือ - แท็บเล็ตในที่มืด ตอนกลางคืนไม่ทำให้ตาบอด แต่ทำให้ปวดตา เหตุใช้กล้ามเนื้อตาหนักขึ้น ระบุแสงสีฟ้าจากจอมือถือไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นต้นกำเนิดรังสีร้าย “อัลตราไวโอเลต” ทำจอประสาทตาเสื่อมเร็ว เตือนพักสายตาทุกชั่วโมง
นพ.นริศ กิจณรงค์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะเลขาธิการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ข้อกังวลเรื่องแสงสีฟ้า (Blue Light) ที่ออกมาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อดวงตานั้น จริงๆ แล้วแสงสีฟ้าไม่ใช่ปัญหาหนัก ที่เป็นปัญหาคือรังสีอัลตราไวโอเลตที่ออกมาจากโทรศัพท์ ซึ่งติดกับแสงสีฟ้า โดยหากกระทบกับดวงตามากๆ เป็นเวลานานจะส่งผลให้จอตาเสื่อม กลายเป็นตาต้อกระจกได้ ดังนั้น แสงสีฟ้าไม่ได้เกิดปัญหาโดยตรง แต่เป็นต้นกำเนิดของรังสีอัลตราไวโอเลต
“ทุกวันนี้คนหันมาใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะห้ามใช้แต่อย่างใด เพียงแต่ให้รู้จักใช้อย่างเป็นเวลา โดยมากสุดให้พักใช้ทุกๆ 2 ชั่วโมง แต่ดีที่สุดคือ ทุก 1 ชั่วโมงควรพักสายตาสักพัก มองไปไกลๆ หรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ทั้งเล่นกีฬา ออกกำลังกาย โดยเฉพาะเด็กๆ พ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นดูแล และกำหนดเวลาในการเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตด้วย เพราะนอกจากรังสีดังกล่าวแล้ว การเพ่งมองโทรศัพท์มากๆ ยังส่งผลให้เกิดอาการปวดตา เนื่องจากกล้ามเนื้อตาถูกใช้งานมาก และยังเกิดสายตาสั้นเทียม ไปจนถึงอาจสายตาสั้นถาวรเร็วขึ้น รวมทั้งในผู้สูงอายุก็เช่นกัน เนื่องจากต้องเพ่งสายตามากๆ ก็จะทำให้ตาล้า ปวดตามากขึ้น” นพ.นริศ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเล่นสมาร์ทโฟนเวลากลางคืน หรือปิดไฟเล่นมีโอกาสตาบอดหรือไม่ นพ.นริศ กล่าวว่า ไม่มี เพียงแต่ที่มีการห้ามเล่นในที่มืด เนื่องจากแสงน้อย และแสงจากโทรศัพท์จะส่งผลให้มีการใช้กล้ามเนื้อตามากขึ้น ทำให้ปวดตา แต่ไม่ถึงขนาดตาบอดแต่อย่างใด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.นริศ กิจณรงค์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะเลขาธิการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ข้อกังวลเรื่องแสงสีฟ้า (Blue Light) ที่ออกมาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อดวงตานั้น จริงๆ แล้วแสงสีฟ้าไม่ใช่ปัญหาหนัก ที่เป็นปัญหาคือรังสีอัลตราไวโอเลตที่ออกมาจากโทรศัพท์ ซึ่งติดกับแสงสีฟ้า โดยหากกระทบกับดวงตามากๆ เป็นเวลานานจะส่งผลให้จอตาเสื่อม กลายเป็นตาต้อกระจกได้ ดังนั้น แสงสีฟ้าไม่ได้เกิดปัญหาโดยตรง แต่เป็นต้นกำเนิดของรังสีอัลตราไวโอเลต
“ทุกวันนี้คนหันมาใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะห้ามใช้แต่อย่างใด เพียงแต่ให้รู้จักใช้อย่างเป็นเวลา โดยมากสุดให้พักใช้ทุกๆ 2 ชั่วโมง แต่ดีที่สุดคือ ทุก 1 ชั่วโมงควรพักสายตาสักพัก มองไปไกลๆ หรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ทั้งเล่นกีฬา ออกกำลังกาย โดยเฉพาะเด็กๆ พ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นดูแล และกำหนดเวลาในการเล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตด้วย เพราะนอกจากรังสีดังกล่าวแล้ว การเพ่งมองโทรศัพท์มากๆ ยังส่งผลให้เกิดอาการปวดตา เนื่องจากกล้ามเนื้อตาถูกใช้งานมาก และยังเกิดสายตาสั้นเทียม ไปจนถึงอาจสายตาสั้นถาวรเร็วขึ้น รวมทั้งในผู้สูงอายุก็เช่นกัน เนื่องจากต้องเพ่งสายตามากๆ ก็จะทำให้ตาล้า ปวดตามากขึ้น” นพ.นริศ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเล่นสมาร์ทโฟนเวลากลางคืน หรือปิดไฟเล่นมีโอกาสตาบอดหรือไม่ นพ.นริศ กล่าวว่า ไม่มี เพียงแต่ที่มีการห้ามเล่นในที่มืด เนื่องจากแสงน้อย และแสงจากโทรศัพท์จะส่งผลให้มีการใช้กล้ามเนื้อตามากขึ้น ทำให้ปวดตา แต่ไม่ถึงขนาดตาบอดแต่อย่างใด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่